กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รายงานความเสียหายจากอุทกภัย เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2567 เวลา 18.00 น. ระบุว่าร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่มีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในระดับบนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ระหว่างวันที่ 16-29 สิงหาคม 2567 มีสถานการณ์ในพื้นที่ 23 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู ระยอง ภูเก็ต ยะลา นครศรีธรรมราช พังงา ตรัง สตูล รวม 102 อำเภอ 419 ตำบล 2,266 หมู่บ้าน บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 69,093 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิตจากอุทกภัย 9 ราย ประกอบด้วย เชียงราย 2 ราย พะเยา 2 ราย น่าน 3 ราย แพร่ 2 ราย ผู้เสียชีวิตจากอุทกภัย (อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริง) มีผู้เสียชีวิตจากดินถล่ม 13 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 19 ราย ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ หนองคาย หนองบัวลำภู รวม 20 อำเภอ 81 ตำบล 289 หมู่บ้าน บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 7,179 ครัวเรือน ดังนี้

1) จ.เชียงราย วันที่ 15 สิงหาคม 2567 เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมขังและน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ 7 ตำบล 41 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.ปอ ต.ท่าข้าม ต.ม่วงยาย ต.หล่ายงาว อ.เวียงแก่น ต.เวียงห้าว ต.เมืองพาน อ.พาน
ต.แม่เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า เบื้องต้นบ้านเรือนได้รับผลกระทบ 2,411 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 2ราย (อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริง) ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ โดย สนง.ปภ.จ. อำเภอ หน่วยทหารในพื้นที่ จนท.ตร. อปท. จิตอาสา อส. อปพร.อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ ศูนย์ปภ.เขต 15 เชียงราย สนับสนุนรถผลิตน้ำดื่มขนย้ายหญ้าอัดก้อนจากศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ เคลื่อนย้ายสุกรและกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสนับสนุนถุงยังชีพจำนวน 5,000 ชุด มอบแก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ อ.พญาเม็งราย
ปัจจุบันระดับน้ำลดลง

2) จ.ลำพูน วันที่ 28-29 สิงหาคม 2567 เกิดฝนตกหนักน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 1 อำเภอ 3 ตำบล 15 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.นาทราย ต.ลี้ ต.ป่าไผ่ อ.ลี้ เบื้องต้นบ้านเรือนได้รับผลกระทน 202 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต โดย สนง.ปภ.จ.อำเภอ หน่วยทหารในพื้นที่ จนท.ตร. อปท. จิตอาสา อส. อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือ ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว
3) จ.ลำปาง วันที่ 28 สิงหาคม 2567 เกิดฝนตกหนักน้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 1 อำเภอ 5 ตำบล 10 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.วังซ้าย ต.วังทอง ต.วังเหนือ ต.วังแก้ว ต.ทุ่งฮั้ว อ.วังเหนือ เบื้องต้นบ้านเรือนได้รับผลกระทน 63 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับ
บาดเจ็บและเสียชีวิต โดย สนง.ปภ.จ. อำเภอ หน่วยทหารในพื้นที่ จนท.ตร. อปท. จิตอาสา อส. อปพร.อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือ ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว

4) จ.สุโขทัย วันที่ 25 สิงหาคม 2567 เกิดเหตุน้ำกัดเซาะตลิ่งคันดินแม่น้ำยมขาด เข้าท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ 39 ตำบล 104 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.แม่สิน ต.ศรีสัชนาลัย ต.ท่าชัย ต.แม่สำ อ.ศรีสัชนาลัย ต.ในเมือง ต.คลองยาง ต.ย่านยาว ต.คลองกระจง ต.ท่าทอง ต.เมืองบางยม ต.วังพิณพาทย์ ต.ป่ากุมเกาะ อ.สวรรคโลก ต.วังทอง ต.วังใหญ่ ต.วัดเกาะ ต.สามเรือน ต.บ้านนา ต.คลองตาล อ.ศรีสำโรง ต.ปากแคว ต.ยางซ้าย ต.บ้านหลุม ต.บ้านสวน ต.ปากพระ ต.ธานีอ.เมืองฯ ต.น้ำขุม ต.คลองมะพลับ ต.นครเดิฐ ต.หนองบัว ต.ศรีนคร อ.ศรีนคร ต.กง ต.ป่าแฝก อ.กงไกรลาศ เบื้องต้นบ้านเรือนได้รับผลกระทบ 3,483 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต โดย สนง.ปภ.จ. อำเภอ หน่วยทหารในพื้นที่ จนท.ตร. อปท. จิตอาสา อส. อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสนับสนุนถุงยังชีพจำนวน 1,500 ชุด ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว

5) จ.พิษณุโลก วันที่ 25 สิงหาคม 2567 เกิดฝนตกหนักแม่น้ำยมล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ 3 ตำบล 5 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.หนองแขม ต.ศรีภิรมย์ อ.พรหมพิราม ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 40 ครัวเรือน ถนน 2 สาย สะพาน 1 แห่ง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต โดย สนง.ปภ.จ. หน่วยทหารในพื้นที่อำเภอ จนท.ตร. อปท. จิตอาสา อส. อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหายให้การช่วยเหลือยกสิ่งของขึ้นที่สูง และเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว
6) จ.เพชรบูรณ์ วันที่ 28 สิงหาคม 2567 เกิดฝนตกหนักน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 1 อำเภอ 2 ตำบล 4 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.ตาลเดี่ยว ต.ห้วยไร่ อ.หล่มสัก เบื้องต้นบ้านเรือนได้รับผลกระทบ 917 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต โดย สนง.ปภ.จ. อำเภอ หน่วยทหารในพื้นที่ จนท.ตร. อปท. จิตอาสา อส. อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น

7) จ.หนองคาย วันที่ 29 สิงหาคม 2567 แม่น้ำโขงเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ 21 ตำบล 100 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.ผาตั้ง ต.สังคม ต.แก้งไก่ ต.บ้านม่วง อ.สังคม ต.บ้านหม้อ ต.พานพร้าว ต.หนองปลาปาก ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเมืองใหม่ต.กองนาง ต.นาข่า ต.โพนสา อ.ท่าบ่อ ต.เวียงคุก ต.เมืองหมี ต.กวนวัน ต.หาดคำ ต.หินโงม ต.สีกาย ต.บ้านเดื่อ อ.เมืองฯ ต.รัตนวาปี ต.บ้านต้อน ต.นาทับไฮ อ.รัตนวาปีเบื้องต้นบ้านเรือนได้รับผลกระทบ 52 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต โดย สนง.ปภ.จ. อำเภอ หน่วยทหารในพื้นที่ จนท.ตร. อปท. จิตอาสา อส. อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหายให้การช่วยเหลือติดตั้งเครื่องสูบน้ำ
เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น

8) จ.หนองบัวลำภู วันที่ 27 สิงหาคม 2567 เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำท่วมในพื้นที่ 1 อำเภอ 1 ตำบล 10 หมู่บ้าน ได้แก่ ทม.หนองบัวลำภู อ.เมืองหนองบัวลำภู เบื้องต้นบ้านเรือนได้รับผลกระทบ 11 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
โดย สนง.ปภ.จ. อำเภอ หน่วยทหารในพื้นที่ จนท.ตร. อปท. จิตอาสา อส. อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิพร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือ ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว