อิทธิพลจาก "พายุโนรู" ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วม จ.ขอนแก่น ล่าสุดพบผู้ประสบภัยครอบคลุมเขตเทศบาลแล้ว 40% เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 36 ตัว ระบายน้ำจากเขตชุมชนเมืองลงสู่แม่น้ำพอง แม่น้ำชี
(28 ก.ย.2565) อิทธิพลจาก "พายุโนรู" ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วม จ.ขอนแก่น ล่าสุด เทศบาลนครขอนแก่นติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 36 ตัวระบายน้ำจากเขตชุมชนเมืองลงสู่แม่น้ำพอง แม่น้ำชี พร้อมกับเร่งแจกกระสอบทรายป้องกันน้ำท่วมเขตชุมชนเต็มที่
ช่วง 08.30 น. ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประตูระบายน้ำ D8 ต.พระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น เจ้าหน้าที่ชลประทานที่ 6 , ปภ.ขอนแก่น และเจ้าหน้าที่จากเทศบาลตำบลพระลับ ยังคงเร่งการระบายน้ำจากเขตชุมชนเมืองจากฝั่งประตูระบายน้ำ D8 ให้ลงสู่แม่น้ำพองและแม่น้ำชีตามแนวทางการบริหารจัดการน้ำและระบายน้ำจากเขตเมือง โดยมีการเพิ่มเครื่องสูบน้ำจากเดิมที่มีการติดตั้งอยู่ที่ประตูระบายน้ำดังกล่าวแล้ว 18 ตัว ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร
จัดการน้ำเร่งด่วนได้มีมติให้มีการติดตั้งอีก 18 ตัวรวมเป็น 36 ตัว ทำการเร่งสูบน้ำจากออกจากเขตเมืองมาตั้งแต่ช่วงกลางดึกของคืนที่ผ่านมา
ส่วนที่บริเวณด้านหน้าฝายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเทศบาลนครขอนแก่น ยังคงมีประชาชนมาทยอยขอรับกระสอบทราย ซึ่งเทศบาลได้เร่งทำการบรรจุและส่งมอบให้กับผู้ประสบภัยครัวเรือนละ 30
กระสอบ รวมทั้งการจัดตั้งโรงครัวกลางเร่งประกอบอาหารปรุงสุกแจกจ่ายและส่งมอบให้กับพื้นที่ที่ประสบภัยในเขตเทศบาลน้ำอย่างเร่งด่วน
นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแกน กล่าวว่า ขณะนี้พื้นที่เขตเมืองนั้นมีผู้ประสบภัยครอบคลุมพื้นที่เขตเทศบาลรวมกว่า 40% ซึ่งขณะนี้มวลน้ำได้ล้อมเมือง โดยแยกเป็นพื้นที่ปลายน้ำที่ขณะนี้ได้ไหลไปรวมกันที่เขต ต.พระลับ เนื่องจากพื้นที่รับน้ำหลักของเมืองคือบึงแก่นนครและบึงทุ่งสร้างนั้นมีระดับน้ำที่เกือบเต็มความจุ
\
ดังนั้น แนวทางการบริหารจัดการน้ำตามที่ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำเร่งด่วน จึงมีมติในการประบการระบายน้ำที่ปลายน้ำ คือจากประตูระบายน้ำ D8 ให้เร่งกำลังการสูบน้ำจากจากเขตเมืองลงสู่แม่น้ำพองและแม่น้ำชี เพื่อให้ตอนกลางของน้ำที่กำลังท่วมเขตเทศบาลนครขอนแก่น มวลน้ำจะได้ไหลไปตามเส้นทางน้ำ ขณะที่ตอนต้นของพื้นที่รับน้ำในเขตเมืองที่ได้มีการลงพื้นที่ตรวจสอบพบว่ามวลน้ำ 2 สายที่ไหลเข้าพื้นที่พบว่ามีระดับน้ำที่สูงต่ำไม่เท่ากัน
ขณะนี้มวลน้ำจากพื้นที่ข้างเคียงนั้นได้ไหลเข้าพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่รับน้ำบึงหนองโคตร ต.บ้านเป็ด นั้นน้ำเต็มความจุและได้มีการไหลท่วมพื้นที่ทั้งเขต ต.บ้านเป็ด และเขตเทศบาลแล้วในหลายพื้นที่
ดังนั้น เมื่อปลายน้ำมีการเร่งระบายน้ำออกก็จะทำให้น้ำตอนกลางของเขตเทศบาลทั้ง
มวลน้ำที่อยู่ในคลองร่องเหมือง และน้ำที่กำลังท่วมในเขตเมือง นั้นจะได้ระบายน้ำอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่พื้นที่ต้นน้ำซึ่งเข้าเขตเทศบาลที่ประตูระบายน้ำศรีฐานและประตูระบายน้ำหน้าโรงพยาบาลขอนแก่นรามที่ขณะนี้ ประตูระบายน้ำหน้า รพ. มีการเปิดประตูระบายน้ำเพื่อรับมวลน้ำจากบ้านกอกให้ไหลลงสู่บึงทุ่งสร้างอยู่ตลอดเวลา
นายธีระศักดิ์ กล่าวต่ออีกว่า ด้วยระดับน้ำจากประตูระบายน้ำศรีฐาน ที่รับน้ำจาก ต.บ้านเป็ด ที่มีระดับน้ำที่สูงกว่าฝั่ง รพ.ขอนแก่นราม ทำให้น้ำที่มาจากบ้านกอกและจาก ม.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ระบายได้ช้าเนื่องจากระดับน้ำจากฝั่งบึงหนองโคตรผ่านประตูระบายน้ำศรีฐาน และเข้าสู่บึงทุ่งสร้างมีระดับที่สูงกว่า
ซึ่งเมื่อการระบายน้ำที่ปลายน้ำคือที่ ต.พระลับ เป็นไปตามแนวทางที่ทางจังหวัดกำหนด มวลน้ำในเขตเมืองและมวลน้ำจากพื้นที่ตำบลรอบข้างก็จะไหลตามแนวทางการระบายน้ำได้มากขึ้น เพื่อรองรับปริมาณน้ำจาก พายุโนรู ที่กำลังพาดผ่านพื้นที่ในระยะนี้
อย่างไรก็ตาม เทศบาลได้ร่วมกันกับทุกฝ่ายในการบริหารจัดการน้ำและการจัดการจราจรทางน้ำ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยและพื้นที่ที่ประสบภัย ด้วยการตั้งจุดอพยพและศูนย์พักพิงชั่วคราว รวมทั้งการจัดทำโรงครัวกลางแจกจ่ายให้กับผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่างๆอย่างเต็มที่
อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ฝนตกต่อเนื่อง แม่น้ำมูลไหลเอ่อล้นตลิ่งท่วมพื้นที่เขตเศรษฐกิจของอำเภอแล้ว ขณะที่ ชาวบ้านยังคงเร่งขนของและอพยพออกจากพื้นที่แล้ว บางส่วนไม่ยอมย้ายหนีน้ำขึ้นชั้น 2
วันนี้ (28 ก.ย.2565) จ.อุบลราชธานี ฝนยังคงตกต่อเนื่องตลอดทั้งวัน ทำให้ปริมาณน้ำแม่น้ำมูลเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยศูนย์อพยพที่อยู่ใกล้แม่น้ำมูล ขณะนี้ชาวบ้านได้มีการขนย้ายสิ่งของอพยพจากศูนย์บำบัดน้ำเสียวารินชำราบเป็นการเร่งด่วน โดยมีคำเตือนจากอิทธิพลของพายุโนรูจะเข้าปะทะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เวลาประมาณ 22.00 น. ของคืนนี้
