แผนที่อากาศ
ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา

ข้อมูลจากภาพแผนที่อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาแสดงให้เห็นว่า ช่วงวันที่ 9-13 มิถุนายน 2568 มีร่องมรสุม (สัญลักษณ์ ) พาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่อง โดยในวันที่ 11 มิถุนายน 2568 ได้เลื่อนลงไปพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อนเลื่อนกลับขึ้นไปพาดผ่านพื้นที่ตอนบนอีกครั้ง ทั้งนี้เป็นการพาดเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ซึ่งส่งผลทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับพายุไต้ฝุ่น“หวู่ติบ (WUTIP)” (สัญลักษณ์ )

ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดฝนตกหนักมากจนทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสกลนคร ได้เริ่มก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำมาตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2568 ได้เพิ่มกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน (สัญลักษณ์ ) ในที่ 10 มิถุนายน 2568 ต่อมาพายุดังกล่าวได้เพิ่มกำลังแรงขึ้นต่อเนื่องเป็นพายุโซนร้อน (สัญลักษณ์ ) ในวันที่ 11 มิถุนายน 2568 หลังจากนั้นได้เคลื่อนตัวต่อเนื่องไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือผ่านตอนใต้ของเกาะไหหลำเข้าสู่อ่าวตังเกี๋ย ก่อนเปลี่ยนเส้นทางวกกลับไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แล้วเพิ่มกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับที่ 1 ในวันที่ 14 มิถุนายน 2568 ก่อนเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน

เมื่อเวลา 13.00 น. ของวันที่ 14 มิถุนายน 2567 หลังจากนั้นได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนในวันเดียวกัน แล้วลดกำลังลงต่อเนื่องเป็นพายุดีเปรสชันในวันที่ 15 มิถุนายน 2568 เวลา 01.00 น. หลังจากนั้นได้สลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง (สัญลักษณ์ ) บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน ในเวลา 19.00 น. วันเดียวกัน ซึ่งอิทธิพลของพายุลูกนี้ส่งผลทำให้มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของจังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหาร อุดรธานี ในช่วงวันที่ 12-13 มิถุนายน 2568 และทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของจังหวัดสกลนคร


9/6/2025 00GMT

10/6/2025 00GMT

11/6/2025 00UTC

12/6/2025 00UTC

13/6/2025 00UTC

14/6/2025 00UTC

15/6/2025 00UTC

16/6/2025 00UTC