จากการวิเคราะห์พื้นที่น้ำท่วมโดยใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม พบว่าในปี 2567 ประเทศไทยมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 6.22 ล้านไร่ กระจายตัวอยู่ในทุกภาคของประเทศ โดยมี 57 จังหวัด 454 อำเภอ 2,601 ตำบล ที่เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ รายละเอียดดังนี้
1) ภาคเหนือ มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 2.38 ล้านไร่ รวม 14 จังหวัด 111 อำเภอ 642 ตำบล ได้แก่ พิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย เชียงราย พะเยา เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ ตาก ลำพูน น่าน อุตรดิตถ์ ลำปาง กำแพงเพชร แพร่ โดยจังหวัดพิษณุโลกมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 473,698 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดพิจิตรและสุโขทัย ที่มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 462,716 และ 459,935 ไร่ ตามลำดับ
2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 1.38 ล้านไร่ รวม 18 จังหวัด 168 อำเภอ 812 ตำบล ได้แก่ นครพนม อุดรธานี หนองคาย สกลนคร บึงกาฬ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม
นครราชสีมา ชัยภูมิ ยโสธร กาฬสินธุ์ หนองบัวลำภู อุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อำนาจเจริญ โดยจังหวัดนครพนมมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุดประมาณ 221,706 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดอุดรธานีและหนองคาย ที่มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 213,478 และ 206,727 ไร่ ตามลำดับ
3) ภาคกลาง มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 1.87 ล้านไร่ รวม 10 จังหวัด 62 อำเภอ 485 ตำบล ได้แก่ สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ อ่างทอง ลพบุรี นครปฐม ชัยนาท สระบุรี สิงห์บุรี อุทัยธานี โดยจังหวัดสุพรรณบุรีมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 516,421 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและนครสวรรค์ ที่มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 484,714 และ 394,495 ไร่ ตามลำดับ
4) ภาคตะวันออก มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 0.14 ล้านไร่ รวม 5 จังหวัด 16 อำเภอ 100 ตำบล ได้แก่ ปราจีนบุรี นครนายก ตราด จันทบุรี สระแก้ว โดย
จังหวัดปราจีนบุรีมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 97,454 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดนครนายกและตราด ซึ่งมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 17,402 และ 13,363 ไร่
5) ภาคใต้ มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 0.45 ล้านไร่ รวม 10 จังหวัด 95 อำเภอ 551 ตำบล ได้แก่ ปัตตานี นครศรีธรรมราช สงขลา นราธิวาส พัทลุง สุราษฎร์ธานี ยะลา ชุมพร สตูล ตรัง โดยจังหวัดปัตตานีมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 108,584 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดนครศรีธรรมราชและสงขลา ซึ่งมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 108,080 และ 73,166 ไร่ ตามลำดับ
หากเทียบพื้นที่ถูกน้ำท่วมของปี 2567 กับปีอื่น ๆ ในอดีตย้อนหลังในรอบ 20 ปี (ตั้งแต่ปี 2548 – 2566) จะเห็นได้ว่า ปี 2567 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมค่อนข้างน้อย โดยน้อยเป็นอันดับที่ 10 รองจากปี 2558 ปี 2563 ปี 2561 ปี 2557 ปี 2559 ปี 2566 ปี 2552 ปี 2562 และปี 2555
เมื่อแจกแจงข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมเป็นรายเดือนจะเห็นได้ว่าในปี 2567 ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่น้ำท่วมจำนวน 7 เดือน ได้แก่ เดือน
มกราคมและตั้งแต่เดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนธันวาคม โดยเดือนตุลาคมมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุดประมาณ 4.13 ล้านไร่ รองลง
มาคือเดือนกันยายน 2.71 ล้านไร่ และเดือนพฤศจิกายน 2.16 ล้านไร่ รายละเอียดดังกราฟด้านล่าง
เดือนมกราคม ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วม 2,126 ไร่ ในบริเวณจังหวัดสงขลาและปัตตานี โดยมีน้ำท่วมเกิดขึ้นใน 4 อำเภอ 17 ตำบล หากเทียบพื้นที่ถูกน้ำท่วม
ของเดือนมกราคม 2567 กับข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2550-2566 จะเห็นได้ว่า ปี 2567 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับปีอื่น ๆ และตลอด 18 ปี ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่
