ปริมาณฝนรายปี - ทั้งประเทศ
เปรียบเทียบข้อมูลสถิติฝนรายปีย้อนหลังในรอบ 40 ปี

ปี 2565 ประเทศไทยมีฝนตกเฉลี่ย 1,848 มิลลิเมตร มากกว่าปี 2564 ประมาณ 259 มิลลิเมตร หรือมากกว่าปี 2564 ประมาณ 16% หากเทียบกับสถิติข้อมูลฝนรายปีย้อนหลังในรอบ 40 ปี พบว่าปี 2565 มีฝนตกมากกว่าปกติที่สุดถึง 23% ซึ่งหมายรวมถึงมากกว่าปี 2554 ที่ประเทศไทยเกิดอุทกภัย

รุนแรง ทั้งนี้ตลอด 40 ปี มีปีที่ฝนตกมากกว่าปกติอยู่ทั้งสิ้น 8 ปี ได้แก่ ปี 2537 2539 2542 2543 2554 2560 2564 และ ปี 2565 ส่วนปีที่ฝนตกอยู่ในเกณฑ์ปกติ มีทั้งหมด 15 ปี ได้แก่ ปี 2526 2528 2531 2533 2538 2544 2545 2549 2550 2551 2553 2555 2556 2559

และ 2561 ส่วนปีที่ฝนตกน้อยกว่าปกติ มีทั้งหมด 17 ปี ได้แก่ ปี 2527 2529 2530 2532 2534 2535 2536 2540 2541 2546 2547 2548 2552 2557 2558 2562 และปี 2563



หมายเหตุ : วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั่งประเทศย้อนหลัง 40 ปี โดยเทียบกับค่าปกติ (ค่าเฉลี่ยฝน 30 ปี ในช่วงปี 2534-2563) ซึ่งมีการประมาณค่าปริมาณฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา


นอกจากนี้ หากเปรียบเทียบเทียบข้อมูลฝนในช่วง 40 ปี โดยแบ่งเป็นช่วงครึ่งแรกและช่วงครึ่งหลัง จะเห็นได้ว่าในช่วงครึ่งหลังฝนของประเทศไทยมีความแปรปรวนค่อนข้างสูง โดยในช่วงปี 2547-2548 ฝนตกน้อยและเกิดภัยแล้งรุนแรงบริเวณภาคตะวันออกของประเทศไทย ต่อมาในช่วงปี 2552 - 2553 เกิดฝนตกน้อยอีกครั้ง ส่งผลทำให้เกิดภัยแล้งรุนแรงในหลายพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งตรงกันข้ามกับปีต่อมาที่มีฝนตกมากกว่าปกติค่อนข้างมาก ส่งผลทำให้เกิดมหาอุทกภัยในปี 2554 น้ำท่วมในทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคกลาง ซึ่งปีนี้เป็นปีที่โลกเกิดปรากฎการณ์ลานินาอยู่ในช่วงกำลังปานกลางจนถึงกำลังแรง ทั้งนี้ปรากฎการณ์

ลานินามักจะส่งอิทธิพลทำให้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้น หลังจากนั้นอีก 2 ปี ได้เกิดฝนตกน้อยผิดปกติต่อเนื่องในปี 2557-2558 ส่งผลทำให้เกิดภัยแล้งรุนแรงขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะปี 2558 ที่มีฝนตกน้อยที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยน้อยกว่าปกติถึง 17% ซึ่งปีนี้ได้เกิดปรากฎการณ์เอลนิโนกำลังแรงมาก (Very Strong Elnino/Super Elnino) ซึ่งปรากฎการณ์เอลนิโนมักจะส่งอิทธิพลทำให้ฝนตกน้อยลง แต่หลังจากนั้นอีกเพียงปีเดียวกลับเกิดฝนตกมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ขึ้นอีกครั้งในปี 2560 ปริมาณฝนใกล้เคียงกับปี 2554 แต่ต่อมาในปี 2561 ปริมาณฝนกลับลดลงอย่างมาก และลดลงต่อเนื่องจนถึงปี 2562 ที่ฝนตกน้อยที่สุดทำลายสถิติปี 2558 โดยปี 2562 มี

