ปริมาณฝนรายเดือน
เปรียบเทียบข้อมูลสถิติฝนรายเดือนย้อนหลังในรอบ 40 ปี

ปี 2567 มีเดือนที่ฝนตกน้อยกว่าปกติถึง 6 เดือน ได้แก่ มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน มิถุนายน และตุลาคม โดยเฉพาะช่วงต้นปีตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายนที่มักมีฝนตกมากในพื้นที่ภาคใต้ แต่ปี 2567 นี้มีฝนตกน้อยกว่าปกติต่อเนื่อง 4 เดือน ส่งผลทำให้ภาคใต้มีฝนตกน้อยกว่าปกติทั้งทางฝั่งตะวันตกและตะวันออกของภาค สำหรับ 6 เดือนที่เหลือที่มีฝนตกมากกว่าปกติ

ประกอบด้วย พฤษภาคม กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน พฤศจิกายนและธันวาคม ซึ่งเดือนพฤษภาคม กรกฎาคม สิงหาคมและกันยายน เป็นเดือนที่ยู่ในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกมากกว่าช่วงเดือนอื่น ประกอบกับเดือนมิถุนายนและตุลาคมก็เป็นเดือนที่อยู่ในช่วงฤดูฝนเช่นกัน ที่ถึงแม้ฝนจะตกน้อยกว่าปกติ แต่เป็นปริมาณฝนที่น้อยกว่าปกติเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่งผล

ทำให้ปริมาณฝนโดยรวมทั้งปียังคงมากกว่าปกติ ทั้งนี้ในปี 2567 เดือนกันยายนมีฝนตกมากที่สุด 283 มิลลิเมตร รองลงมาคือเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมที่มีฝนตก 258 และ 249 มิลลิเมตร ตามลำดับ ส่วนเดือนที่มีฝนตกน้อยที่สุดคือเดือนกุมภาพันธ์ ที่มีฝนตกเพียง 6 มิลลิเมตร รองลงมาคือเดือนมกราคมและเมษายนที่มีฝนตกเพียง 12 และ 20 มิลลิเมตร ตามลำดับ

หมายเหตุ : ประมาณค่าปริมาณฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา




เดือนมกราคม

ประเทศไทยมีฝนตก 12 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 12 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่าปกติ 50% พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกน้อยกว่าปกติ โดยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ มีฝนตก

น้อยกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะตอนกลางของภาคใต้บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราชที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติที่สุดในประเทศ ทั้งนี้ฝนเฉลี่ยของเดือนมกราคมปี 2567 ลดลงจากปี

2566 ประมาณ 17 มิลลิเมตร และเป็นการกลับมาน้อยกว่าปกติอีกครั้ง หลังจากเคยฝนตกน้อยกว่าปกติต่อเนื่องในช่วงปี 2563-2565


หมายเหตุ : วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั่งประเทศย้อนหลัง 40 ปี โดยเทียบกับค่าปกติ (ค่าเฉลี่ยฝน 30 ปี ในช่วงปี 2534-2563)
ซึ่งมีการประมาณค่าปริมาณฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา




เดือนกุมภาพันธ์

ประเทศไทยมีฝนตก 6 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 12 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่าปกติ 67% เกือบทุกภาคของประเทศมีฝนตกน้อยกว่า

ปกติเกิดขึ้นเกือบทั่วทั้งภาค ยกเว้นภาคตะวันออกที่มีฝนตกมากกว่าปกติเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ทั้งนี้ฝนเฉลี่ยทั้งประเทศของ

เดือนกุมภาพันธ์ปี 2567 ลดลงจากปี 2566 ประมาณ 13 มิลลิเมตร และเป็นการลดลงต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2566


หมายเหตุ : วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั่งประเทศย้อนหลัง 40 ปี โดยเทียบกับค่าปกติ (ค่าเฉลี่ยฝน 30 ปี ในช่วงปี 2534-2563)
ซึ่งมีการประมาณค่าปริมาณฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา




เดือนมีนาคม

ประเทศไทยมีฝนตก 42 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 8 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่าปกติ 16% โดยตอนล่างของภาคเหนือ ตอนบนของภาคกลาง พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก มีฝนตก

มากกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ ส่วนภาคเหนือตอนบนและภาคกลางตอนล่างมีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะภาคใต้ที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นในทุกพื้นที่ และเกิดขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่

เดือนมกราคม ทั้งนี้ฝนเฉลี่ยทั้งประเทศของเดือนมีนาคม ปี 2567 แม้จะน้อยกว่าปกติแต่เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ประมาณ 31 มิลลิเมตร


หมายเหตุ : วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั่งประเทศย้อนหลัง 40 ปี โดยเทียบกับค่าปกติ (ค่าเฉลี่ยฝน 30 ปี ในช่วงปี 2534-2563)
ซึ่งมีการประมาณค่าปริมาณฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา




เดือนเมษายน

ประเทศไทยมีฝนตก 20 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 46 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่าปกติ 76% ซึ่งน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับข้อมูลในอดีตย้อนหลังในรอบ 40 ปี เกือบทุกพื้นที่ของ

ประเทศมีฝนตกน้อยกว่าปกติ โดยเฉพาะภาคใต้ที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนมกราคม มีเพียงบางพื้นที่ของจังหวัดเชียงรายและน่านเท่านั้นที่มีฝนตก

มากกว่าปกติ ทั้งนี้ฝนเฉลี่ยทั้งประเทศของเดือนเมษายนปี 2567 ลดลงจากปี 2566 ประมาณ 20 มิลลิเมตร และเป็นการลดลงต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2565


หมายเหตุ : วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั่งประเทศย้อนหลัง 40 ปี โดยเทียบกับค่าปกติ (ค่าเฉลี่ยฝน 30 ปี ในช่วงปี 2534-2563)
ซึ่งมีการประมาณค่าปริมาณฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา




เดือนพฤษภาคม

ประเทศไทยมีฝนตก 202 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 19 มิลลิเมตร หรือมากกว่าปกติ 10% ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีที่ฝนเริ่มตกมากกว่าปกติหลังจากที่ตกน้อยกว่าปกติต่อเนื่องมา 4 เดือน โดยในแต่ละภาคมีทั้ง

บริเวณที่ฝนตกมากกว่าปกติและฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้างและมีลักษณะเป็นหย่อมเล็ก ๆ เกิดขึ้นในบางพื้นที่ ทั้งนี้ฝนเฉลี่ยทั้งประเทศของเดือนพฤษภาคมปี 2567 เพิ่มขึ้นจากปี 2566

มากถึง 108 มิลลิเมตร แต่ยังคงมากกว่าปกติเพียงเล็กน้อย เนื่องจากปี 2566 ฝนตกน้อยกว่าปกติค่อนข้างมาก


หมายเหตุ : วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั่งประเทศย้อนหลัง 40 ปี โดยเทียบกับค่าปกติ (ค่าเฉลี่ยฝน 30 ปี ในช่วงปี 2534-2563)
ซึ่งมีการประมาณค่าปริมาณฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา




เดือนมิถุนายน

ประเทศไทยมีฝนตก 174 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 3 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่าปกติ 2% พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกน้อยกว่าปกติ โดยมีฝนตกมากกว่าปกติเล็กน้อยเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ ในทุกภาคและมีบริเวณ

ที่ฝนตกมากกว่าปกติค่อนข้างมากเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้างทางตอนบนของภาคเหนือและตอนบนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งตอนล่างของภาคบริเวณจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ อุบลราชธานีและ

ศรีสะเกษ ทั้งนี้ฝนเฉลี่ยทั้งประเทศของเดือนมิถุนายนปี 2567 เพิ่มขึ้นจากปี 2566 เพียง 12 มิลลิเมตร แต่เป็นการเพิ่มขึ้นที่ยังคงน้อยกว่าค่าฝนปกติ


หมายเหตุ : วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั่งประเทศย้อนหลัง 40 ปี โดยเทียบกับค่าปกติ (ค่าเฉลี่ยฝน 30 ปี ในช่วงปี 2534-2563)
ซึ่งมีการประมาณค่าปริมาณฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา




เดือนกรกฎาคม

ประเทศไทยมีฝนตก 258 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 54 มิลลิเมตร หรือมากกว่าปกติ 26% โดยมากเป็นอันดับที่ 4 เมื่อ

เทียบกับข้อมูลในอดีตย้อนหลัง 40 ปี พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกมากกว่าปกติ โดยมีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นหย่อมๆ

ในทุกภาค ทั้งนี้ฝนเฉลี่ยทั้งประเทศของเดือนกรกฎาคมปี 2567 เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ประมาณ 86 มิลลิเมตร


หมายเหตุ : วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั่งประเทศย้อนหลัง 40 ปี โดยเทียบกับค่าปกติ (ค่าเฉลี่ยฝน 30 ปี ในช่วงปี 2534-2563)
ซึ่งมีการประมาณค่าปริมาณฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา




เดือนสิงหาคม

ประเทศไทยมีฝนตก 249 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 10 มิลลิเมตร หรือมากกว่าปกติ 4% โดยตอนบนของภาคเหนือ ตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และตอนล่างของภาคใต้มีฝนตกมากกว่าปกติ แต่ตอนล่างของภาค

เหนือ ตอนกลางและตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านตะวันตกของประเทศบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดสระแก้วและปราจีนบุรี ภาคใต้ตอนบนตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีลงไปถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีฝน

ตกน้อยกว่าปกติ ทั้งนี้ฝนเฉลี่ยทั้งประเทศของเดือนสิงหาคมปี 2567 เพิ่มขึ้นจากปี 2566 มากถึง 108 มิลลิเมตร แต่ยังคงมากกว่าค่าฝนปกติเพียงเล็กน้อยเนื่องจากปี 2566 ฝนตกน้อยกว่าปกติค่อนข้างมาก


