พายุที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย
ข้อมูลเส้นทางพายุปี 2565  

ปี 2565 มีพายุเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยเพียงลูกเดียว คือ พายุไต้ฝุ่น “โนรู” (NORU) เริ่มก่อตัวขึ้นเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 หลังจากนั้นได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต่อมาในช่วงเช้าของวันที่ 22 กันยายน 2565 พายุดังกล่าวได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันและเพิ่มระดับเป็นพายุโซนร้อนในวันเดียวกัน ซึ่งหลังจากทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน พายุดังกล่าวได้เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนตัวจากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกอย่างต่อเนื่อง แล้วทวีกำลังขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นในวันที่ 24 กันยายน 2565 และเพิ่มกำลังแรงต่อเนื่องเป็นซุปเปอร์ไต้ฝุ่นในวันเดียวกัน ก่อนเคลื่อนตัว

ผ่านตอนบนของประเทศฟิลิปปินส์ แล้วลดกำลังลงเป็นพายุไต้ฝุ่นอีกครั้งในวันที่ 25 กันยายน 2565 ขณะเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ ซึ่งต่อมาในวันที่ 27 กันยายน 2565 พายุได้เพิ่มกำลังขึ้นเป็นซุปเปอร์ไต้ฝุ่นอีกครั้งในวันที่ 27 กันยายน 2565 แล้วลดกำลังลงเป็นพายุไต้ฝุ่นในวันเดียวกันก่อนเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองฮอยอัน ประเทศเวียดนามในช่วงเช้าของวันที่ 28 กันยายน 2565 หลังจากนั้นได้เคลื่อนผ่านประเทศลาวพร้อมลดกำลังลงเป็นพายุพายุโซนร้อนและลดกำลังลงต่อเนื่องเป็นพายุดีเปรสชัน ก่อน เคลื่อนเข้าประเทศไทยบริเวณ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ในช่วงค่ำของวันที่ 28 กันยายน 2565 ในขณะที่ยังเป็นพายุดีเปรสชัน หลังจากนั้นได้เคลื่อน

ตัวผ่านจังหวัดอำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น แล้วอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณจังหวัดชัยภูมิในช่วงค่ำของวันที่ 29 กันยายน 2565 ซึ่งอิทธิพลของพายุส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากในบริเวณที่พายุเคลื่อนตัวผ่านรวมถึงบริเวณใกล้เคียง นอกจากนี้อิทธิพลของพายุยังส่งผลทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังแรง ส่งผลทำให้ภาคใต้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะทางด้านตะวันตกของภาคที่มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่



นอกจากพายุดีเปรสชันโนรูแล้ว ประเทศไทยยังได้รับอิทธิพลจากพายุอีก 19 ลูก ที่ถึงแม้จะไม่ได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย แต่อิทธิพลของพายุส่งผลต่อสภาพอากาศ ทำให้มีฝนตกเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย พายุที่สลายตัวไปในบริเวณประเทศเพื่อนบ้าน 5 ลูก ได้แก่
1) พายุดีเปรสชัน “BOB-02” (Depression 01W) เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 17-23 มีนาคม โดยสลายตัวไปในบริเวณตอนบนของประเทศพม่า

2) พายุดีเปรสชัน “01W” (Depression 01W) เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 29 มีนาคม – 1 เมษายน 2565 โดยสลายตัวไปในบริเวณตอนใต้ของประเทศลาว
3) พายุดีเปรสชัน “BOB-04” (Depression BOB04) เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 19-20 พฤษภาคม 2565 โดยสลายตัวไปในบริเวณตอนกลางของประเทศพม่า

4) พายุโซนร้อน “หมาอ๊อน” (MA-ON) เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 17-26 สิงหาคม 2565 โดยสลายตัวไปในบริเวณตอนบนของประเทศลาว
5) พายุโซนร้อน “เซินกา” (Tropical Storm SONCA) เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 12-15 ตุลาคม 2565 โดยสลายตัวไปในบริเวณตอนใต้ของประเทศลาว



นอกจากนี้ยังมีพายุที่เคลื่อนตัวเข้ามาในบริเวณทะเลจีนใต้ 6 ลูก ได้แก่
1) พายุไต้ฝุ่น “ชบา” (Typhoon CHABA) เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 25 มิถุนายน ถึง 4 กรฏาคม 2565
2) พายุดีเปรสชัน 08W [Depression 08W] เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 3-4 สิงหาคม 2565

3) พายุดีเปรสชัน “มู่หลาน” (Depression MULAN] เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 3-10 สิงหาคม 2565
4) พายุไต้ฝุ่น “นาลแก” [Typhoon NALGAE] เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 24 ตุลาคม ถึง 3 พฤศจิกายน 2565

5) พายุไต้ฝุ่น “เนสาท” (Typhoon NESAT) เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 12-21 ตุลาคม 2565
6) พายุดีเปรสชัน 25W (Depression 25W) เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 18-23 ตุลาคม 2565


รวมถึงพายุที่เคลื่อนตัวอยู่บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอลอีก 8 ลูก ได้แก่
1) พายุดีเปรสชัน BOB-01 [Depression BOB-01] เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 2-6 มีนาคม 2565
2) พายุไซโคลน “อัสนี” (Cyclone ASANI) เกิดขึ้นในช่วง 5-12 พฤษภาคม 2565
3) พายุดีเปรสชัน BOB-05 (Depression BOB-05) เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 5-9 สิงหาคม 2565

4) พายุดีเปรสชัน BOB-07 (Depression BOB-07) เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 17-20 สิงหาคม 2565
5) พายุโซนร้อน “สีตรัง” (Tropical Storm SITRANG) เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 21-24 ตุลาคม 2565
6) พายุโซนร้อน “มันดุส” [Tropical Storm MANDOUS) เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 4-11 ธันวาคม 2565

7) พายุดีเปรสชัน BOB-08 (Depression BOB-08) เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 19-23 พฤศจิกายน 2565
8) พายุดีเปรสชัน BOB-10 (Depression BOB-10) เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 15-26 ธันวาคม 2565



แผนภาพแสดงช่วงเวลาที่เกิดพายุแต่ละลูกในปี 2565 (เฉพาะพายุที่ส่งผลกระทบกับประเทศไทยรวมถึงพายุที่เคลื่อนเข้ามาสู่บริเวณทะเลจีนใต้ ทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล)

หากเปรียบเทียบจำนวนพายุในปี 2565 กับสถิติพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยในรอบ 72 ปี (2494-2564) จะเห็นได้ว่า ปี 2565 มีพายุเคลื่อนเข้ามาในประเทศไทยเพียง 1 ลูกเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ย 2 ลูก นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี 2540 พายุที่เคลื่อนตัวเข้ามายังประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโดยมีปีที่จำนวนพายุเท่ากับค่าเฉลี่ย

เพียง 6 ปี เท่านั้น และหากพิจารณาข้อมูลเป็นรายเดือน พบว่า เดือนที่มีพายุเคลื่อนเข้ามาในประเทศไทยมากที่สุดคือ เดือนตุลาคม ซึ่งมีพายุที่เคลื่อนเข้ามาทั้งหมด 56 ลูก รองลงมาคือ เดือนกันยายนและเดือนพฤศจิกายน โดยมีจำนวนพายุที่เคลื่อนเข้ามาทั้งหมด 54 และ 31 ลูก ตามลำดับ ทั้งนี้พายุที่เคลื่อนตัวเข้ามาในประเทศไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับดีเปรสชัน ซึ่งมีเคลื่อน

เข้ามาในประเทศไทยทั้งหมดถึง 187 ลูก ต่างจากพายุที่เคลื่อนเข้าไทยในระดับพายุโซนร้อนที่มีเพียง 18 ลูกเท่านั้น และมีพายุที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยในระดับพายุไต้ฝุ่นเพียงลูกเดียวเท่านั้นในรอบ 72 ปี คือ พายุ “เกย์” ที่เคลื่อนเข้าภาคใต้ของไทยในปี 2532