ขณะที่บริเวณบ้านหาดสวนยา ขณะนี้ยังคงมีชาวบ้านบางส่วนอาศัยอยู่บนชั้นสองของบ้าน เพื่อเฝ้าทรัพย์สิน แม้ว่าจังหวัดจะประชาสัมพันธ์ให้มีการอพยพออกมาอยู่บนที่สูง หรือศูนย์อพยพที่จัดเตรียมไว้ แต่ก็มีชาวบ้านบางส่วนกังวลใจว่า ทรัพย์สินจะสูญหาย นอกจากนี้ชาวบ้านบางคน ยอมย้ายออกจากบ้านแล้ว เพราะกังวลว่า ปริมาณน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ อ.วารินชำราบ มีการสั่งอพยพชุมชนไปมากถึง 14 ชุมชนแล้ว มีการประเมินสถานการณ์ว่า น้ำจะเพิ่มสูงขึ้นอีกอย่างน้อยเกือบ 2 เมตร และปริมาณน้ำยังจะไหลเข้าท่วมเขตพื้นที่เขตเศรษฐกิจด้วย ซึ่งขณะนี้ในส่วนของเทศบาลเมืองวารินชำราบ และเทศบาลตำบลแสนสุข มีน้ำเข้าท่วมพื้นผิวการจราจรบนถนน
ขอนแก่นเร่งระบายน้ำจากเขตชุมชนเมือง
ประชาชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ทยอยขอรับกระสอบทราย ที่บริเวณด้านหน้าฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเทศบาลนครขอนแก่น ครัวเรือนละ 30 กระสอบ รวมทั้งการจัดตั้งโรงครัวกลางเร่งประกอบอาหารปรุงสุกแจกจ่ายและส่งมอบให้กับพื้นที่ที่ประสบภัยอย่างเร่งด่วน
ซึ่งขณะนี้พื้นที่เขตเมืองนั้นมีผู้ประสบภัยครอบคลุมพื้นที่เขตเทศบาลนคร ประมาณ ร้อยละ 40 ของพื้นที่
ขณะที่ลักษณะมวลน้ำอยู่โดยรอบเมือง แหล่งรองรับน้ำ บึงแก่นนคร และบึงทุ่งสร้าง ใกล้เต็มความจุ
โดยแนวทางการบริหารจัดการน้ำตามที่ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำเร่งด่วน จึงมีมติในการระบายระบายน้ำที่ปลายน้ำ คือจากประตูระบายน้ำห้วยพระ คือ D8 ให้เร่งกำลังการสูบน้ำจากเขตเมืองลงสู่แม่น้ำพองและแม่น้ำชี เพื่อให้ตอนกลางของน้ำที่กำลังท่วมเขตเทศบาลนครขอนแก่น มวลน้ำได้ไหลไปตามเส้นทางน้ำ
บุรีรัมย์น้ำทะลักท่วมพื้นที่เกษตรกว่า 14,000 ไร่
ส่วนพื้นที่ลุ่มน้ำมูลที่ จ.บุรีรัมย์ น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรกว่า 14,000 ไร่ ใน ต.แคน ต.ดงพลอง ต.สระบัว และ ต.หัวฝาย เขต อ.แคนดง ผู้นำหมู่บ้านต้องนำเรือท้องแบนเข้าขนย้ายหมูให้กับชาวบ้าน หลังคอกหมูถูกน้ำท่วม โดยฝนที่ตกสะสมทำให้น้ำไหลเข้าถนนในเขตหมู่บ้าน แต่ยังไม่เข้าท่วมบ้านเรือน เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองแจ้งเตือนประชาชนเตรียมพร้อมหากมีฝนตกหนัก อาจส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น
กรมชลประทาน เร่งระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา เพราะน้ำเหนือเพิ่มขึ้น และ รองรับผลกระทบจากอิทธิพลพายุ “โนรู”
วันที่ 29 ก.ย. 2565 ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า อิทธิพลของพายุ “โนรู” ที่ส่งผลให้เกิดฝนตกกระจายตัวทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ทำให้มีปริมาณจากทางตอนบน ไหลลงมาสมทบกับแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จังหวัดนครสวรรค์เป็นจำนวนมาก ก่อนจะไหลมารวมกับน้ำที่มีจากลุ่มน้ำสะแกกรัง ส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
กรมชลประทาน จึงจำเป็นต้องปรับการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ให้อยู่ในอัตรา 2,400 ลบ.ม./วินาที เพื่อเร่งระบายน้ำจากทางตอนบน
ทั้งนี้ หากระดับน้ำทางตอนบนอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว จะปรับลดอัตราการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ลงเหลือในอัตรา 2,300 – 2,500 ลบ.ม/วินาที ในระหว่างวันที่ 1-7 ต.ค. 65 ตามที่ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) กำหนด พร้อมจัดจราจรทางน้ำ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนให้ได้มากที่สุดต่อไป
ด้าน นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เผยว่า ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนภูมิพล อ.สามเงา จ.ตาก เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบัน (29 ก.ย. 2565) มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ 179.41 ล้าน ลบ.ม. ทำให้เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำต้นทุนเพิ่มขึ้นเป็น 5,631 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 58% ของความจุอ่างฯ และยังสามารถรับน้ำได้อีก 4,031 ล้าน ลบ.ม. หากเปรียบเทียบกับปี 2564 ซึ่งมีปริมาณน้ำเพียง 2,631 ล้าน ลบ.ม. หรือ 27% เท่านั้น
ในขณะที่ปัจจุบันเขื่อนภูมิพลระบายน้ำเพียง 0.50 ล้าน ลบ.ม. เพื่อเก็บกักน้ำสำรองไว้ใช้สำหรับอุปโภคบริโภคและการเกษตรในช่วงฤดูแล้งให้มากที่สุด อีกทั้งเป็นการลดผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายเขื่อนที่เชื่อมต่อแม่น้ำปิงไปสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ไม่ให้รับภาระปริมาณน้ำดังกล่าว ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้อีกทางหนึ่งด้วย
จิสด้า เผยภาพดาวเทียม พบน้ำท่วมโซนอีสานจากพายุโนรู เกือบ 8 แสนไร่ นาข้าวกว่า 5 แสนไร่ได้รับความเสียหาย GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) เผยว่า ข้อมูลจากดาวเทียมของวันที่ 30 ก.ย.2565 ติดตามพื้นที่น้ำท่วมที่เกิดจากพายุโนรูเคลื่อนที่ผ่านประเทศไทย โดยส่วนใหญ่พบในบริเวณพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่ง
ล่าสุดพบแล้วสูงถึง 762,394 ไร่ ส่วนใหญ่พบพื้นที่ลุ่มน้ำชีและมูล ในพื้นที่ 17 จังหวัดดังนี้ ศรีสะเกษ 150,227 ไร่สุรินทร์ 109,560 ไร่ .อุบลราชธานี 109,176 ไร่ ขอนแก่น 93,972 ไร่ บุรีรัมย์ 66,942 ไร่ ร้อยเอ็ด 62,282 ไร่ นครราชสีมา 36,359 ไร่ มหาสารคาม 34,830 ไร่ ชัยภูมิ 29,523 ไร่ อำนาจเจริญ 19,404 ไร่ ยโสธร 16,937 ไร่ กาฬสินธุ์ 14,741 ไร่
หนองบัวลำภู 5,904 ไร่ สกลนคร 3,881 ไร่ อุดรธานี 3,373 ไร่ หนองคาย 2,925 ไร่ และ นครพนม 2,359 ไร่ ซึ่งนาข้าวเสียหายแล้วถึง 504,851 ไร่ พื้นที่น้ำท่วมขังส่วนใหญ่ยังคงเป็นพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ลุ่มต่ำ ริมสองฝั่งแม่น้ำสายหลักและสายรอง ชุมชนที่อยู่อาศัย และเส้นทางคมนาคมบางส่วน
อิทธิพล "พายุโนรู" ทำฝนตกหนัก ถล่มหลายจังหวัดภาคเหนือ เชียงใหม่อ่วมหนักหลายพื้นที่ น้ำป่าไหลหลาก ท่วมหลายพื้นที่ น้ำตก ต้องสั่งปิด ลำปาง ดินสไลด์ปิดเส้นทาง
1 ต.ค 2565 "โนรู" ถึงแม้ว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศ แต่ก็ยังคงมีอิทธิพล ทำให้เกิดฝนตกหนัก ถึงหนักมาก ในหลายพื้นที่โดยเฉพาะทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยที่จ.เชียงใหม่ ตั้งแต่ช่วงเช้ามืดมีฝนตกหนัก ส่งผลทำให้บริเวณ กม.ที่ 17 ทางหลวงหมายเลข 108 สายฮอด-แม่สะเรียง ท้องที่อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ เกิดดินสไลด์ปิดทับช่องทางจราจร ทางเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติออบหลวง และชาวบ้านในพื้นที่ได้ช่วยกันใช้จอบและผู้ช่วยกันตักเอาดินทราย ออกจากผิวถนนใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงจึงสามารถเคลียร์พื้นที่ได้
ที่ บริเวณกม.ที่ 9 -10 ถนนสายสายฮอด-แม่สะเรียง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ มีน้ำแม่แจ่มไหลหลากเอ่อล้นบนพื้นผิวการจราจรและมีแนวโน้มระดับน้ำสูงขึ้น รถเล็กไม่สามารถผ่านได้ ทางเจ้าหน้าที่แนะประชาชน ที่ต้องการเดินทางจากจ.เชียงใหม่ ไปยัง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ผ่านเส้นทางดังกล่าว โปรดวางแผนการเดินทางหรือหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว โดยจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยอำนวยความสะดวกการจราจรให้
ส่วนที่น้ำตกแม่กลาง ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เกิดน้ำป่าจากบนดอยอินทนนท์ ลงมาบริเวณน้ำตก ไหลเชี่ยวแรงมาก น้ำมีสีขุ่นเข้ม ก่อนที่จะไหล ไหลลงสู่พื้นที่ด้านล่าง ส่งผลให้บริเวณที่มีร้านค้าและร้านอาหาร ตั้งเรียงรายอยู่ เพื่อให้บริการนักท่องเที่ยว ทำให้ร้านค้าบางส่วนได้รับความเสียหายจากน้ำป่าที่ไหลหลากลงมา โดยปริมาณน้ำฝนบนยอดดอยอินทนนท์วัดได้สูงถึง 110 มิลลิเมตร ส่วนที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์วัดได้ 90 มิลลิเมตรส่วนที่น้ำตกแม่กลาง ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เกิดน้ำป่าจากบนดอยอินทนนท์ ลงมาบริเวณน้ำตก ไหลเชี่ยวแรงมาก น้ำมีสีขุ่นเข้ม ก่อนที่จะไหล ไหลลงสู่พื้นที่ด้านล่าง ส่งผลให้บริเวณที่มีร้านค้าและร้านอาหาร ตั้งเรียงรายอยู่ เพื่อให้บริการนักท่องเที่ยว ทำให้ร้านค้าบางส่วนได้รับความเสียหายจากน้ำป่าที่ไหลหลากลงมา โดยปริมาณน้ำฝนบนยอดดอยอินทนนท์วัดได้สูงถึง 110 มิลลิเมตร ส่วนที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์วัดได้ 90 มิลลิเมตร
เช่นเดียวกับที่น้ำตกแม่สา หลังจากเกิดฝนตกหนักตลอดทั้งคืนที่ผ่านมา จนถึงเช้าวันนี้ยังมีปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ที่หน่วยฯทป.3 (น้ำตกแม่สา) เกิดน้ำป่าไหลหลากระดับ 3,4 ทางหน่วยฯจึงปิดน้ำตกแม่สาเป็นการชั่วคราว เช่นเดียวกับที่น้ำตก
แม่สา หลังจากเกิดฝนตกหนักตลอดทั้งคืนที่ผ่านมา จนถึงเช้าวันนี้ยังมีปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ที่หน่วยฯทป.3 (น้ำตกแม่สา) เกิดน้ำป่าไหลหลากระดับ 3,4 ทางหน่วยฯจึงปิดน้ำตกแม่สาเป็นการชั่วคราว
ส่วนที่ จ.ลำปาง เจ้าหน้าที่ อบต.นาโป่ง ต.นาโป่ง อ.เถิน .ลำปาง พร้อมผู้นำชุมชุมในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ปภ. ลำปาง สาขาเถิน ได้นำรถพร้อมอุปกรณ์ไปยังถนนเถิน-ลี้ กม.ที่ 13 เขตบ้านนายโป่ง เพื่อเคลียร์เส้นทางหลังเมื่อกลางดึกที่ผ่านมา เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดดินสไลด์ปิดทับเส้นทางทำให้รถไม่สามารถผ่านไปมาได้ เจ้าหน้าที่ต้องนำกรวยมาวางเพื่อแจ้งให้ผู้ที่จะใช้รถใช้ถนนทราบคาดว่าวันนี้ถนนจะใช้งานได้ตามปกติแต่ขอให้ใช้ความระมัดระวังเนที่เนื่องจากฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง
ขณะเดียวกัน ที่ อ.เถิน และ อ.แม่พริก ตั้งแต่เวลา 18.00 น.ของช่วงเย็นที่ผ่านมา เกิดฝนตกหนัก เป็นเหตุให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง จากลำห้วยสาขาต่าง ๆไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน สิ่งสาธารณประโยชน์ พื้นที่การเกษตร เบื้องต้นพื้นที่ประสบภัยอำเภอเถินได้แก่ ตำบลนาโป่ง ตำบลแม่มอ ตำบลเวียงมอก ตำบลล้อมแรด ตำบลเถินบุรี ตำบลแม่ปะ ตำบลแม่ถอด ตำบลแม่วะ อำเภอแม่พริก ตำบลแม่พริก ตำบลแม่ปุ ตำบลพระบาทวังตวง
กรมทางหลวง สรุปสถานการณ์น้ำท่วม ผลกระทบจากไต้ฝุ่น “โนรู” กระทบ 22 จังหวัด สัญจรไม่ได้ 14 แห่ง
เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 65 กรมทางหลวง ได้ทำการสรุปสถานการณ์อุทกภัยและดินสไลด์บนทางหลวง ผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นโนรู สถานการณ์ประจำวันที่ 3 ตุลาคม 2565 เวลา 15.00 น. พบทางหลวงถูกน้ำท่วม/ดินสไลด์ในพื้นที่ 22 จังหวัด ได้แก่ จ.เพชรบูรณ์, จ.เลย, จ.ศรีสะเกษ, จ.สุรินทร์, จ.บุรีรัมย์, จ.นครราชสีมา, จ.ขอนแก่น, จ.มหาสารคาม, จ.ชัยภูมิ, จ.อุบลราชธานี, จ.หนองบัวลำภู, จ.ร้อยเอ็ด, จ.ลพบุรี, จ.อ่างทอง, จ.พระนครศรีอยุธยา, จ.สุโขทัย, จ.กำแพงเพชร, จ.ชัยนาท, จ.ปราจีนบุรี, จ.ลำพูน, จ.เชียงใหม่ และ จ.นครสวรรค์ จำนวน 72 สายทาง จำนวน 97 แห่ง ทางหลวงที่การจราจรผ่านได้ 84 แห่ง การจราจรผ่านไม่ได้ 14 แห่ง โดยทุกจุดมีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกด้านการจราจร รายละเอียดดังนี้
1. จังหวัดขอนแก่น จำนวน 1 แห่ง บนทางหลวงหมายเลข 229 ตอน บ้านไผ่ – มัญจาคีรี ในพื้นที่ อ.มัญจาคีรี ช่วง กม.ที่ 23+800 – 24+595 ระดับน้ำ 55 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
2. จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่
1) ทางหลวงหมายเลข 2170 ตอน วัดประทุมชาติ – หนองจาน ในพื้นที่ อ.จตุรัส ช่วง กม.ที่3+125 – กม.4+100 ระดับน้ำ 40 ซม. รถเล็กผ่านไม่ได้
2) ทางหลวงหมายเลข 2179 ตอน จตุรัส – บำเหน็จณรงค์ ในพื้นที่ อ.บำเหน็จณรงค์ ช่วง กม.ที่ 13+500 – 13+600 น้ำกัดเซาะคันทางชำรุด ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน คาดว่าจะผ่านได้ 7 ต.ค. 65
3) ทางหลวงหมายเลข 2484 ตอน เลี่ยงเมืองภูเขียว ในพื้นที่ อ.ภูเขียว ช่วง กม.ที่ 7+300 – 7+500 ระดับน้ำ 15 ซม.
3. จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
1) ทางหลวงหมายเลข 226 ตอน ศรีสะเกษ – ห้วยขะยุง ในพื้นที่ อ.กันทรารมย์ ช่วง กม.ที่ 312+200 – 313+384 ระดับน้ำ 50 – 60 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
2) ทางหลวงหมายเลข 2412 ตอน ท่าศาลา – ละทาย ในพื้นที่ อ.กันทรารมย์ ช่วง กม.ที่ 12+000 – 16+500 ระดับน้ำ 45 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
4. จังหวัดสุรินทร์ 1 แห่ง บนทางหลวงหมายเลข 226 ตอน ลำน้ำชี – บ้านพม่า ในพื้นที่ อ.เมือง ช่วง กม.ที่ 163+250 – 163+750 ระดับน้ำ 40 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยง ทล.2485 และ ทล.293 แทน
5. จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1 แห่ง บนทางหลวงหมายเลข 2150 ตอน คง – โนนไทย ในพื้นที่ อ.เมือง ช่วง กม.ที่ 40+000 – 40+300 ระดับน้ำ 10 - 45 ซม. รถเล็กผ่านไม่ได้ ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
6. จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 2 แห่ง
1) ทางหลวงหมายเลข 226 ตอน ห้วยขะยุง – วารินชำราบ ช่วง กม.ที่ 319+600 – 320+200 ระดับน้ำ 60 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
2) ทางหลวงหมายเลข 24 ตอน วารินชำราบ – อุบลราชธานี ในพื้นที่ อ.วารินชำราบ ช่วง กม.ที่ 418+400 – 419+600 ระดับน้ำ 30 ซม. แนะนำเส้นทางเลี่ยง ทล.217 ทางแยกต่างระดับบัวเทิง เลี้ยวซ้ายไปสะพานข้ามแม่น้ำมูล เข้าสู่ตัวเมืองอุบลราชธานี
7. จังหวัดลพบุรี จำนวน 4 แห่ง ได้แก่
1) ทางหลวงหมายเลข 205 ตอน เทศบาลลำนารายณ์ – ช่องสำราญ ในพื้นที่ อ.ชัยบาดาล ช่วง กม.ที่ 82+800 – กม.84+600 ระดับน้ำ 40 – 70 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
2) ทางหลวงหมายเลข 205 ตอน คลองห้วยไผ่ – เทศบาลลำนารายณ์ ในพื้นที่ อ.ชัยบาดาล ช่วง กม.ที่ 70+100 – กม.70+700 ระดับน้ำ 50 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
3) ทางหลวงหมายเลข 2243 ตอน บัวชุม – สี่แยกบัวชุม ในพื้นที่ อ.ชัยบาดาล ช่วง กม.ที่ 1+100 – 3+050 ระดับน้ำ 40 – 60 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
4) ทางหลวงหมายเลข 2275 หนองบง – ซับลังกา ในพื้นที่ อ.ชัยบาดาล ช่วง กม.ที่ 0+500 + 4+200 ระดับน้ำ 40 – 60 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
โดยแขวงทางหลวงในพื้นที่เร่งให้ความช่วยเหลือดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก ดินสไลด์ พร้อมเร่งระบายน้ำและบำรุงรักษาเส้นทาง โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและให้ประชาชนได้รับความสะดวกปลอดภัยจากการสัญจรโดยเร็วที่สุดอย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง
ทั้งนี้ กรมทางหลวงได้สั่งการให้ สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงทั่วประเทศ เฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากมีพื้นที่ใดประสบปัญหา เจ้าหน้าที่จะเข้าพื้นที่เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนทันที ตามนโยบายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม นอกจากนี้กรมทางหลวงได้ติดตั้งป้ายเตือนและอุปกรณ์ความปลอดภัย อุปกรณ์นำทาง ในบริเวณทางหลวงที่ถูกน้ำท่วม พร้อมเฝ้าระวังสถานการณ์จนกว่าจะคลี่คลาย โดยขอให้ประชาชนผู้ใช้ทางโปรดใช้ความระมัดระวังในการเดินทาง ปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนำ และคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด หากประชาชนต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง สภาพการจราจร หรือ ต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อ ได้ที่สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงในพื้นที่ และสายด่วนกรมทางหลวง 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) และสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์สภาพเส้นทางและเส้นทางเลี่ยงได้ที่ทวิตเตอร์กรมทางหลวง @prdoh1
เขื่อนป่าสักฯ วิกฤติหนัก ปริมาณน้ำเกินความจุ เร่งปรับเพิ่มการระบายน้ำ เนื่องจากยังมีมวลน้ำเหนือไหลลงเขื่อนอีกเป็นจำนวนมาก "กรมชลฯ" ร่อนหนังสือแจ้งเตือนด่วนที่สุด ประชาชนท้ายเขื่อน-พื้นที่เสี่ยง ให้ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงาน ภามมุมสูงเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จะเห็นได้ว่ามีปริมาณน้ำเต็มเขื่อนแล้ว เนื่องจากที่ผ่านมามีปริมาณน้ำเหนือจากจังหวัดเพชรบูรณ์ไหลเข้าสูงเขื่อนเป็นจำนวนมาก โดยปริมาณน้ำล่าสุดวันนี้อยู่ที่ 1014.15 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 105.64 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าเกินความจุที่ระดับกักเก็บปกติของเขื่อนที่ 960 ล้านลูกบาศก์เมตรไปแล้ว และยังมีมวลน้ำเหนือไหลเข้าสูงเขื่อนอีกเป็นจำนวนมาก โดยปริมาณน้ำไหลเข้าวันนี้อยู่ที่ 1525.25 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือ 131.78 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน
ล่าสุด นายชูพงศ์ อิศรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักใต้ รักษาการผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักชลสิทธิ์ ได้ลงนามใน
หนังสือด่วนที่สุด ตามประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เรื่อง เฝ้าระวังระดับน้ำแม่น้ำป่าสัก ทั้งนี้ จากการคาดการณ์สภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าในช่วงวันที่ 3 ตุลาคม ที่ผ่านมา จนถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2565 ยังคงมีอิทธิพลจากร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง โดยกองอำนวยการน้ำแห่งชาติประเมินฝนคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนปาสักชลสิทธิ์แห่งนี้อีกประมาณ 400 ล้านลูกบาศก์เมตร กรมชลประทานจำเป็นต้องบริหารจัดการน้ำ โดยการปรับเพิ่มการระบายน้ำ เพื่อควบคุมปริมาณน้ำในเขื่อนปาสักชลสิทธิ์ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อรักษาเสถียรความมั่นคงของตัวเขื่อน โดยได้เริ่มทยอยปรับเพิ่มแบบขั้นบันได จากอัตรา 600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตั้งแต่เมื่อวานนี้ มาเป็นอัตรา 800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในช่วงบ่ายของวันนี้
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดต่อทรัพย์สินของประชาชนจากการที่ระดับน้ำในแม่น้ำป่าสัก ตั้งแต่ อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ถึงเขื่อนพระรามหก อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา เพิ่มสูงขึ้น
จากปัจจุบันประมาณ 40 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร จึงขอแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ให้รับทราบ และติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ส่วนที่ คลองชลประทานชัยนาท ป่าสัก ซึ่งรับน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา ผ่านประตูมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท แล้วไหลผ่านอำเภอบ้านหมี่ และอำเภอเมืองลพบุรี ตามแผนการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ขณะนี้ระดับน้ำได้เพิ่มสูงขึ้นรวดเร็ว 50-60 เซนติเมตร เนื่องจากมีการระบายน้ำจากทุ่งรับน้ำของอำเภอบ้านหมี่ และอำเภอเมืองลพบุรี ลงสู่คลองชัยนาทป่าสักจนเกิดน้ำล้นตลิ่งในบางจุด ซึ่งสำนักงานชลประทานที่ 10 ได้เร่งว่างแนวกระสอบทรายและเสริมคันดินในพื้นที่จุดเสียงให้สูงขึ้นอีก 1 เมตร ป้องกันน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่เศรษฐกิจของจังหวัดลพบุรี ขณะที่ นายอำพล อังคภากรณ์กุล ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ โดยมีการระดมเครื่องสูบน้ำจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระบายน้ำออกจากพื้นที่ซึ่งมีน้ำท่วมสูงลงสู่คลองชัยนาท-ป่าสัก เพื่อลดความเดือดร้อนให้กับประชาชน
ระทึก น้ำท่วม 2 มหาวิทยาลัยใน จ.มหาสารคาม พื้นที่เศรษฐกิจชั้นใจกลางเมืองก็อ่วม น้ำเพิ่มระดับสูงรวดเร็ว ถนนบายพาส ทางหลวง ต้องปิดการจราจรทั้งเส้น หมู่บ้านจัดสรร บ้านเรือนประชาชนกระทบหนัก จังหวัดต้องตั้งศูนย์บรรเทาทุกข์ และที่พักพิงผู้ประสบภัยแล้ว
เมื่อวันที่ 6 ต.ค. 65 จากที่น้ำจากอ่างเก็บน้ำแก่งเลิงจาน มีน้ำล้นความจุและมีการรั่วของพนังคลองผันน้ำทำให้น้ำได้ทะลักไปเอ่อท่วม ถนนบายพาสหมายเลข 291 และท่วมข้ามถนนบายพาส ตอนนี้แขวงทางหลวงมหาสารคาม ได้ปิดเส้นทางการจราจรแล้วทั้งเส้น น้ำท่วมถนนมีความสูงประมาณ 40 ซม.
