เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รายงานสถานการณ์หย่อมความกดอากาศต่่าก่าลังแรงที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมาก
ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายนถึง 6 ธันวาคม 2566 ทำให้มีน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ ยะลา นราธิวาส ตรัง สุราษฎร์ธานี สงขลา นครศรีธรรมราช พัทลุง ชุมพร ปัตตานีและระนอง รวมทั้งสิ้น 67 อำเภอ 348 ตำบล 2,214 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ
130,529 ครัวเรือน ณ วันที่รายงานยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ สงขลา นครศรีธรรมราชและพัทลุง รวมทั้งสิ้น 8 อำเภอ 55 ตำบล 334 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 52,322 ครัวเรือน รายละเอียดดังนี้
1) จังหวัดสงขลา วันที่ 26 พฤศจิกายน 2566 เกิดฝนตกต่อเนื่องทำให้มีน้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ อ.กระแสสินธุ์ อ.ระโนด อ.สทิงพระ ส่งผลให้ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,021 ครัวเรือน โดยศูนย์
ปภ.เขต 12 สงขลา สนง.ปภ.จ. อำเภอ หน่วยทหาร จนท.ตร. อปท. จิตอาสา อส. อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าส่ารวจความเสียหายและ
ให้การช่วยเหลือ ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำริมทะเลสาบสงขลา ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสูบน้ำออกจากพื้นที่
2) จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 26 พฤศจิกายน 2566 เกิดฝนตกต่อเนื่องและมีน้ำทะเลหนุนทำให้มีน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำของ อ.ปากพนัง และน้ำจาก จ.ตรัง จ.พัทลุง ไหลเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำของ
อ.ชะอวด ส่งผลให้ประชาชน ได้รับผลกระทบ 48,131 ครัวเรือน โดยศูนย์ ปภ.เขต 11 สุราษฎร์ธานี สนง.ปภ.จ. อำเภอ หน่วยทหาร จนท.ตร. อปท. จิตอาสา อส. อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิพร้อมหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหาย และให้การช่วยเหลือ ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำและพื้นที่ทางการเกษตร ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อการดำรงชีพของประชาชน
3) จังหวัดพัทลุง วันที่ 26 พฤศจิกายน 2566 เกิดฝนตกต่อเนื่องทำให้มีน้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ อ.ควนขนุน อ.เมืองพัทลุง อ.เขาชัยสน ส่งผลให้ประชาชนได้รับผลกระทบ 170 ครัวเรือน โดย สนง.ปภ.จ.
อำเภอ หน่วยทหาร จนท.ตร. อปท. จิตอาสา อส. อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหาย และให้การช่วยเหลือ ศูนย์ ปภ.เขต 11 สุราษฎร์ธานี สนับสนุนรถผลิตน้ำดื่ม
แจกจ่ายน้ำดื่ม 6,000 ขวด สภากาชาดไทยสนับสนุนชุดธารน้ำใจ 2,300 ชุด ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำบางพื้นที่