ปี 2567 เขื่อนหลักทั้ง 4 แห่งในลุ่มน้ำเจ้าพระยามีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนรวมกันทั้งปี 18,465 ล้านลูกบาศก์เมตร มากที่สุดเป็นอันดับที่ 3 รองจากปี 2565 และ 2560 แต่มีการระบายน้ำออกไปมากถึง 14,414
ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 3 รองจากปี 2561 และ 2566 โดยเป็นปริมาณน้ำระบายที่น้อยกว่าปริมาณน้ำไหลเข้า ทำให้ในวันสิ้นปีมีปริมาณน้ำกักเก็บ
คงเหลือเพิ่มขึ้นเป็น 20,278 ล้านลูกบากศ์เมตร (81.53% ของความจุเขื่อน) อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก ทั้งนี้เป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 13,582 ล้านลูกบาศก์เมตร
ปี 2567 เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมทั้งปี 7,446 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 818 ล้านลูกบาศก์เมตร และได้ระบายน้ำออกไปมากถึง 6,580 ล้าน
ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นการระบายน้ำน้อยกว่าปริมาณน้ำไหลเข้า ทำให้ช่วงปลายปีเขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นเป็น 10,310 ล้านลูกบาศก์เมตร (77% ของ
ความจุเขื่อน) อยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 6,510 ล้านลูกบาศก์เมตร
ปี 2567 เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมทั้งปี 7,759 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 3,286 ล้านลูกบาศก์เมตร และได้ระบายน้ำออกไป 4,750 ล้าน
ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นการระบายน้ำน้อยกว่าปริมาณน้ำไหลเข้า ทำให้ช่วงปลายปีเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นเป็น 8,416 ล้านลูกบาศก์เมตร (88% ของความจุเขื่อน)
อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 5,566 ล้านลูกบาศก์เมตร
ปี 2567 เขื่อนแควน้อยมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมทั้งปี 1,342 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 138 ล้านลูกบาศก์เมตร และได้ระบายน้ำออกไป 1,360 ล้าน
ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นการระบายน้ำมากกว่าปริมาณน้ำไหลเข้า ทำให้ช่วงปลายปีเขื่อนแควน้อยมีปริมาณน้ำกักเก็บลดลงเหลือ 784 ล้านลูกบาศก์เมตร (84% ของความจุ
เขื่อน) อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 741 ล้านลูกบาศก์เมตร
ปี 2567 เขื่อนป่าสักมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมทั้งปี 1,918 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 392 ล้านลูกบาศก์เมตร
และได้ระบายน้ำออกไป 1,724 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยในช่วงปลายปีเขื่อนป่าสักมีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 768 ล้าน
ลูกบาศก์เมตร (80% ของความจุเขื่อน) อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 765 ล้านลูกบาศก์เมตร