น้ำได้เข้ามาอย่างรวดเร็วเข้าท่วมมหาวิทยาลัยกีฬามหาสารคาม และมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ทั้ง 2 แห่ง ท่วมแล้ว 100% ด้านในมหาวิทยาลัยสูงกว่า 1 เมตร ทางนักศึกษาต้องหนีน้ำวุ่น ต้องช่วยกันขนย้ายหนีน้ำกันตลอดทั้งคืน นอกจากนี้ยังท่วมไปที่เขตเทศบาลชั้นในทางคลองสมถวิล ที่มีความยาวประมาณ 5 กม. ผ่ากลางเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม โดยที่ท้ายคลองสมถวิลน้ำได้เอ่อท่วมเข้าไปที่ซอยริมคลองสมถวิล 47 น้ำสูงกว่า 50 ซม. และได้ทยอยท่วมตามซอยต่างๆ ที่อยู่พื้นที่ลุ่ม ทางลำห้วยคะคาง ทางด้านทิศเหนือของเขตเทศบาล ได้เอ่อท่วมบ้านจัดสรร และบ้านเอื้ออาทร ถนนจุฑางกูรคุ้มสามัคคีโรงเรียนเทศบาลโพธิ์ศรี ตอนนี้น้ำยังท่วมสูงขึ้น
เรื่อยๆ ฝากเตือนให้ประชาชนที่อยู่ใกล้ลำห้วยคะคาง ให้เก็บของขึ้นที่สูงและย้ายสิ่งของออกจากพื้นที่ด่วน เพระแม่น้ำชีที่สถานีวัดน้ำ E8A ตอนนี้น้ำสูงกว่าระดับน้ำตลิ่ง 83 ซม.แล้ว และแม่น้ำชีสูงขึ้นทุกวัน มวลน้ำจาก จ.ชัยภูมิและเขื่อนอุบลรัตน์ที่ระบายน้ำเพิ่มยังมาไม่ถึง ลำห้วยคะคางน้ำไม่ระบายน้ำออกไปได้จะทำให้น้ำในลำห้วยคะคางเอ่อล้นพนังกั้นน้ำ เข้าท่วมเขตเทศบาลเพิ่มมากขึ้น
ตอนนี้ทางเทศบาลเมืองมหาสารคาม ได้ตั้งศูนย์บรรเทาทุกข์ และพักพิงผู้ประสบอุทกภัยเมืองมหาสารคาม ณ โรงเรียนเทศบาลศรีสวัสดิ์วิทยา จุดบริการให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบอุทกภัย
3 ตำบล อ.ป่าโมก ระทมหนัก หลังน้ำเจ้าพระยาพังทะลุคันดิน เอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนหลายร้อยหลังคาเรือน ไหลเข้าท่วมถนน 309 หลายคนต้องนำเสื้อผ้าใส่กะละมังลอยคอไปเปลี่ยนที่แห้งเพื่อไปทำงาน
เมื่อเวลา 07.00 น. วันที่ 6 ต.ค. 65 ที่บริเวณ สะพานข้ามคลองบ้านสาย ถนนเส้น 309 อ่างทอง-อยุธยา เขตรอยต่อ ตำบลบางปลากด ตำบลบางเสด็จ ตำบลโรงช้าง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง หลังน้ำเจ้าพระยาไหลทะลักคันดินบริเวณหมู่ 5
ตำบลบางเสด็จ เมื่อคืนที่ผ่านมา น้ำได้เอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนในเขตรอยต่อ 3 ตำบล หลายร้อยหลังคาเรือน อย่างรวดเร็วและขยายวงกว้างไปเรื่อยๆ หลังคันดินป้องกันน้ำพังทะลายหลายจุด
โดยถนนเส้น 309 อ่างทอง-อยุธยา ถูกน้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นมาครึ่งเลน โชคยังดีที่มีแบริเออร์กั้นขวางอยู่กลางถนน แต่น้ำเจ้าพระยาได้กัดเชาะคันดินบริเวณคอสะพานบ้านสายพังเสียหาย กระแสน้ำที่ไหลแรงเชี่ยวกราด ไหลลอดใต้สะพานข้ามถนน ไปยังพื้นที่ ซอย 1 ตำบลโรงช้าง
ด้านนายภานุวัตร ความตั้งใจ ชาวบ้านที่ประสบอุทกภัย เล่าว่า น้ำได้พังข้ามคันดินเข้ามาท่วมหมู่บ่านในช่วงกลางคืนที่ผ่านมาและขยายวงกว้างอย่างรวดเร็ว ในช่วงเช้าตนเองไม่มีเรือต้องออกไปทำงาน จึงได้นำเสื้อผ้าใส่กะละมังลอยคอออกมายังถนนแล้วเปลี่ยนชุดไปทำงาน ตอนนี้อยากได้เรือใช้เดินทางเข้าออกบ้าน ช่วงนี้น้ำได้เอ่อล้นขยายวงกว้างไปยัง 3 ตำบลใกล้เคียงอย่างรวดเร็ว
ศูนย์ข่าวขอนแก่น - น้ำล้นเขื่อนอุบลรัตน์ ท่วมพื้นที่เหนือเขื่อนหนัก ล่าสุดบ้านโนนสวรรค์ถูกน้ำท่วมจนมีสภาพกลายเป็นเกาะกลางน้ำ ชาวบ้านเดือดร้อนหนัก ต้องย้ายออกมาอยู่ศูนย์พักพิงชั่วคราว ขณะที่การเดินทางเข้าออกต้องใช้รถกระบะยกสูงเท่านั้น
หลังจากฝนตกหนัก มีน้ำป่าและมวลน้ำจากลำน้ำสาขาไหลเข้าเขื่อนอุบลรัตน์ อย่างต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณน้ำเกินความจุกักเก็บ ทำให้น้ำล้นอ่างเก็บน้ำเอ่อท่วมพื้นที่ทางตอนเหนือของเขื่อน ซึ่งหมู่บ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ 8 ตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เป็นอีกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักน้ำท่วมเกือบทั้งหมู่บ้าน ชาวบ้านต้องย้ายขึ้นมาอยู่บริเวณริมถนน บริเวณใกล้กับสถานีควบคุมไฟป่าขอนแก่น ใช้เป็นที่พัก
ชั่วคราว และการเข้าออกหมู่บ้านต้องใช้รถยกสูงเท่านั้น เนื่องจากถนนถูกน้ำท่วมสูงประมาณ 30 ถึง 50 เซนติเมตร
นายบุญชู โผใจอาน อายุ 63 ปี ชาวบ้านโนนสวรรค์ กล่าวว่า ตนมาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านนี้ได้ 23 ปีแล้ว แต่สถานการณ์น้ำท่วมปีนี้หนักกว่าปี 2560 เพราะน้ำได้เอ่อท่วมเกือบทั้งหมู่บ้าน ชาวบ้านต้องย้ายออกจากหมู่บ้านเกือบทั้งหมด ซึ่งน้ำได้ท่วมมาแล้วกว่าหนึ่งสัปดาห์ ขณะนี้ชาวบ้านกำลังประสบปัญหาน้ำกัดเท้า ส่วนการให้ความช่วยเหลือ มีทางอำเภออุบลรัตน์มาแจกถุงยังชีพไปแล้ว
ขณะที่ทางหลวงชนบทขอนแก่นได้นำป้ายประกาศมาปิดถนนสาย 2036 บริเวณบ้านภูเขาวง ตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ หลังน้ำท่วมสูง
50-80 เซนติเมตร ระยะทางยาว 1.2 กิโลเมตร รถทุกชนิดห้ามผ่าน ทำให้การสัญจรจากอำเภออุบลรัตน์มุ่งหน้าอำเภอหนองเรือถูกตัดขาด ต้องไปใช้ถนนมะลิวัลย์แทน
ทั้งนี้ ตำบลเขื่อนอุบลรัตน์มีจำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านท่าเรือ (คุ้มหินเพิง) หมู่ที่ 3 บ้านภูคำเบ้า หมู่ที่ 7 บ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ 8 บ้านแก่งศิลา หมู่ที่ 9 และบ้านภูเขาวง หมู่ที่ 10 รวมไปถึงพื้นที่การเกษตร ปศุสัตว์ ประมง ได้รับความเสียหาย ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน 342 ครัวเรือน
น้ำชีทะลักท่วมถนนเลี่ยงเมืองหน้าหน้าศาลปกครองขอนแก่น ต้องอ้อมไปใช้เส้นทางลัดระหว่างอำเภอแทน เขื่อนอุบลรัตน์มีระดับน้ำกักเก็บมากที่สุดตั้งแต่แต่ตั้งเขื่อนมา ต้องเพิ่มการระบายน้ำเป็นวันละ 54 ล้าน ลบ.ม.