น้ำท่วม 12 ปี และตรวจไม่พบพื้นที่น้ำท่วม 6 ปี ได้แก่ ปี 2551 ปี 2552 ปี 2553 ปี 2561 ปี2563 และปี 2565
เดือนกรกฎาคม ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วม 492,006 ไร่ ใน 21 จังหวัด ประกอบด้วย ภาคเหนือ 9 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก ตาก น่าน กำแพงเพชร ลำพูน เชียงใหม่ ลำปาง พิจิตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่ หนองคาย มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ อุดรธานี ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ยโสธร ภาค
ตะวันออก 4 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี ตราด จันทบุรี สระแก้ว รวม 82 อำเภอ 406 ตำบล โดยจังหวัดหนองคายมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 78,737 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดมหาสารคามแลละขอนแก่น ที่มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 74,498 และ 52,564 ไร่ หากเทียบพื้นที่ถูกน้ำท่วมของเดือนกรกฎาคม 2567 กับข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2550-
2566 จะเห็นได้ว่า ปี 2567 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุดเป็นอันดับ 5 เมื่อเทียบกับปีอื่น ๆ และตลอด 20 ปี ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่น้ำท่วม 13 ปี และตรวจไม่พบพื้นที่น้ำท่วม 7 ปี ได้แก่ ปี 2550 ปี 2553 ปี 2555 ปี 2558 ปี 2559 ปี 2562 และปี 2563
เดือนสิงหาคม ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วม 15,397 ไร่ ในพื้นที่ 29 จังหวัด ประกอบด้วย ภาคเหนือ 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน พะเยา พิจิตร สุโขทัย เพชรบูรณ์ แพร่ พิษณุโลก เชียงใหม่ ลำพูน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี ร้อยเอ็ด หนองคาย สกลนคร นครราชสีมา นครพนม ชัยภูมิ บึงกาฬ
กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ยโสธร ภาคกลาง 3 จังหวัด ประกอบด้วย พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครสวรรค์ ภาคตะวันออก 5 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด นครนายก สระแก้ว รวมทั้งสิ้น 138 อำเภอ 638 ตำบล โดยจังหวัดเชียงรายมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 2,680 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดปราจีนบุรีและน่าน ที่มีพื้นที่ถูก
น้ำท่วม 1,609 ไร่ และ 1,591 ไร่ หากเทียบพื้นที่ถูกน้ำท่วมของเดือนสิงหาคม 2567 กับข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2548-2566 จะเห็นได้ว่า ปี 2567 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับปีอื่น ๆ และปี 2550 และปี 2560 ดาวเทียมตรวจไม่พบพื้นที่น้ำท่วม
เดือนกันยายน ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วม 2,711,361 ไร่ ในพื้นที่ 36 จังหวัด ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่พื้นที่ภาคเหนือ 10 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย เชียงราย พะเยา เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ ลำพูน น่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ นครพนม หนองคาย อุดรธานี สกลนคร บึงกาฬ
ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ หนองบัวลำภู ยโสธร สุรินทร์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ภาคกลาง 8 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ อ่างทอง ชัยนาท สุพรรณบุรี สิงห์บุรี สระบุรี ลพบุรี ภาคใต้ 1 จังหวัด สตูล รวมทั้งสิ้น 215 อำเภอ 1,123 ตำบล โดยจังหวัดพิจิตร มี
พื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 274,308 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดพิษณุโลกและสุโขทัย ซึ่งมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 265,439 ไร่ และ 263,119 ไร่ หากเทียบพื้นที่ถูกน้ำท่วมของเดือนกันยายน 2567 กับข้อมูลในอดีต 20 ปี ตั้งแต่ปี 2548-2566 จะเห็นได้ว่า ปี 2567 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมน้อยเป็นลำดับที่ 9 และปี 2560 ดาวเทียมตรวจไม่พบพื้นทีน้ำท่วม
เดือนตุลาคม ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วม 4,127,438 ไร่ ในพื้นที่ 39 จังหวัด ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่พื้นที่ภาคเหนือ 11 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร สุโขทัย พิษณุโลก เชียงราย เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ พะเยา ลำพูน ตาก อุตรดิตถ์ ลำปาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ นครพนม หนองคาย สกลนคร ร้อยเอ็ด อุดรธานี มหาสารคาม บึงกาฬ ขอนแก่น ชัยภูมิ ยโสธร นครราชสีมา กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี
บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญ ภาคกลาง 10 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ อ่างทอง ลพบุรี นครปฐม สระบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อุทัยธานี ภาคตะวันออก 1 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี รวมทั้งสิ้น 263 อำเภอ 1,423 ตำบล โดยจังหวัดสุพรรณบุรี มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 495,345 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและพิจิตร ซึ่งมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 456,847 ไร่ และ
415,599 ไร่ หากเทียบพื้นที่ถูกน้ำท่วมของเดือนตุลาคม 2567 กับข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2548-2566 จะเห็นได้ว่า ปี 2567 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากกว่าปี 2566 อยู่เล็กน้อย แต่มากกว่าปี 2557-2558 รวมปีช่วงปี 2562-2563 ที่เกิดฝนแล้งรุนแรงอยู่ค่อนข้างมาก ทั้งนี้พื้นที่น้ำท่วมก็น้อยกว่าปีที่เกิดอุทกภัยรุนแรง 2549 หรือ 2554 อยู่ค่อนข้างมาก ซึ่งในเดือนนี้ดาวเทียมตรวจไม่พบพื้นที่น้ำท่วมในปี 2558 เพียงปีเดียว
เดือนพฤศจิกายน ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วม 2,155,430 ไร่ ในพื้นที่ 41 จังหวัด ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่พื้นที่ ภาคเหนือ 6 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร สุโขทัย พิษณุโลก เชียงราย พะเยา อุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด หนองคาย นครพนม อุดรธานี สกลนคร ศรีสะเกษ สุรินทร์ ขอนแก่น บึงกาฬ กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ยโสธร บุรีรัมย์ นครราชสีมา อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ภาคกลาง 10 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี
อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครสวรรค์ สระบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท สมุทรสงครามนครปฐม ภาคตะวันออก 1 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี ภาคใต้ 8 จังหวัด ได้แก่ ปัตตานี สงขลา นราธิวาส นครศรีธรรมราช พัทลุง ยะลา ตรัง สตูล รวมทั้งสิ้น 258 อำเภอ 1,308 ตำบล โดยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 374,622 ไร่ รองลงมาคือ จังหวัดสุพรรณบุรีและนครสวรรค์ ซึ่งมีพื้นที่ ถูกน้ำท่วม 310,864 ไร่ และ
251,650 ไร่ หากเทียบพื้นที่ถูกน้ำท่วมของเดือนพฤศจิกายน 2567 กับข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2548-2566 จะเห็นได้ว่า ปี 2567 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากกว่าปี 2566 อยู่เล็กน้อย แต่มากกว่าช่วงปี 2557-2558 และ 2562-2563 ที่ประเทศไทยเกิดฝนแล้งรุนแรงอยู่ค่อนข้างมาก และน้อยกว่าปี 2549 และ 2554 ที่ประเทศไทยประสบภัยน้ำท่วมรุนแรงอยู่ค่อนข้างมาก ทั้งนี้ปี 2558 และ 2562 ดาวเทียมตรวจไม่พบพื้นที่น้ำท่วมในบริเวณประเทศไทย
เดือนธันวาคม ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วม 839,728 ไร่ ในพื้นที่ 22 จังหวัด ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่พื้นที่ภาคเหนือ 3 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ภาคกลาง 9 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ ลพบุรี อ่างทอง สระบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท นครปฐม ภาคตะวันออก 1 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี
ภาคใต้ 9 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี พัทลุง สุราษฎร์ธานี นราธิวาส ชุมพร ยะลา ตรัง รวมทั้งสิ้น 137 อำเภอ 773 ตำบล โดยจังหวัดสุพรรณบุรี มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 176,301 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและนครศรีธรรมราช ซึ่งมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 135,000 ไร่ และ 103,431 ไร่ หากเทียบ
พื้นที่ถูกน้ำท่วมของเดือนธันวาคม 2567 กับข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2548-2566 จะเห็นได้ว่า ปี 2567 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากกว่าปี 2566 ค่อนข้างมาก แต่น้อยกว่าปี 2554 ที่เกิดอุทกภัยรุนแรงอยู่ค่อนข้างมาก และเดือนนี้ดาวเทียมตรวจไม่พบพื้นที่น้ำท่วมในปี 2549 และปี 2558