ข่าวน้ำท่วม


อัปเดตพื้นที่ 'น้ำท่วมภาคใต้' ล่าสุดยังส่งผลกระทบกว่า 2 หมื่นครัวเรือน [ กรุงเทพธุรกิจ : 21 พ.ย. 2566 11.47 น. ]


อัปเดต 'น้ำท่วมภาคใต้' ล่าสุด (21 พ.ย.2566) ปัจจุบัน สถานการณ์น้ำท่วมยังคงมีน้ำท่วมขังใน 2 จังหวัด ได้แก่ พัทลุง และนครศรีธรรมราช ประชาชนได้รับผลกระทบ 20,857 ครัวเรือน

อัปเดต 'น้ำท่วมภาคใต้' ล่าสุด (21 พ.ย.2566) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ระบุว่าพื้นที่ภาคใต้ 2 จังหวัด เร่งคลี่คลายสถานการณ์และช่วยเหลือประชาชน โดยในช่วงวันที่ 16 – 21 พ.ย.2566 มีพื้นที่ประสบอุทกภัยรวม 6 จังหวัด 34 อำเภอ 165 ตำบล 836 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 34,228 ครัวเรือน

สำหรับปัจจุบัน สถานการณ์น้ำท่วมยังคงมีน้ำท่วมขังใน 2 จังหวัด ได้แก่ พัทลุง และนครศรีธรรมราช รวม 6 อำเภอ 48 ตำบล 274 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 20,857 ครัวเรือน

นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดี ปภ. เปิดเผยว่า จากสถานการณ์มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ส่งผลให้ระหว่างวันที่ 16 – 21 พฤศจิกายน 2566 เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี พัทลุง ระนอง สงขลา ชุมพร และนครศรีธรรมราช รวม 34 อำเภอ 165 ตำบล 836 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 34,228 ครัวเรือน

ล่าสุดจากข้อมูลวันที่ 21 พ.ย.2566 เวลา 06.00 น. ยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ พัทลุง และนครราชสีมา รวม 6 อำเภอ 48 ตำบล 274 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 20,857 ครัวเรือน ดังนี้

1) พัทลุง น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอควนขนุน และอำเภอเมืองพัทลุง รวม 20 ตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,106 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

2) นครศรีธรรมราช น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อำเภอจุฬาภรณ์ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอปากพนัง รวม 28 ตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบ 19,751 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

ภาพรวมสถานการณ์ระดับน้ำลดลง ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพัทลุงและนครศรีธรรมราช ได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วน

โดยระดมกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพร้อมเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย อาทิ เครื่องสูบส่งน้ำระยะไกล เครื่องสูบน้ำ รถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย เพื่อแก้ไขปัญหา เร่งระบายน้ำ และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ สำหรับพื้นที่ที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้วได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด รวมถึงจัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจและจัดทำบัญชีความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯต่อไป

ขณะที่เมื่อวานนี้ (20 พ.ย.66) ได้เกิดดินสไลด์ทับบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 5 ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส บ้านเรือนประชาชนเสียหาย 1 หลัง ซึ่ง ปภ.จังหวัดนราธิวาส พร้อมด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้สำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว

ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง และยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชั่น “THAI DISASTER ALERT






ยะลา อ่วม! ฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ทำน้ำท่วมบางพื้นที่ ประชาชนพื้นที่เสี่ยง ยังคงต้องเฝ้าระวัง [ CH7HD News : 22 พ.ย. 2566 13.38 น. ]


ยะลา อ่วม! ฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ทำน้ำท่วมบางพื้นที่ ประชาชนพื้นที่เสี่ยง ยังคงต้องเฝ้าระวัง ฝนตกหนักถึงหนักมาก ไปจนถึง 23 พ.ย.66 นี้

วันนี้ 22 พ.ย.66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในพื้นที่ จ.ยะลา เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ปริมาณน้ำสะสม โดยในพื้นที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะในพื้นที่ ต.สะเตงนอก อ.เมืองยะลา จ.ยะลา ในหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ระบายไม่ทัน ในพื้นที่ หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 6 และ หมู่ที่ 9 ภายในซอยหลังอนามัย สูงระดับ 50-60 เซนติเมตร (เข่า-เอว) มีบ้านเรือนได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมขังรอการระบาย กว่า 200 ครัวเรือน และโรงเรียนน้ำท่วมสูง

ทั้งนี้ ยังคงมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในส่วนพื้นที่ลุ่มต่ำและน้ำท่วมซ้ำซาก เกิดน้ำท่วมขังบนถนนทางเข้าหมู่บ้านไบก์ หมู่ที่ 5 ต.บุดี อ.เมืองยะลา จ.ยะลา ติดถนนหลวง 4063 สายรามัน-ยะลา