ฝนตกน้อยกว่าปกติถึง 19% ซึ่งปีนี้เป็นปีที่เกิดปรากฏการณ์เอลนีโนกำลังอ่อน (Weak Elnino) โดยสภาวะฝนตกน้อยยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงช่วงกลางปี 2563 ที่ถึงแม้ปริมาณฝนในภาพรวมทั้งประเทศจะใกล้เคียงปกติ แต่พื้นที่ตอนบนของประเทศฝนตกน้อยมาก หลังจากผ่านสภาวะฝนตกค่อนข้างน้อยต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 จนถึง 2563 เมื่อเข้าสู่ปี 2564 จนถึงปี 2565 ฝนกลับตกมากกว่าปกติ ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวได้เกิดปรากฎการณ์ลานินากำลังอ่อนถึงกำลังปานกลาง ซึ่งมักจะส่งผลทำให้เกิดฝนตกเพิ่มขึ้น ซึ่งในปี 2565 มีฝนตกมากที่สุดทำลายสถิติของปี 2554 และปี 2560


ตารางแสดงระดับความแรงของการเกิดปรากฎการณ์เอนิโนและลานินา
ที่มา : https://ggweather.com/enso/oni.htm


กราฟแสดงการเกิดปรากฎการณ์เอลนิโนและลานินาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ที่มา : https://ggweather.com/enso/oni.htm

ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น เห็นได้ชัดว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นกับฝนของประเทศไทยในช่วง 20 ปีหลัง ทั้งในเรื่องของปริมาณฝน ที่ช่วง 20 ปีแรก ปริมาณฝนที่ตกในแต่

ละปีมักจะมากกว่าปกติไม่เกิน 10% แต่ในช่วง 20 ปีหลัง มีฝนตกมากกว่าปกติเกิน 20% เกิดขึ้นถึง 3 ปี คือ ปี 2554 2560 รวมถึงปี 2565 นอกจากนี้ฝนที่ตกน้อยกว่า

ปกติที่สุดที่เกิดขึ้นในปี 2562 ก็อยู่ในช่วง 20 ปีหลังด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ฝนที่ตกน้อยกว่าปกติและฝนที่ตกมากกว่าปกติ มีการเกิดสลับกันถี่มากขึ้นด้วย




ปริมาณฝนรายปี - รายภาค
เปรียบเทียบข้อมูลสถิติฝนรายปีย้อนหลังในรอบ 40 ปี

ปี 2565 ประเทศไทยมีฝนตกมากกว่าปกติทุกภาค และเมื่อเปรียบเทียบปริมาณฝนรายปีย้อนหลังของแต่ละภาคในรอบ 40 ปี (2526 ถึง 2565) พบว่า
ภาคเหนือ มีฝนตก 1,565 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 25% มากเป็นอันดับที่ 2 รองจากปี 2554 ซึ่งต่างจากปีที่แล้วที่มีฝนตกมากกว่าปกติเพียง 8%
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตก 1,766 มิลลิเมตร มากกว่าปกติถึง 27% ซึ่งมากที่สุดเมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ

40 ปี และเพิ่มเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ค่อนข้างมาก
ภาคกลาง มีฝนตก 1,520 มิลลิเมตร มากกว่าปกติถึง 24% ซึ่งมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากปี 2542 และเพิ่มเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ประมาณ 10%
ภาคตะวันออก มีฝนตก 2,192 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 20% ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 2 รองจากปี 2526 และเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ประมาณ 4%

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนตก 2,580 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 19% ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 2 รองจากปี 2560 ซึ่งต่างจากปี 2564 ที่ปริมาณฝนอยู่ในเกณฑ์ปกติค่อนไปทางฝนน้อย
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตก 3,026 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 13% ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 2 รองจากปี 2560 และมากกว่าปีที่แล้วประมาณ 10%































หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา และคำนวณค่าฝนปกติโดยใช้ข้อมูลฝนในช่วงปี 2534-2563)