อิทธิพลของพายุ ไต้ฝุ่น “โนรู” ที่ทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ส่งผลทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมากโดยเฉพาะเขื่อนที่อยู่ในแนวการเคลื่อนตัวของพายุที่เคลื่อนเข้าประเทศไทยบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี แล้วเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือผ่านจังหวัดอำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่นและชัยภูมิ
เขื่อนแรกที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือเขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี ที่มีปริมาณน้ำไหลเข้าเพียงวันเดียวสูงถึง 112.34 ล้านลูกบาศ์เมตร ในวันที่ 30 กันยายน 2565 แต่ยังคงน้อยกว่าปี 2556 ที่ได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชัน 18 พายุไต้ฝุ่นหวู่ติ๊บ พายุไต้ฝุ่นนารี รวมถึงปี 2562 ที่ได้รับอิทธิพลจาก พายุโซนร้อนโพดุลและพายุโซนร้อนคาจิกิ
เขื่อนต่อมาที่ได้รับผลกระทบ โดยตรงคือ เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ที่มีน้ำไหลลงเพิ่มขึ้นมากต่อเนื่องตลอดเดือนกันยายน ประกอบกับในช่วงปลายเดือนพายุโนรูได้เคลื่อนผ่านบริเวณดังกล่าว ส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด โดยมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสูงสุดถึง 187.14 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 7 ตุลาคม 2565 ซึ่งมากกว่าปี 2554 ที่เกิดมหาอุทกภัย และปี 2564 ที่ได้รับอิทธิพลจากพายุโซนร้อนเตี้ยนหมู่ และทำให้เกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่
นอกจากนี้เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ ที่ถึงแม้จะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่ก็ทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้น โดยมีปริมาณน้ำไหลลงสูงสุด 47.4 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 3 ตุลาคม 2565 ซึ่งถือว่าเป็นน้ำไหลลงที่ไม่มากนัก หากเทียบกับปีอื่น ๆ
เขื่อนต่อมาที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือเขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ ซึ่งเป็นบริเวณที่พายุโนรูสลายตัวกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณดังกล่าว เขื่อนนี้มีน้ำไหลลงสูงสุด 18 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2564 ที่ได้รับอิทธิพลจาก พายุโซนร้อน "เตี้ยนหมู่" ซึ่งมีน้ำไหลลงสูงสุด 26 ล้านลูกบาศก์เมตร
เขื่อนต่อมาคือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี ที่มีน้ำไหลลงสูงมากต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกันยายน และมีน้ำไหลลงสูงสุดถึง 153 ล้านลูกบาศก์เมตรในวันที่ 4 ตุลาคม 2565 ซึ่งใกล้เคียงกับปี 2564 สำหรับเขื่อนในภาคเหนือที่ถึงแม้จะไม่ได้รับอิทธิพลจากพายุโดยตรง แต่ก็มีน้ำไหลเข้าค่อนข้างมากเช่นกัน เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ที่มีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงเวลาดังกล่าว
อิทธิพลของพายุไต้ฝุ่น “โนรู” ที่ทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ส่งผลทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก โดยในช่วงวันที่ 28 กันยายน – 5 ตุลาคม 2565 มีเขื่อนที่มีปริมาณน้ำไหลเข้าสะสมเกิน 100 ล้านลูกบาศก์เมตร อยู่ถึง 11 เขื่อน ได้แก่ 1) เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนมากที่สุด 1,548 ล้านลูกบาศก์เมตร 2) เขื่อน
อุบลรัตน์ 943 ล้านลูกบาศก์เมตร 3) เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 788 ล้านลูกบาศก์เมตร 4) เขื่อนศรีนครินทร์ 711 ล้านลูกบาศก์เมตร 5) เขื่อนสิรินธร 452 ล้านลูกบาศก์เมตร 6) เขื่อนสิริกิติ์ 357 ล้านลูกบาศก์เมตร 7) เขื่อนวชิราลงกรณ 289 ล้านลูกบาศก์เมตร 8) เขื่อนลำปาว 249 ล้านลูกบาศก์เมตร 9) เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน 222 ล้านลูกบาศก์เมตร 10) เขื่อนรัชชประภา 146 ล้าน
ลูกบาศก์เมตร 11) เขื่อนกิ่วลม 102 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีการระบายน้ำในช่วงเวลาดังกล่าวมากที่สุดถึง 306 ล้านลูกบาศก์เมตร รองลงมาคือเขื่อนอุบลรัตน์ที่ระบายน้ำรวมทั้งสิ้น 239 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนสิรินธร 177 ล้านลูกบาศก์เมตร รายละเอียดดังตารางและกราฟด้านล่าง
รายงาน ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2565 แสดงให้เห็นว่ามีเขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บเกินความจุของเขื่อนอยู่ 6 แห่ง ได้แก่ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนแม่มอก เขื่อนทับเสลา เขื่อนป่าสักฯ
เขื่อนกิ่วคอหมาและเขื่อนลำตะคอง ส่วนเขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก (80-100% ของความจุ) มีอยู่ถึง 20 เขื่อน เขื่อนที่อยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง
8 เขื่อน และเขื่อนบางลางเป็นเพียงเขื่อนเดียวที่ปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย รายละเอียดเพิ่มเติมดังตารางและแผนที่ด้านล่าง