หมายเหตุ : วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั่งประเทศย้อนหลัง 40 ปี โดยเทียบกับค่าปกติ (ค่าเฉลี่ยฝน 30 ปี ในช่วงปี 2534-2563)
ซึ่งมีการประมาณค่าปริมาณฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา




เดือนกันยายน

ประเทศไทยมีฝนตก 283 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 34 มิลลิเมตร หรือมากกว่าปกติ 14% โดยในแต่ละภาคมีทั้งบริเวณที่ฝนตกมากกว่าปกติและฝนตกน้อยกว่าปกติ โดยมีฝนตกมากกว่าปกติค่นอข้างมากเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้างทงตอนบนของภาค

เหนือ ตอนบนและด้านตะวันออกของภาคตะวันออกแยงเหนือ และด้านตะวันตกของภาคใต้ ส่วนพื้นที่รอยต่อระหว่างภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน พื้นที่ตอนล่างของภาคกลาง ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด สระแก้ว และ

เกือบทุกพื้นที่ทางด้านตะวันออกของภาคใต้ มีฝนตกน้อยกว่าปกติ ทั้งนี้ฝนเฉลี่ยทั้งประเทศของเดือนกันยายนปี 2567 ลดลงจากปี 2566 ประมาณ 51 มิลลิเมตร แต่ยังคงมากกว่าค่าฝนปกติ


หมายเหตุ : วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั่งประเทศย้อนหลัง 40 ปี โดยเทียบกับค่าปกติ (ค่าเฉลี่ยฝน 30 ปี ในช่วงปี 2534-2563)
ซึ่งมีการประมาณค่าปริมาณฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา




เดือนตุลาคม

ประเทศไทยมีฝนตก 152 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 5 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่าปกติ 3% โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝน

ตกน้อยกว่าปกติ ส่วนภาคเหนือและภาคกลางมีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นเป็นหย่อมเล็ก ๆ ในบางพื้นที่ ทั้งนี้ฝนเฉลี่ยทั้งประเทศของเดือนตุลาคมปี 2567 ลดลงจากปี

2566 ประมาณ 47 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ฝนตกน้อยกว่าปกติหลังจากมีฝนตกมากกว่าปกติเกิดขึ้นต่อเนื่องในช่วงปี 2563-2566


หมายเหตุ : วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั่งประเทศย้อนหลัง 40 ปี โดยเทียบกับค่าปกติ (ค่าเฉลี่ยฝน 30 ปี ในช่วงปี 2534-2563)
ซึ่งมีการประมาณค่าปริมาณฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา




เดือนพฤศจิกายน

ประเทศไทยมีฝนตก 103 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 30 มิลลิเมตร หรือมากกว่าปกติ 41% ซึ่งถือเป็นปริมาณฝนค่อนข้างมากหากเทียบกับข้อมูลในอดีตย้อนหลังในรอบ 40 ปี โดยภาคใต้มีฝนตกมากกว่าปกติ

ค่อนข้างมากเกือบทุกพื้นที่ยกเว้นบริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่และสุราษฎร์ธานี ที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติค่อนข้างมาก ส่วนภาคเหนือมีฝนตกมากกว่าปกติเล็กน้อยเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้างทางด้านตะวันตกของ

ภาค ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก พื้นที่ส่วนใหญ่มีฝนตกน้อยกว่าปกติ ทั้งนี้ฝนเฉลี่ยทั้งประเทศของเดือนพฤศจิกายนปี 2567 เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ประมาณ 21 มิลลิเมตร


หมายเหตุ : วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั่งประเทศย้อนหลัง 40 ปี โดยเทียบกับค่าปกติ (ค่าเฉลี่ยฝน 30 ปี ในช่วงปี 2534-2563)
ซึ่งมีการประมาณค่าปริมาณฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา




เดือนธันวาคม

ประเทศไทยมีฝนตก 50 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 4 มิลลิเมตร หรือมากกว่าปกติ 9% โดยมีฝนตกมากกว่าปกติค่อนข้างมากทางด้านตะวันออกของภาคใต้บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช ส่วน

พื้นที่ตั้งแต่จังหวัดพัทลุงลงไปถึงชายแดนใต้รวมทั้งทางด้านตะวันตกของภาคมีฝนตกน้อยกว่าปกติ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาสที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติค่อนข้างมาก ส่วนพื้นที่ตอนบนของประเทศทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออก

เฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก พื้นที่ส่วนใหญ่มีฝนตกน้อยกว่าปกติ ทั้งนี้ฝนเฉลี่ยทั้งประเทศของเดือนธันวาคมปี 2567 เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ประมาณ 16 มิลลิเมตร


หมายเหตุ : วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั่งประเทศย้อนหลัง 40 ปี โดยเทียบกับค่าปกติ (ค่าเฉลี่ยฝน 30 ปี ในช่วงปี 2534-2563)
ซึ่งมีการประมาณค่าปริมาณฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา