ปี 2567 มีน้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่งทั่วประเทศ 47,223 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่มีการระบายออกไป 40,266 ล้านลูกบาศก์เมตร หากเปรียบปริมาณน้ำไหลเข้ามากกว่าน้ำระบายคือการได้กำไรและ
ปริมาณน้ำระบายมากกว่าน้ำไหลเข้าคือการขาดทุนเท่ากับว่า ปี 2567 ได้กำไร 14.73% หรือกักเก็บน้ำไว้ได้เพิ่มจากปี 2566 ประมาณ 6,957 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยได้
กำไรเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ที่ขาดทุนเล็กน้อยเพียง 0.50% ในขณะที่ภาคเหนือได้กำไรมากที่สุด 20.72% รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17.69%
จากสถิติย้อนหลังในรอบ 10 ปี (2558-2567) แสดงให้เห็นว่าปีที่มีน้ำไหลลงเขื่อนรวมทั้งปีมากกว่าน้ำระบายรวมทั้งปี มีทั้งหมด 8 ปี ได้แก่ ปี 2559 2560 2561 2563 2564 2565 2566 และปี 2567 ส่วนปีที่มีน้ำไหลลงเขื่อนรวมทั้งปีน้อยกว่าน้ำระบายรวมทั้งปี มีทั้งหมด 2 ปี ได้แก่ ปี 2558 และ 2562 ซึ่งเป็นช่วงปีที่
ประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้งค่อนข้างรุนแรง นอกจากนี้ หากแจกแจงเป็นรายภาค พบว่าเขื่อนในภาคเหนือมีน้ำไหลเข้ามากกว่าน้ำระบายอยู่ 6 ปี คือ ปี 2559 2560 2563 2564 2565 และ 2567 ส่วนปีที่เหลือมีน้ำไหลลงเขื่อนรวมทั้งปีน้อยกว่าน้ำระบายรวมทั้งปี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีน้ำไหลลงเขื่อนน้อยกว่าน้ำระบายในปี
2561 เพียงปีเดียว ภาคกลางมีเพียงปี 2562 2563 และ 2565 ที่มีน้ำไหลลงเขื่อนน้อยกว่าน้ำระบาย สำหรับภาคตะวันออกมีปี 2562 และ 2566 ที่น้ำไหลลงเขื่อนน้อยกว่าน้ำระบาย ส่วนภาคใต้มีน้ำไหลลงเขื่อนน้อยกว่าน้ำระบาย 4 ปี ได้แก่ ปี 2558 2562 2565 และ 2567
ทั้งนี้ในปี 2567 มีเขื่อนที่ระบายน้ำทั้งปีมากกว่าน้ำไหลเข้าทั้งปี อยู่ 10 เขื่อนจากทั้งหมด 35 เขื่อน ประกอบด้วย เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เขื่อนแม่มอก เขื่อนทับเสลา เขื่อนน้ำพุง เขื่อนบางพระ เขื่อนบางลาง
เขื่อนรัชชประภา เขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำนางรอง เขื่อนหนองปลาไหล โดยเฉพาะเขื่อนน้ำพุงที่ปีนี้ขาดทุนมากที่สุดเมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี ส่วนเขื่อนที่เหลืออีก 25 เขื่อนมีน้ำไหลเข้าสะสมทั้งปี
มากกว่าน้ำที่ระบายทั้งปี หรือเป็นเขื่อนที่กักเก็บน้ำไว้ได้เพิ่มขึ้นจากปี 2566 นั่นเอง โดยเฉพาะเขื่อนสิริกิติ์ ที่ได้กำไรถึง 3,008.94 ซึ่งมากที่สุดหากเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี