เขื่อนขนาดใหญ่ 35 แห่งทั่วประเทศ
รายงานสถานการณ์ปริมาณน้ำเก็บกัก ปริมาณน้ำไหลเข้าและปริมาณน้ำระบายของแต่ละเขื่อนจากกรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ปี 2567 เขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมรวมกันทั้งปี 47,223 ล้านลูกบาศก์เมตร มากเป็นอันดับที่ 4 รองจากปี 2565 2560 และ 2561 เมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10

ปี แต่มีการระบายน้ำออกไปมากถึง 40,266 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 3 รองจากปี 2561 และ 2565 ทำให้ ณ วันสิ้นปี มีน้ำกักเก็บคงเหลือ 56,459 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 80% ของ

ความจุเขื่อน อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก โดยมากเป็นอันดับที่ 3 รองจากปี 2560 และ 2565 ทั้งนี้เป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 32,921 ล้านลูกบาศก์เมตร

ปริมาณน้ำกักเก็บและปริมาณน้ำใช้การได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม                                               ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมทั้งปีและปริมาณน้ำระบายสะสมทั้งปี
   หมายเหตุ :
   1. ข้อมูลจากกรมชลประทาน
   2. เกณฑ์ปริมาณน้ำกักเก็บ >100% = เกินความจุเก็บกัก , >80-100% = น้ำมาก , > 50-80% = น้ำปานกลาง , >30-50% = น้ำน้อย , <= 30% = น้ำน้อยวิกฤต


ปี 2567 มีฝนตกเพิ่มขึ้นจากปี 2566 ค่อนข้างมาก ทำให้มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนในภาพรวมทั้งประเทศเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากตามไปด้วย แต่หากพิจารณาในรายภาคจะเห็นได้ว่า มีเพียงภาคเหนือ ภาคกลางและภาค

ตะวันออกเท่านั้น ที่มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มมากขึ้น ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนลดลงจากปีที่แล้วเล็กน้อย ทั้งนี้ในช่วงต้นปี 2567 แต่ละภาคมีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ในเกณฑ์

ปานกลางถึงน้ำมาก ประกอบกับในระหว่างปีมีการระบายน้ำออกไปไม่มากนัก ทำให้ในช่วงปลายปีแต่ละภาคยังคงมีน้ำกักเก็บคงเหลือในเขื่อนอยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลางถึงน้ำมากในทุกภาค รายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้


ภาคเหนือ มีปริมาณน้ำไหลลงสะสมตั้งแต่ต้นปี 18,725 ล้านลูกบาศก์เมตร มากที่สุดเมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี โดยระบายออกไป 14,844 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งลดลงจากปีที่แล้วเล็กน้อย และเป็นการระบายน้ำน้อยกว่าปริมาณน้ำไหลเข้า ทำให้ ณ วันสิ้นปี มีปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเป็น 20,374 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 82% ของความจุเขื่อน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก และเป็นปริมาณน้ำที่มากที่สุดเมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 10 ปี ทั้งนี้ เป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 13,629 ล้านลูกบาศก์เมตร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปริมาณน้ำไหลลงสะสมตั้งแต่ต้นปี 8,664 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากปีที่แล้วเล็กน้อย มีการระบายออกไป 7,132 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเล็กน้อย และเป็นการระบายน้ำน้อยกว่าปริมาณน้ำไหลเข้า โดย ณ วันสิ้นปี มีปริมาณน้ำกักเก็บลดลงจากปีที่

แล้วโดยเหลือเพียง 6,027 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 72% ของความจุเขื่อน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 4,375 ล้านลูกบาศก์เมตร

ภาคกลาง มีปริมาณน้ำไหลลงสะสมตั้งแต่ต้นปี 12,902 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเล็กน้อย มีการระบายออกไป 11,365 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเล็กน้อย และเป็นการระบายน้ำน้อยกว่าปริมาณน้ำไหลเข้า ซึ่ง ณ วันสิ้นปี มีปริมาณน้ำกักเก็บลดลงจากปีที่แล้วเล็กน้อยโดยมีน้ำกักเก็บคงเหลือ 23,038 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 82% ของความจุเขื่อน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 9,701 ล้านลูกบาศก์เมตร