10 ต.ค.2565-ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นนจากแม่น้ำชี ได้ไหลทะลักเข้าท่วมถ.เหล่านาดี หน้าศาลปกครองขอนแก่น เส้นทางสายหลักจากตัวเมืองขอนแก่น ไป อ.พระยืน ที่ระดับน้ำท่วมสูงกว่า 50 ซม. รถขนาดเล็กไม่สามารถสัญจรไป-มาได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจและกรมทางหลวง รวมไปถึง ได้นำป้ายมาติดตั้งเพื่อแจ้งเตือนผู้ใช้รถใช้ถนน และห้ามไม่ให้รถขนาดเล็กผ่านเส้นทางดังกล่าว โดยให้ไปใช้ในเส้นทางตัดผ่านคือ ถ.มะลิวัลย์ ตัด แยก ต.บ้านทุ่ม เพื่อมั่งหน้าไป อ.พระยืน และ จ.ชัยภูมิแทน
เช่นเดียวกันกับที่ บ.กุดกว้าง ต.เมืองเก่า ที่ขณะนี้ระดับน้ำจากแม่น้ำชีได้ไหลท่วมเส้นทางกลับรถ บน ถ.มิตรภาพ ในช่วงสะพานข้ามทางรถไฟและข้ามแม่น้ำชีแล้ว เจ้าหน้าที่จึงต้องปิดการเดินรถในจุดดังกล่าวทั้งหมดเช่นกัน
นายเอกราช ช่างเหลา ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า ได้มีการประสานงานร่วมทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ กระทรวงคมนาคม ในการเร่งติดตั้งป้ายและสัญญาณไฟแจ้งเตือนจุดที่มีระดับน้ำท่วมหรือจุดเสี่ยง รวมทั้งการช่วยเหลือในจุดที่ตัดขาดที่มีการประสานการจัดทำสะพานชั่วคราวเพื่อให้ประชาชนสัญจรไป-มา ขณะเดียวกันยังคงประสานฝานร่วมกับ อปท.ในพื้นที่ที่ประสบภัย เพื่อนำไปสู่การให้ความช่วยเหลือตามระเบียบและข้อกฎหมายที่กำหนด
ขณะที่ น.ส.ธนียา นัยพินิจ รอง ผวจ.ขอนแก่น กล่าวว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการน้ำจังหวัด และนายอำเภอในพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วม มีมติให้เขื่อนอุบลรัตน์ปล่อยน้ำในระดับ วันละ50-54ล้าน ลบ.ม. ลซึ่งจะทำให้มีน้ำเพิ่มขึ้นอีก5-10ซม.ตึงขอให้ผู้อยู่ใต้เขื่อนเฝ้าระวังและฟังประกาศจากทางราชการ เนื่องจากขณะนี้ ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนอุบลรัตน์มีปริมาณสูงถึง129%ของความจุอ่างแล้ว
“ถือว่าน้ำในเขื่อนอุบลรัตน์มีมากที่สุดตั้งแต่ตั้งเขื่อนมาในปี2521 ซึ่งเขื่อนรับน้ำได้สูงสุด2,431 ล้าน ลบ.ม. แต่วันนี้เขื่อนมีความจุน้ำในอ่าง คิดเป็น 129 % โดยมีน้ำไหลเข้าเขื่อนวันละ 114.56 ล้าน ลบ.ม.ระบายน้ำออก 50 ล้าน ลบ.ม. ดังนั้นการปรับแผนการระบายน้ำในระยะนี้จึงต้องทำทันที”
วันที่ 11 ต.ค.65 ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ว่า ระดับน้ำยังคงเพิ่มขึ้น
โดยในวันนี้ แวลา 06.00 น. ระดับน้ำสถานี M 7 ท่าน้ำตลาดใหญ่ อ.เมืองอุบลราชธานี ระดับน้ำ 116.50 ม. รทก. เพิ่มขึ้น 3 ซม. ระดับตลิ่ง 113 ม.รทก. ทั้งนี้ ระดับน้ำเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง โดย วันที่ 6 เพิ่มขึ้น 17 ซม. วันที่ 7 เพิ่มขึ้น 13 ซม. วันที่ 8 เพิ่มขึ้น 12 ซม วันที่ 9 เพิ่มขึ้น 6 ซม. วันที่ 10 เพิ่มขึ้น 4 ซม. และ วันนี้ ( 11ต.ค.65) ระดับน้ำอยู่ที่ 116.50 ม.รทก. ซึ่งสูงกว่าเมื่อวานนี้ 3 ซม. และ คาดว่าจะเป็นระดับที่สูงสุดและน่าจะลดลงเรื่อยๆ ส่วนระดับน้ำ ที่สะพานข้ามแม่น้ำมูล และ สะพานข้ามห้วยรินดาก ที่ถนนสายเลี่ยงเมืองทางด้านทิศตะวันออก จากต.กุดลาด อ.เมืองอุบลฯ ซึ่งเป็นเส้นทาง ข้ามแม่น้ำมูลไปยัง บ้านบัวท่า-บัวเทิง เขตอำเภอวารินชำราบ เป็นเส้นทางหรือถนนสายสุดท้ายที่เชื่อมระหว่างตัวเมืองอุบลฯ กับ อำเภอวารินชำราบ ที่น้ำยังไม่ท่วม นั้น ขณะนี้ ระดับน้ำยังต่ำกว่าผิวถนน จะมีบางช่วงที่เป็นที่ลุ่มจะมีน้ำเอ่อขึ้นมาผิวถนนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ลักษณะเช่นนี้น้ำไม่นาจะท่วมเส้นทางสายนี้ถ้าหากระดับน้ำทรงตัวหรือเริ่มลดลง
ส่วน ในตัวเมืองอุบลฯหรือเขตเทศบาลนครอุบลฯ บางชุมชนน้ำยังคงท่วมขัง และบางชุมชนน้ำไหลเอ่อท่วมสูงขึ้น เช่นเคย จุดน้ำท่วมสูงอีกแห่ง ได้แก่ พื้นที่บ้านท่ากกแห่ บ้านคูเดื่อ บ้านทัพไทย ต.แจระแม อ.เมือง จ.อุบลฯ ถูกน้ำท่วม 100 % บางจุดน้ำท่วมมิดหลังคาบ้าน ถึงวันนี้ ระดับน้ำยังไม่ลด และ พื้นที่ ฝั่งอำเภอวารินชำราบ มีหลายตำบล หลายชุมชน ยังคงถูกน้ำท่วมสูง เช่นที่ ชุมชนหาดสวนยาหรือหาดสวนสุข บ้านเรือนราษฎรบางจุด ถูกน้ำท่วมจนมิดหลังคาบ้านเช่นเดียวกัน ซึ่งตอนนี้พบว่า ประชาชนได้รับผลกระทบจากอุทกภัยและได้รับความเดือดร้อนแล้ว 19 อำเภอ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบด้านการดำรงชีพและการใช้ชีวิตประจำวันมากกว่า 46,000 คน ในขณะเดียวกันทางจังหวัดอุบลราชธานี ได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วนเร่งให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่ และในวันนี้ ( 11ต.ค.65 ) ปภ.อุบลราชธานี ได้รายงานสถานการณ์อุทกภัยประจำวันที่ 11 ต.ค. 65 ดังนี้
1.แม่น้ำมูล สถานีวัดระดับน้ำ M7 สะพานเสรีประชาธิปไตย ระดับตลิ่งอยู่ที่ 112.0 ม.รทก.(7 ม.) ระดับน้ำ วันนี้ 116.50 ม.รทก. (11.50 ม.) อัตราการไหล 5,735.00 ลบ.ม./วินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 0.03 ม. สูงกว่าระดับน้ำสูงสุดปี 2564 อยู่ 4.36 ม.
2. เส้นทางคมนาคมหลักในการสัญจรของประชาชน ในการเข้า-ออกตัวเมืองอุบลฯ ได้รับผลกระทบ ดังนี้ เส้นทางจากอำเภอเมืองอุบลราชธานี ไป อำเภอวารินชำราบ โดยเส้นทางสะพานเสรีประชาธิปไตย 200 ปี น้ำท่วมสูงกว่าผิวจราจร ไม่สามารถสัญจรได้ , เส้นทางเลี่ยงเมืองฝั่งตะวันตก 231 ปิดการจราจรเส้นทางขาเข้าอำเภอเมือง ส่วนเส้นทางขาออกรถเล็กไม่สามารถผ่านได้ , เส้นทางเลี่ยงเมืองฝั่งตะวันออก 231 ระดับน้ำสูงกว่าผิวจราจร ในบางช่วงที่มีระดับต่ำ ได้มีการเสริมบิ๊กแบ๊กกั้นผิวจราจรในช่วงที่มีระดับต่ำเพิ่มเติม และสูบน้ำออกเป็นระยะๆ
เส้นทางสัญจรระหว่างจังหวัด ได้รับผลกระทบ ดังนี้ เส้นทางหลวง 226 อุบล – ศรีสะเกษ ช่วงบ้านท่าลาด ต.ห้วยขะยุง อ.วารินชำราบ น้ำท่วมสูงกว่า ผิวจราจรรถทุกประเภทไม่สามารถผ่านได้ แนะนำให้ใช้เส้นทางเลี่ยง, เส้นทางหลวง 23 อุบล – เขื่องใน ช่วงบ้านดอนชี ต.หนองขอน อ.เมืองฯ น้ำท่วมสูงกว่าผิวจราจร รถเล็กไม่สามารถผ่านได้ แนะนำให้ใช้เส้นทางเลี่ยง
3. การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในด้านต่างๆ ทางน้ำ จากอำเภอเมืองอุบลราชธานี ไป อำเภอวารินชำราบ มีเรือจาก ปภ. และเครือข่าย จำนวน 14 ลำ และ ทางบก จากอำเภอเมืองอุบลราชธานี ไป อำเภอวารินชำราบ มีรถเคลื่อนย้ายจาก ปภ. และหน่วยทหาร จำนวน 19 คัน และ การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน ทางบก จำนวน 2 คัน ทางน้ำ จำนวน 2 ลำ และทางอากาศ อากาศยานปีกหมุน จำนวน 5 ลำ (นพค.56 จำนวน 2 ลำ, บน.21 จำนวน 1 ลำ, กระทรวงทรัพฯ จำนวน 2 ลำ) และ การช่วยเหลือด้านปศุสัตว์ สนับสนุนรถบรรทุกขนย้ายหญ้าและอาหารสัตว์พระราชทานจากจังหวัดอำนาจเจริญเพื่อมอบให้กับสำนักงานปศุสัตว์อำเภอเดชอุดมเพื่อแจกจ่ายให้กับเกษตรกรในพื้นที่ จำนวน 5,000 กิโลกรัม เวชภัณฑ์แร่ธาตุก้อน จำนวน 30 ก้อน
4. การลดผลกระทบการจราจรแออัดเนื่องจากเส้นทางคมนาคมบางเส้นทางที่ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ แจ้งส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ พิจารณาอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ ที่มิได้มีภารกิจในการให้บริการประชาชนโดยตรง ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของส่วนราชการ ตั้งแต่วันศุกร์ ที่ 7 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยต้องไม่เป็นการกระทบต่อการให้บริการแก่ประชาชน
สำหรับสถานศึกษา ขอให้พิจารณาปิดสถานศึกษาด้วยเหตุพิเศษ โดยจัดให้มีการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ หรือ จัดให้มีการเรียนการสอนชดเชยภายหลังจากสถานการณ์คลี่คลาย และ จากการคาดการณ์สถานการณ์น้ำ เริ่มมีการทรงตัว หรือ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในวันพรุ่งนี้ (12 ต.ค. 65)
ผู้สื่อข่าว รายงานเพิ่มเติมว่า กรมทหารราบที่ 6 ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ อ.วารินชำราบ จ.อุบลฯ ได้สนับสนุนโรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์ อ.วารินชำราบ และ จัดกำลังพล หมวดเสนารักษ์ ร.6 พร้อมทั้งประสานนักบิน ทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยกรณีฉุกเฉิน โดย อากาศยาน ในกรณีไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ทางรถยนต์หรือทางเรือ ซึ่งผลการปฎิบัติ การส่งกลับสายแพทย์ทุกหน่วยมีความพร้อมในการปฏิบัติ ใช้เวลาในการ การส่งกลับทางอากาศยาน จนถึง โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ใช้เวลา 15 นาที ผู้ป่วยถึงมือแพทย์ เพื่อรับการรักษาต่อไป
และในวันนี้ ( 11ต.ค.65) สภ.เมืองอุบลราชธานี ภายใต้การอำนวยการของ พ.ต.อ.ศักดิ์สิทธิ์ คงศักดิ์ตระกูล ผกก.สภ.เมืองอุบลราชธานี พ.ต.ท.ณัฐกร พลภักดี รอง ผกก.จร.สภ.เมืองอุบลฯ พ.ต.ท.ไพศาล ศุภโกศล สว.จร.สภ.เมืองอุบลฯ ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร อำนวยความสะดวกการจราจรเส้นทางเลี่ยงน้ำท่วม ถนนเลี่ยงเมือง231 ฝั่งทิศตะวันออก(กุดลาด-บัวเทิง) ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมระหว่าง อ.เมืองอุบลราชธานี ไปยัง อ.วารินชำราบ อ.สว่างวีระวงศ์ อ.พิบูลพิบูลมังสาหาร อ.นาเยีย และ อ.เดชอุดม ที่รถทุกชนิดยังสามารถสัญจรได้ปกติ การจราจรหนาแน่น ปริมารรถมากทำให้รถติดแต่เคลื่อนตัวได้ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรจาก สภ.เมืองอุบลราชธานี ได้คอยอำนวยความสะดวกพร้อมประชาสัมพันธ์เส้นทางเลี่ยงและจัดระเบียบการจราจรบนเส้นทางดังกล่าว เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนได้ทราบและเข้าใจมากขึ้นและเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนน อีกด้วย
วันที่ 14 ต.ค.65 ผู้สื่อข่าวรายงานถึงสถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดอยุธยา พบว่ามวลน้ำมหาศาลจากแม่น้ำเจ้าพระยาได้ไหลทะลักเข้าท่วม อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ทำให้ถนนคันคลองมหาราช ในพื้นที่ ม.12 ต.ตลุก อ.สรรพยา ที่เป็นแนวกั้นน้ำระหว่างแม่น้ำ กับ พื้นที่การเกษตรและตัวเมืองชัยนาท ถูกกัดเซาะจนขาดเป็นระยะทางกว่า 30 เมตร ทำให้มวลน้ำทะลักเข้าสู่คลองมหาราชอย่างรวดเร็ว และมีแววว่าจะล้นข้ามคันคลองไปเข้าพื้นที่เกษตรที่จะลัดเลาะเข้าถึงตัวเมืองได้
ทั้งนี้ทางเจ้าหน้าที่ได้เอารถแบ๊กโฮเข้าไปทำคันกั้นป้องกันความเสียหายไม่ให้ขยายวงกว้างเพิ่มเติม ขณะที่การจราจรที่ปากทางเส้นทางสายนี้ ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างตัวเมืองชัยนาท ไปยัง จ.ตลุก ต.สรรพยาเป็นอัมพาตโดยสิ้นเชิง ซึ่งได้มีประกาศให้ประชาชนหลีกเลี่ยงเส้นทาง ไปใช้เส้นทางสายเอเชีย หรือ สายชัยนาทสรรพยาแทน ขณะที่ระดับน้ำในแม่น้ำป่าสักล้นตลิ่งเข้าท่วมภายในวัดสะตือพุทธไสยาสน์ ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก ในตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ
ชุมชนรอบวัดถูกน้ำท่วมโดยมีระดับน้ำสูงกว่า 30 เซนติเมตร แต่ก็ยังมีประชาชนต่างถิ่นเช่าเรือมาไหว้พระขอพรหลวงพ่อโต
สรุปภาพรวมสถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาขณะนี้คลอบคลุม 14 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เสนา อ.ผักไห่ อ.บางบาล อ.บางไทร อ.บางปะอิน อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางปะหัน อ.ท่าเรือ อ.นครหลวง อ.มหาราช อ.อุทัย อ.วังน้อย อ.ภาชี อ.บ้านแพรก