สรุปสถานการณ์
Flooding in Sakon Nakhon Province (11-15 June 2025)

ช่วงวันที่ 9-13 มิถุนายน 2568 ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวในทุกภาคของประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจาก 3 ปัจจัยหลัก ประกอบด้วย
1) ร่องมรสุม พาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่อง
2) มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเล

อันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง
3) พายุไต้ฝุ่น “หวู่ติบ"" (WUTIP) ที่ถึงแม้จะไม่ได้แคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย แต่อิทธิพลของพายุกลับเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดฝนตกหนักมากในช่วงวันที่ 12-13 มิถุนายน 2568 จนทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณ

จังหวัดสกลนคร โดยอำเภอที่มีฝนตกหนักมาก (ปริมาณฝนเกิน 90 มิลลิเมตรต่อวัน) ประกอบด้วย อ.อากาศอำนวย อ.พังโคน อ.เมืองสกลนคร จ.สกลนคร อ.ธาตุพนม อ.เรณูนคร อ.เมืองนครพนม จ.นครพนม

แผนที่อากาศวันที่ 13 มิ.ย.68 เวลา 00UTC
แสดงร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่พายุ "หวู่ติบ"

แผนที่ความเร็วลมวันที่ 13 มิ.ย.68 เวลา 07.00 น.
แสดงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่มีกำลังแรงขึ้นมากจากอิทธิพลของพายุ "หวู่ติบ"

แผนที่เส้นทางพายุไต้ฝุ่น หวู่ติบ" ที่เริ่มก่อตัวตั้งแต่วันที่ 3 มิ.ย. 68 และสลายตัวไปในวันที่ 15 มิ.ย.68ย.

ผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ได้รายงานเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2568 ระบุว่าหลายพื้นที่ของ จ.สกลนคร ประสบกับภาวะน้ำท่วมฉับพลันสร้างความเสียหายต่อพื้นที่เกษตรกรรม ถนน และทรัพย์สินของประชาชนในหลายอำเภอ ประกอบด้วย
1) อ.พรรณานิคม ที่มีน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่เกษตรกรรมใน 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลบะฮี ตำบลพรรณา ตำบลนาหัวบ่อ และ

ตำบลเชิงชุม รวมทั้งมีถนนเพื่อการเกษตรขาด 1 เส้นทาง ที่ ต.ไร่ และเกิดน้ำท่วมคอกปศุสัตว์ ที่ ต.หัวบ่อ
2) อ.ส่องดาว มีน้ำท่วมนาข้าวในพื้นที่บ้านโพนศรี แต่ ณ วันที่รายงานยังไม่มีความเสียหายร้ายแรงเกิดขึ้น
3) อ.วาริชภูมิ มีคันคูห้วยกุดแร้งขาดที่จุดก่อสร้างฝายของชลประทานจังหวัดสกลนคร บ้านดอนยาวใหญ่ ตำบล

หนองลาด รวมทั้งที่ลำห้วยปลาหางในพื้นที่ตำบลปลาโหล มีน้ำล้นตลิ่งท่วมนาข้าวและพื้นที่ทางการเกษตร
4) อ.โพนนาแก้ว พายุฝนพัดหลังคาบ้านของราษฎรพัง 1 หลัง ที่หมู่ 4 ตำบลนาแก้ว
5) อ.วานรนิวาส มีพื้นที่น้ำท่วมขังรวม 6 ตำบล 23 หมู่บ้าน รวมพื้นที่เกษตรกรรมที่ถูกน้ำท่วมกว่า 3,180 ไร่

นอกจากทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่แล้ว ฝนตกหนักที่เกิดขึ้นในบริเวณจังหวัดสกลนคร ยังส่งผลทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มมากขึ้น โดย
1) เขื่อนน้ำอูน อ.พังโคน ปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นจาก 45% เป็น 53% ของความจุเขื่อน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง
2) เขื่อนน้ำพุง อ.พูพาน ปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นจาก 21% เป็น 23% ของความจุ

เขื่อน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤต
3) อ่างเก็บน้ำห้วยทรายขมิ้น อ.เมืองสกลนคร ปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นจาก 55% เป็น 126% ของความจุเขื่อน
4) อ่างเก็บน้ำห้วยซวง อ.วานรนิวาส ปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นจาก 50% เป็น 103% ของความจุเขื่อน ทั้งนี้อ่างเก็บน้ำห้วยทรายขมิ้นและอ่างเก็บน้ำห้วยซวง เริ่มเกิดน้ำล้นเขื่อนตั้งแต่

วันที่ 15 มิถุนายน 2568 ต่อเนื่องไปจนถึงช่วงสิ้นเดือนปริมาณน้ำก็ยังคงล้นเขื่อนอยู่
5) อ่างเก็บน้ำห้วยเดียก อ.เมืองสกลนคร ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นจาก 77% เป็น 101% ของความจุเขื่อน โดยเกิดน้ำล้นเขื่อนในช่วงวันที่ 15-18 มิถุนายน 2568

ระดับน้ำที่เขื่อนน้ำอูน อ.พังโคน จ.สกลนคร ณ วันที่ 21 มิถุนายน 2568 เวลา 18.00 น. [ที่มา: Facebook มหัศจรรย์สกลนคร]