ภาคตะวันออก มีปริมาณน้ำไหลลงสะสมตั้งแต่ต้นปี 1,428 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเล็กน้อย มีการระบายออกไป

1,394 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเล็กน้อย และเป็นการระบายน้ำน้อยกว่าปริมาณน้ำไหลเข้า ซึ่ง ณ วันสิ้นปี มีปริมาณน้ำกักเก็บลดลงจากปีที่แล้วเล็กน้อยโดยมีน้ำกักเก็บคงเหลือ 1,093 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 72% ของความจุเขื่อน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 999 ล้านลูกบาศก์เมตร

ภาคใต้ มีปริมาณน้ำไหลลงสะสมตั้งแต่ต้นปี 5,504 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากปีที่แล้วเล็กน้อย มีการระบายออกไป 5,531 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเล็กน้อย และเป็นการระบายน้ำมากกว่าปริมาณน้ำไหลเข้า ซึ่ง ณ วันสิ้นปี มีปริมาณน้ำกักเก็บลดลงจากปีที่แล้วเล็กน้อยโดยมีน้ำกักเก็บคงเหลือ 5,927 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 72% ของความจุเขื่อน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 4,216 ล้านลูกบาศก์เมตร

ปริมาณน้ำไหลลงสะสมทั้งปี

ปริมาณน้ำระบายสะสมทั้งปี

ปริมาณน้ำกักเก็บ ณ วันสิ้นปี


ปริมาณน้ำใช้การได้ ณ วันสิ้นปี



หมายเหตุ :
  • ใช้ข้อมูลเขื่อนขนาดใหญ่รายงานโดยกรมชลประทาน
  • ภาคเหนือมีเขื่อนขนาดใหญ่ 8 แห่ง ได้แก่ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ เขื่อนแม่งัด จ.เชียงใหม่ เขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง เขื่อนแม่กวง จ.เชียงใหม่ เขื่อนกิ่วคอหมา จ.ลำปาง เขื่อนแควน้อย จ.พิษณุโลก และเขื่อนแม่มอก จ.ลำปาง
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเขื่อนขนาดใหญ่ 12 แห่ง ได้แก่ เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา เขื่อนลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ เขื่อนมูลบน จ.นครราชสีมา เขื่อนน้ำพุง จ.สกลนคร และเขื่อนลำแซะ จ.นครราชสีมา
  • ภาคกลางมีเขื่อนขนาดใหญ่ 5 แห่ง ได้แก่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี เขื่อนกระเสียว จ.สุพรรณบุรี และเขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี
  • ภาคตะวันออกมีเขื่อนขนาดใหญ่ 6 แห่ง ได้แก่ เขื่อนบางพระ จ.ชลบุรี เขื่อนหนองปลาไหล จ.ระยอง เขื่อนคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก เขื่อนประแสร์ จ.ระยอง และเขื่อนนฤบดินทรจินดา จ.ปราจีนบุรี
  • ภาคใต้มีเขื่อนขนาดใญ่ 4 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เขื่อนปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี และเขื่อนบางลาง จ.ยะลา
  • ความจุเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 อ่าง รวม 70,926 ล้านลูกบาศก์เมตร (อ้างอิงจากรายงานข้อมูลเขื่อนรายวันของกรมชลประทานเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2567)


  • หากแบ่งเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่ง ที่มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 ออกเป็นกลุ่มตามเกณฑ์ปริมาณน้ำกักเก็บของกรมชลประทาน สามารถแบ่งได้ดังนี้

    เขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือเกินความจุเขื่อน (มากกว่า 100% ของความจุเขื่อน) มี 2 แห่ง ได้แก่ เขื่อนแม่งัด (107.34%) เขื่อนกิ่วคอหมา (106.97%)

    เขื่อนที่มีปริมาณน้ำเก็บกักคงเหลืออยู่ในเกณฑ์น้ำมาก (มากกว่า 80-100% ของความจุเขื่อน) มีทั้งหมด 12 แห่ง ได้แก่ เขื่อนกิ่วลม (95.06%) เขื่อนหนองปลาไหล [94.66%] เขื่อนสิริกิติ์ [88.49%] เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน [83.51%] เขื่อนลำปาว

    [83.23%] เขื่อนบางพระ [82.97%] เขื่อนศรีนครินทร์ [82.72%] เขื่อนวชิราลงกรณ [82.65%] เขื่อนประแสร์ [82.12%] เขื่อนแม่กวงอุดมธารา [80.99%] เขื่อนขุนด่านปราการชล [80.56%] เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ [80.05%]

    เขื่อนที่มีปริมาณน้ำเก็บกักคงเหลืออยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง (มากกว่า 50-80% ของความจุเขื่อน) มีทั้งหมด 15 แห่ง ได้แก่ เขื่อนบางลาง [77.68%] เขื่อนภูมิพล [76.59%] เขื่อนแม่มอก [76.39%] เขื่อนนฤบดินทรจินดา [76.35%] เขื่อนน้ำอูน [75.92%] เขื่อนอุบลรัตน์ [74.73%] เขื่อนรัชชประภา [73.15%] เขื่อนห้วยหลวง [ 72.67%] เขื่อนสิรินธร [72.51%] เขื่อนกระเสียว [ 68.62%] เขื่อนแก่งกระจาน

    [67.53%] เขื่อนจุฬาภรณ์ [66.33%] เขื่อนลำพระเพลิง [58.00%] เขื่อนมูลบน [57.07%] เขื่อนลำแซะ [54.06%]

    เขื่อนที่มีปริมาณน้ำเก็บกักคงเหลืออยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย (ตั้งแต่ 30-50% ของความจุเขื่อน) มีทั้งหมด 5 แห่ง ได้แก่ เขื่อนปราณบุรี [49.26%] เขื่อนน้ำพุง [47.42%] เขื่อนคลองสียัด [45.96%] เขื่อนทับเสลา [40.03%] เขื่อนลำนางรอง [36.18%]

    เขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลืออยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤต (น้อยกว่า 30% ของความจุเขื่อน) มี 1 เขื่อน คือ เขื่อนลำตะคอง [29.84%]

    ปริมาณน้ำกักเก็บ วันที่ 31 ธันวาคม 2567



    ถึงแม้ปี 2567 จะมีฝนตกมากกว่าปกติเพียงเล็กน้อย แต่กลับมีฝนตกหนักมากเกิดขึ้นในบางพื้นที่ ส่งผลทำให้เขื่อนในพื้นที่ดังกล่าวมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนค่อนข้างมาก ซึ่งบางเขื่อนประสบกับสถานการณ์น้ำที่ต่างไปจากปกติที่เคยเป็น โดยมีตัวเลขปริมาณน้ำที่ทำลายสถิติในหลายเขื่อน โดยเหตุการณ์แรกคือเหตุการณ์ฝนตกหนัก

    บริเวณจังหวัดกาญจนบุรีในช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 จากอิทธิพลของร่องมรสุม ส่งผลทำให้เขื่อนวชิราลงกรณมีน้ำไหลลงเขื่อนรายวันสูงสุดถึง 357.71 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 ซึ่งมากที่สุดในรอบ 33 ปี ต่อมาคือเหตุการณ์ฝนตกหนักบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ที่ทำให้เกิดอุทกภัยหลายครั้ง ส่งผลทำให้มีน้ำไหลลง

    เขื่อนแม่งัดเป็นจำนวนมากจนทำให้เกิดน้ำล้นเขื่อน โดยมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนรายวันสูงสุด 22.3 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 25 กันยายน 2567 ซึ่งมากที่สุดในรอบ 19 ปี และเกิดปริมาณน้ำกักเก็บเกินระดับปกติตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2567 ไปจนถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568