ระดับน้ำในแม่น้ำสายหลัก
ที่มา : คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ

อิทธิพลจากร่องมรสุมที่พาดผ่านตอนบนและตอนกลางของประเทศตลอดช่วงเดือนกันยายน รวมถึงอิทธิพลจากพายุไต้ฝุ่น “โนรู” ที่ส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของประเทศ ทำให้แม่น้ำลำคลองต่าง ๆ เกิดน้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมในหลายจุดตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2565 ซึ่งสถานีโทรมาตรตรวจวัดระดับน้ำของคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ ได้ตรวจพบระดับน้ำล้นตลิ่งดังนี้

แม่น้ำมูล - เกิดน้ำท่วมบริเวณ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา อ.ราษีไศล อ.เมืองศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ อ.วารินชำราบ อ.พิบูลมังสาหาร อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี อ.ท่าตูม อ.สตึก อ.ประโคนชัย อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์
แม่น้ำชี - เกิดน้ำท่วมบริเวณ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ อ.ชนบท อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น อ.เมืองมหาสารคาม จ.มหาสารคาม

แม่น้ำป่าสัก - เกิดน้ำท่วมบริเวณ อ.หล่มสัก อ.หนองไผ่ อ.วิเชียรบุรี อ.เมืองเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์ อ.นครหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา อ.เมือง จ.สระบุรี
แม่น้ำเจ้าพระยา - เกิดน้ำท่วมบริเวณ อ.สรรพยา อ.เมืองชัยนาท จ.ชัยนาท อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี อ.เมืองอ่างทอง จ.อ่างทอง อ.บางบาล อ.บางปะอิน อ.บางไทร อ.เสนา อ.บางปะหัน อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา


แม่น้ำมูล



แม่น้ำชี



แม่น้ำป่าสัก



แม่น้ำเจ้าพระยา



เปรียบเทียบปริมาณน้ำกับข้อมูลในอดีต
ที่มา : กรมชลประทาน

จากสถานการณ์ฝนตกหนักที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนกันยายนจนถึงช่วงกลางเดือนตุลาคม 2565 ส่งผลทำให้

แม่น้ำปิง
– บริเวณบ้านท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ปริมาณน้ำไหลผ่านเพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็ว แต่ไม่ล้นตลิ่ง โดยปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุด 1,740 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565 ซึ่งน้อยกว่าปี 2554 ค่อนข้างมาก

แม่น้ำน่าน
- บริเวณสะพานเกยไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ปริมาณน้ำไหลผ่านเพิ่มสูงขึ้นมากอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม แต่ไม่ล้นตลิ่ง โดยปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุด 1,369 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565 ซึ่งเป็นปริมาณน้ำไหลผ่านที่น้อยกว่าปี 2554 และ 2549 ที่เกิดอุทกภัยรุนแรง อยู่ค่อนข้างมาก

แม่น้ำเจ้าพระยา
- บริเวณค่ายจิรประวัติ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ปริมาณน้ำไหลผ่านเพิ่มสูงขึ้นมากอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2565 แต่ไม่ล้นตลิ่ง โดยมีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุด 3,099 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2565 ซึ่งเป็นปริมาณน้ำไหลผ่านที่น้อยกว่าปี 2554 ที่เกิดอุทกภัยรุนแรง อยู่ค่อนข้างมาก

-บริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ปริมาณน้ำไหลผ่านเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่เกิดสถานการณ์ และเกิดสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งไปค่อนข้างมาก แต่ยังคงน้อยกว่าปี 2554

-บริเวณเขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ปริมาณน้ำไหลผ่านเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่เกิดน้ำล้นตลิ่ง โดยเริ่มล้นตลิ่งตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2565 และมีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุด 3,169 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2565แต่ทั้งนี้ยังคงน้อยกว่าปี 2538 และ 2554 ที่เกิดอุทกภัยรุนแรงอยู่ค่อนข้างมาก ทั้งนี้ ปริมาณน้ำเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ต่ำกว่าระดับตลิ่ง เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565

-บริเวณคลองโผงเผง อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา เกิดน้ำล้นตลิ่งมาตั้งแต่ช่วงกลางเดินสิงหาคม 2565 และในช่วงปลายเดือนกันยายน ปริมาณน้ำไหลผ่านได้เพิ่มมากขึ้นอีกอย่างรวดเร็ว โดยมีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุด 960 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในวันที่ 15 ตุลาคม 2565 น้อยกว่าปี 2554 อยู่เล็กน้อย ซึ่งหลังจากนั้น ปริมาณน้ำได้ลงลงอย่างต่อเนื่อง แต่จนถึงช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2565 น้ำยังคงล้นตลิ่งอยู่

-บริเวณคลองบางบาล อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่เกิดสถานการณ์ โดยเริ่มล้นตลิ่งตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2565 โดยมีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุด 289 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2565 สูงกว่าปี 2554 และใกล้เคียงปี 2549 ที่เกิดอุทกภัยร้ายแรง

-บริเวณ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ปริมาณน้ำไหลผ่านยังคงน้อยกว่าปี 2554 และปี 2538 ที่เกิดอุทกภัยรุนแรง

แม่น้ำป่าสัก
-บริเวณ อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ เกิดน้ำล้นตลิ่งเพียงระยะเวลาสั้น ๆ และลดลงต่ำกว่าตลิ่งอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ปริมาณน้ำไหลผ่านน้อยกว่าปี 2554 ค่อนข้างมาก

-บริเวณท้ายเขื่อนพระรามหก อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ปริมาณน้ำไหลผ่านเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วมากในช่วงที่เกิดสถานการณ์ และเกิดน้ำล้นตลิ่งตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2565 โดยมีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุด 1,052 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2565 ซึ่งสูงกว่าปี 2554 ที่เกิดอุทกภัยรุนแรงอยู่เล็กน้อย ทั้งนี้ปริมาณน้ำไหลผ่านเริ่มต่ำกว่าระดับตลิ่งเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565

-บริเวณเขื่อนพระรามหก อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ปริมาณน้ำระบายเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วมากตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2565 และเริ่มเกินศักยภาพการระบายตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2565 ปริมาณน้ำระบายสูงสุด 856.04 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2565 แต่ต่ำกว่าปี 2554 ที่เกิดอุทกภัยรุนแรงค่อนข้างมาก



สถานี P.17 แม่น้ำปิง ที่บ้านท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์
สถานี N.67 แม่น้ำน่าน ที่สะพานเกยไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์
สถานี C.2 แม่น้ำเจ้าพระยา ที่ค่ายจิรประวัติ อ.เมือง จ.นครสวรรค์
บริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา แม่น้ำเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท
สถานี C.13 แม่น้ำเจ้าพระยา ที่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท
สถานี C.36 แม่น้ำเจ้าพระยา ที่คลองโผงเผง อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา
สถานี C.37 แม่น้ำเจ้าพรยา ที่คลองบางบาล อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา
สถานี C.29A แม่น้ำเจ้าพระยา อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา
สถานี S.42 แม่น้ำป่าสัก อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์
สถานี S.26 แม่น้ำป่าสัก ที่ท้ายเขื่อนพระรามหก อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
เขื่อนพระรามหก แม่น้ำป่าสัก อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา