รายงานข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจวัดปริมาณฝนของคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ แสดงให้เห็นว่าอิทธิพลจากพายุไต้ฝุ่น “โนรู” ส่งผลทำให้บริเวณจังหวัดอุบลราชธานีเริ่มมีฝนตกเพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2565 ซึ่งต่อมาในวันที่ 28 กันยายน 2565 พายุได้เคลื่อนเข้าประเทศไทยบริเวณ อ.โขงเจียม ส่งผลทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงบางพื้นที่ของภาคกลางและภาคตะวันออก หลังจากนั้นพายุได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือผ่านจังหวัดอำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น แล้วอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณจังหวัดชัยภูมิ ในวันที่ 29 กันยายน 2565 ทำให้ด้านตะวันตกของภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงบางพื้นที่ของภาคกลางและภาคเหนือมีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวในหลายพื้นที่ และถึงแม้พายุจะสลายตัวไปแล้ว แต่ยังคงมีร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของประเทศต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2565 ทำให้ยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือที่มีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวเป็นบริเวณกว้างในช่วงวันที่ 30 กันยายน – 1 ตุลาคม 2565
นอกจากนี้ อิทธิพลของพายุยังส่งผลทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ซึ่งทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากในช่วงวันที่ 27-30 กันยายน
2565 โดยเฉพาะทางด้านตะวันตกของภาคที่มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่
ทั้งนี้ จังหวัดที่ฝนตกหนักมาก ตรวจวัดปริมาณฝนได้เกิน 90 มิลลิเมตรต่อวัน ประกอบด้วย
ภาคเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่ ตาก เพชรบูรณ์ พิจิตร สุโขทัย ลำปาง แพร่ เชียงใหม่ ลำพูน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ชัยภูมิ เลย
ภาคกลาง 2 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ ลพบุรี
ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี นครนายก สระแก้ว
ภาคใต้ 3 จังหวัด ได้แก่ สตูล ระนอง พังงา
รายละเอียดเพิ่มเติมดังแผนที่และตารางด้านล่าง
วันที่ | รหัสสถานี | ชื่อสถานี | ตำบล | อำเภอ | จังหวัด | ปริมาณฝนรายวัน(มม.) |
27-09-2022 | MOU115 | หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.๑๐ (ประจันตคาม) | บุฝ้าย | ประจันตคาม | ปราจีนบุรี | 128.0 |
STN1271 | บ้านไร่ท่าตะกู | หนองบัวเหนือ | เมืองตาก | ตาก | 113.0 | |
SWR037 | รร.ผังปาล์ม 4 | ปาล์มพัฒนา | มะนัง | สตูล | 98.2 | |
28-09-2022 | 48408 | อุบลราชธานี สกษ. | ท่าช้าง | สว่างวีระวงศ์ | อุบลราชธานี | 200.3 |
48407 | อุบลราชธานี (ศูนย์ฯ) | ไร่น้อย | เมืองอุบลราชธานี | อุบลราชธานี | 185.5 | |
MUN017 | เมืองอุบลราชธานี | หัวดอน | เขื่องใน | อุบลราชธานี | 170.6 | |
AIT011 | สะพานข้ามน้ำมูล | โขงเจียม | โขงเจียม | อุบลราชธานี | 146.4 | |
48409 | ศรีสะเกษ | จานแสนไชย | ห้วยทับทัน | ศรีสะเกษ | 142.2 | |
VLGE14 | ชุมชนบ้านตูม | กุดน้ำใส | ค้อวัง | ยโสธร | 138.6 | |
KANG | อบต.แก้ง | แก้ง | เดชอุดม | อุบลราชธานี | 138.4 | |
MUN005 | ราษีไศล | เมืองคง | ราษีไศล | ศรีสะเกษ | 136.6 | |
MUN006 | วารินชำราบ | คำน้ำแซบ | วารินชำราบ | อุบลราชธานี | 122.6 | |
MOU103 | สถานีควบคุมไฟป่าภูสิงห์ภูผาผึ้ง-ภูสระดอกบัว | หนองมะแซว | เมืองอำนาจเจริญ | อำนาจเจริญ | 109.6 | |
BGYN | อบต.บางใหญ่ | บางใหญ่ | กระบุรี | ระนอง | 105.0 | |
WEI112 | ท้ายฝายราษีไศล | หนองแค | ราษีไศล | ศรีสะเกษ | 105.0 | |
ACRU | ทต.ไก่คำ | ไก่คำ | เมืองอำนาจเจริญ | อำนาจเจริญ | 104.8 | |
TSUD | อบต.โคกชำแระ | โคกชำแระ | ทุ่งศรีอุดม | อุบลราชธานี | 103.0 | |
BNYM | อบต.นายม | นายม | เมืองอำนาจเจริญ | อำนาจเจริญ | 99.2 | |
WEI091 | เหนือฝายธาตุน้อย | สหธาตุ | เขื่องใน | อุบลราชธานี | 99.2 | |
48432 | สุรินทร์ | ในเมือง | เมืองสุรินทร์ | สุรินทร์ | 96.2 | |
VLGE44 | อ่างฯหนองกุดใหญ่ | หนองเต็ง | กระสัง | บุรีรัมย์ | 95.8 | |
TBW017 | สะพานข้ามลำปะเทีย | อีสานเขต | เฉลิมพระเกียรติ | บุรีรัมย์ | 94.8 | |
48433 | สุรินทร์ สกษ. | คอโค | เมืองสุรินทร์ | สุรินทร์ | 94.4 | |
NYUN | ทต.น้ำยืน | สีวิเชียร | น้ำยืน | อุบลราชธานี | 93.8 | |
SWR018 | รร.บ้านท่าหัน | รมณีย์ | กะปง | พังงา | 93.4 | |
TBW018 | อ่างเก็บน้ำคูขาด | ประทัดบุ | ประโคนชัย | บุรีรัมย์ | 93.4 | |
MUN003 | ชุมพวง | โบสถ์ | พิมาย | นครราชสีมา | 93.0 | |
RAWE | อบต.ระเว | ระเว | พิบูลมังสาหาร | อุบลราชธานี | 92.6 | |
CHI011 | เขื่องใน | เขื่องใน | เขื่องใน | อุบลราชธานี | 91.4 | |
BJAN | อบต.บ้านจารย์ | บ้านจารย์ | สังขะ | สุรินทร์ | 91.0 | |
29-09-2022 | MOU104 | อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม | บ้านไร่ | เทพสถิต | ชัยภูมิ | 165.8 |
48413 | วิเชียรบุรี | ท่าโรง | วิเชียรบุรี | เพชรบูรณ์ | 156.1 | |
BSMP | อบต.บึงสามพัน | บึงสามพัน | บึงสามพัน | เพชรบูรณ์ | 152.2 | |
NGBA | ทต.หนองบัว | หนองกลับ | หนองบัว | นครสวรรค์ | 109.0 | |
48418 | บัวชุม | นิคมลำนารายณ์ | ชัยบาดาล | ลพบุรี | 101.8 | |
STN1192 | บ้านซับชมพู่ | สระแก้ว | บึงสามพัน | เพชรบูรณ์ | 99.0 | |
TPKO | ทต.ทับคล้อ | ทับคล้อ | ทับคล้อ | พิจิตร | 97.2 | |
STN1360 | บ้านระหัด | กุดเลาะ | เกษตรสมบูรณ์ | ชัยภูมิ | 95.0 | |
STN1193 | บ้านซับตะแบก | ยางสาว | วิเชียรบุรี | เพชรบูรณ์ | 93.5 | |
STN0675 | บ้านโคกแสมสาร | โคกแสมสาร | โคกเจริญ | ลพบุรี | 91.0 | |
THTN | ทม.ตะพานหิน | ตะพานหิน | ตะพานหิน | พิจิตร | 90.4 | |
30-09-2022 | MOU065 | หน่วยศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำผาเวียง | แม่สิน | ศรีสัชนาลัย | สุโขทัย | 123.4 |
TBR014 | อบต.นาโป่ง | นาโป่ง | เถิน | ลำปาง | 121.8 | |
FOP019 | คลองสรอย วัดแม่ขมวก | สรอย | วังชิ้น | แพร่ | 101.6 | |
MOU087 | อุทยานแห่งชาติภูเรือ | หนองบัว | ภูเรือ | เลย | 97.2 | |
STN0149 | บ้านขามป้อม | ร่องจิก | ภูเรือ | เลย | 97.0 | |
MOU050 | หน่วยจัดการต้นน้ำแม่กลาง | บ้านหลวง | จอมทอง | เชียงใหม่ | 96.4 | |
BHUN | อบต.นาหินลาด | นาหินลาด | ปากพลี | นครนายก | 96.0 | |
LEEE | ทต.วังดิน | ลี้ | ลี้ | ลำพูน | 95.0 | |
STN1069 | บ้านหางนา | โพนสูง | ด่านซ้าย | เลย | 95.0 | |
MOU117 | หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ตย.๑ (ทัพไทย) | ทัพไทย | ตาพระยา | สระแก้ว | 93.8 | |
STN1193 | บ้านซับตะแบก | ยางสาว | วิเชียรบุรี | เพชรบูรณ์ | 90.5 | |
STN1680 | บ้านตะเคียนงาม | บางหิน | กะเปอร์ | ระนอง | 90.0 |
จากแผนภาพแสดงการกระจายตัวของปริมาณฝนสะสมรายวันจะเห็นได้ว่า อิทธิพลของพายุ “โนรู” เริ่มส่งผลทำให้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้นบริเวณจังหวัดอุบลราชธานีตั้งแต่วันที่ที่ 27 กันยายน 2565 ซึ่งต่อมาในวันที่ 28 กันยายน 2565 พายุได้เคลื่อนเข้าประเทศไทยบริเวณ อ.โขงเจียม ส่งผลทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงบางพื้นที่ของภาคกลางและภาคตะวันออก หลังจากนั้นพายุได้เคลื่อนตัวไปทาง
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือผ่านจังหวัดอำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น แล้วอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณจังหวัดชัยภูมิ ในวันที่ 29 กันยายน 2565 ทำให้ด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงบางพื้นที่ของภาคกลางและภาคเหนือมีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวในหลายพื้นที่ และถึงแม้พายุจะสลายตัวไปแล้ว แต่ยังคงมีร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของประเทศต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2565 ทำให้ยังคง
มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือที่มีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวเป็นบริเวณกว้างในช่วงวันที่ 30 กันยายน – 1 ตุลาคม 2565 นอกจากนี้ อิทธิพลของพายุยังส่งผลทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ซึ่งทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากในช่วงวันที่ 27-30 กันยายน 2565 โดยเฉพาะทางด้านตะวันตกของภาคที่มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่