ขณะที่ สภาพอากาศโดยทั่วไปในพื้นที่ จ.ยะลา ยังคงมีฝนตกอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ ซึ่งทาง ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ได้ย้ำเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง 8 อำเภอ ให้เตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก ดินโคลนถล่ม บริเวณ อ.เบตง อ.ธารโต อ.บันนังสตา อ.กาบัง อ.กรงปินัง และ อ.ยะหา เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน อ.เมืองยะลา อ.รามัน และ อ.ยะหา พร้อมทั้งติดตาม

สภาพอากาศปริมาณน้ำฝนสะสม และสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่ชุมชนเมือง พื้นที่ติดแม่น้ำลำคลอง อาจได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขังน้ำลันตลิ่ง พื้นที่ลาดเชิงเขา อาจได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและดินถล่ม ทั้งนี้ให้บูรณาการกำลังทุกภาคส่วน เตรียมพร้อม เครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักรกลสาธารณภัย ในการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง ตลอดจนประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ และแจ้งเตือนประชาชนให้ทราบในทุกช่องทาง






นราธิวาสน้ำท่วม กระทบ 119 ครัวเรือน เร่งช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน [ CH7HD News : 23 พ.ย. 2566 17.08 น. ]


น้ำท่วมหนักนราธิวาส กระทบแล้ว 1 ตำบล 3 หมู่บ้าน 119 ครัวเรือน ทหารพรานนำกำลังเข้าช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน
นราธิวาสน้ำท่วม วันนี้(23 พ.ย.2566) พันเอกสุรศักดิ์ พึ่งแย้ม ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 45 เปิดเผยว่า ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส หลายวันที่ผ่านมา ล่าสุดในพื้นที่อำเภอระแงะ ซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยฯ มี

ประชาชนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยแล้ว 1 ตำบล 3 หมู่บ้าน 119 ครัวเรือน 469 คน

พันเอกสุรศักดิ์ จึงนำกำลังพลลงพื้นที่เยี่ยมให้กำลังใจประชาชนที่บ้านร่อน หมู่ที่ 2 ตำบลตันหยงมัส หมู่ที่ 7 ตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ พร้อมมอบสิ่งของต่าง ๆ ทั้งข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่ม ยาสามัญประจำ

บ้านพระราชทานเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น อีกทั้งได้จัดกำลังพลช่วยขนย้ายทรัพย์สิน สัตว์เลี้ยง ขึ้นในที่ปลอดภัย ทั้งนี้ได้สั่งการให้ทุกกองร้อยในสังกัด ติดตามสถานการณ์น้ำฝน/น้ำท่า เพื่อแจ้งเตือนประชาชน ที่สำคัญให้เตรียมความพร้อมเพื่อช่วยประชาชนได้อย่างทันท่วงที






สรุปน้ำท่วม ชุมพร-ปัตตานี เดือดร้อนกว่า 450 ครัวเรือน เร่งช่วยเหลือ [ กรุงเทพธุรกิจ : 26 พ.ย. 2566 15.43 น. ]


ปภ.รายงาน สรุปน้ำท่วม มีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ 2 จังหวัด เร่งประสานการให้ความช่วยเหลือประชาชนและสำรวจความเสียหายในพื้นที่

วันนี้ (26 พ.ย. 66) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงาน สรุปน้ำท่วม มีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ 2 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร และปัตตานี รวม 5 อำเภอ 12 ตำบล บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 450 ครัวเรือน เร่งประสานการให้ความช่วยเหลือประชาชนและสำรวจความเสียหายในพื้นที่

นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ในช่วงนี้พื้นที่ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่งผลให้เกิดสถานการณ์

น้ำท่วมในพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร และปัตตานี รวม 5 อำเภอ 12 ตำบล บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 450 ครัวเรือน แยกเป็น

1) ชุมพร น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอละแม อำเภอหลังสวน และอำเภอพะโต๊ะ รวม 6 ตำบล ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ ระดับน้ำทรงตัว

2) ปัตตานี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปัตตานี และอำเภอหนองจิก รวม 6 ตำบล บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 450 ครัวเรือน ระดับเพิ่มขึ้น

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เร่งระบายน้ำ และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย รวมถึงจัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจและจัดทำบัญชีความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป

ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และ สายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT”






ฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ล่าสุดเกิดน้ำท่วมฉับพลันใน 2 อำเภอ [ กรมประชาสัมพันธ์ : 27 พ.ย. 2566 15.53 น. ]


นายบุญเรือง หลงละลวด หัวหน้าสำนักงาน ปภ.สุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ห้วงวันที่ 26 - 27 พฤศจิกายน 2566 เกิดฝนตกหนัก คลื่นลมแรงและน้ำทะเลหนุนสูงในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน จำนวน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ และอำเภอดอนสัก รวม 9 ตำบล 36 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับผลกระทบ จำนวน 1,750 ครัวเรือน 5,985 คน

โดยพื้นที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน จำนวน 7 ตำบล 33 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับผลกระทบ 1,430

ครัวเรือน 5,005 คน ขณะที่อำเภอดอนสัก เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน จำนวน 2 ตำบล 3 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับผลกระทบ 320 ครัวเรือน 980 คน ล่าสุดหน่วยงานภาครัฐ เอกชน จิตอาสา และผู้เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว ขณะที่สภาพอากาศขณะนี้ ท้องฟ้ามืดครึ้ม ปริมาณน้ำลดลง แต่ยังคงมีฝนตกในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ด้านศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ อุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้การนำของนายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่า

ราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เน้นย้ำแจ้งเตือนให้ทุกอำเภอและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และคลื่นลมแรง ตั้งแต่วันที่ 25 - 27 พฤศจิกายน 2566 และเร่งสำรวจความเสียหาย เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทุกด้าน รวมทั้งจัดเตรียมความพร้อม เครื่องมืออุปกรณ์ เครื่องจักรกลยุทโธปกรณ์ กำลังพล พร้อมให้ความช่วยเหลือ เมื่อได้รับการร้องขอ และจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตาม สถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง ตลอด 24 ชั่วโมง






ฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ล่าสุดเกิดน้ำเอ่อล้นท่วมพื้นที่ราบลุ่มใน 5 อำเภอ ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนกว่า 300 ครัวเรือน [ กรมประชาสัมพันธ์ : 28 พ.ย. 2566 ]


จากสภาพฝนที่ตกหนักต่อเนื่อง ในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ตั้งแต่วันที่ 25 จนถึงวันนี้ 27 พฤศจิกายน 2566 โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอแนวภูเขาบรรทัด อำเภอป่าบอน อำเภอตะโหมด อำเภอกงหรา อำเภอศรีนครินทร์ และอำเภอศรีบรรพต ส่งผลให้น้ำไหลหลากลงสู่ลำคลองต่างๆ และเอ่อล้นออกจากลำคลองเกิดภาวะน้ำท่วมพื้นที่ราบลุ่ม 5 อำเภอ คืออำเภอเมือง อำเภอควนขนุน อำเภอเขาชัยสน อำเภอบางแก้ว และอำเภอปากพะยูน 29 ตำบล 145 หมู่บ้าน เบื้องต้นประชาชนได้รับความเดือนร้อน กว่า 300 ครัวเรือน บางพื้นที่ระดับน้ำเฉลี่ย สูง 40-80 เซนติเมตร สถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดพัทลุง สามารถตรวจวัดปริมาณน้ำฝนได้ 130.6 มม.

ขณะที่ชาวบ้านตำบลปรางหมู่กล่าวว่า ฝนที่ตกหนักในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ทำให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนชาวบ้าน ได้รับความเดือดร้อนหลายสิบครัวเรือน โดยน้ำได้ไหลเข้าท่วมเมื่อรุ่งสางของวันนี้ (27 พ.ย.66 ) ชาวบ้านในพื้นที่บางส่วนไม่สามารถเก็บข้าวของได้ทันท่วงที ทำให้เกิดความเสียหายบางส่วน ขณะที่ชาวบ้านในพื้นที่ ในอำเภอปากพะยูนร่วมแห่กฐินท่ามกลางสภาพน้ำที่ท่วมขัง ส่วนที่บริเวณพื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุนนั้น ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่ถูกน้ำท่วมซ้ำซาก และในวันนี้น้ำได้เริ่มไหลบ่าออกจากลำคลองท่าแนะ เป็นระลอกที่ 2 หากในพื้นที่ยังสภาพฝนตกต่อเนื่อง และหากฝนตกหนักบนภูเขาบรรทัด ก็จะทำให้มีปริมาณไหลบ่าออกจากลำคลองเพิ่มมากขึ้น และ

ระดับจะสูง ซึ่งจะผลให้ชาวบ้านได้รับความเดือนกว่า 40 ครัวเรือนอีกครั้ง

ขณะเดียวกันวันนี้ นางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดพัทลุง นายอำเภอ และผู้นำท้องถิ่น ลงพื้นที่น้ำท่วม และเยี่ยมผู้ประสบภัยหมู่ที่ 5 และ 7 ตำบลโคกทราย อำเภอป่าบอน และพื้นที่อำเภอปากพะยูน เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในระยะยาวต่อไป