ช่วงวันที่ 1-3 ธันวาคม 2559 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงได้เคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทยและตอนบนของประเทศมาเลเซีย หลังจากนั้นได้เคลื่อนตัวลงสู่ทะเลอันดามัน และทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในวันที่ 6 ธันวาคม 2559 ประกอบกับช่วงเวลาดังกล่าว มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในหลายพื้นที่ของภาคใต้ โดยเฉพาะทางด้านตะวันออกของภาค

         จากรายงานของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย มีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 13 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง และประจวบคีรีขันธ์ รวม 96 อำเภอ 652 ตำบล 4,806 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 256,270 ครัวเรือน 759,064 คน มีผู้เสียชีวิต 28 ราย ประกอบด้วย จังหวัดนครศรีธรรมราช 10 ราย ปัตตานี 5 ราย สุราษฎร์ธานี 4 ราย สงขลา 4 ราย พัทลุง 2 ราย ประจวบคีรีขันธ์ 1 ราย ตรัง 1 ราย สูญหาย 1 ราย ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี บาดเจ็บสาหัส 1 ราย ที่จังหวัดสงขลา  สิ่งสาธารณประโยชน์ได้รับความเสียหาย ดังนี้ สถานที่ราชการ 5 แห่ง ถนน 2,142 จุด คอสะพาน 157 แห่ง ท่อระบายน้ำ 90 แห่ง ฝาย 89 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง ประตูระบายน้ำ 1 แห่ง แนวกันคลื่น 1 แห่ง โรงเรียน 77 แห่ง วัด 41 แห่ง มัสยิด 6 แห่ง  จังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว จำนวน 7 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดกระบี่ ยะลา นราธิวาส ระนอง ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร จังหวัดที่ยังคงได้รับผลกระทบ จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สงขลา และพัทลุง รวม 15 อำเภอ 85 ตำบล 598 หมู่บ้าน (รายงานประจำวันที่ 13 ธันวาคม 2559)

         สำหรับรายงานพื้นที่ถูกน้ำท่วม ดาวเทียม COSMO-SkyMed-4 RADARSAT-1 และ RADARSAT-2 ได้บันทึกภาพบริเวณบางส่วนของภาคใต้  ช่วงวันที่ 3-8 ธันวาคม 2559 และจากการวิเคราะห์ภาพจากดาวเทียมพบพื้นที่ถูกน้ำท่วมทั้งสิ้น 7 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดตรัง นครศรีธรรมราช ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา และสุราฏร์ธานี รวมพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 451,321 ไร่  โดยจังหวัดนครศรีธรรมราชมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 233,694 ไร่ คิดเป็น 52% ของพื้นที่น้ำท่วมทั้งหมด รองลงมาคือจังหวัดสงขลา และพัทลุง ที่มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 112,564 และ 60,087 ไร่ ตามลำดับ                 
 
         ถึงแม้อิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงรวมทั้งมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังลังแรง จะส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของภาคใต้ ซึ่งทำให้ปริมาณน้ำท่าเพิ่มสูงขึ้นและเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ แต่ฝนที่ตกหนักส่วนใหญ่อยู่บริเวณใกล้ชายฝั่งทะเล ซึ่งอยู่นอกพื้นที่รับน้ำเหนือเขื่อนรัชชประภาและเขื่อนบางลาง จึงทำให้ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนมีไม่มากนัก ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมช่วงวันที่ 30 พฤศจิกายน – 10 ธันวาคม 2559 ของเขื่อนรัชชประภาและเขื่อนบางลาง มีเพียง 74 และ 57 ล้านลูกบากศก์เมตร เท่านั้น



 




ข้อมูลโดย : Kochi University

                    ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม Himawari-8 แสดงให้เห็นว่าอิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำที่เคลื่อนตัวผ่านอ่าวไทย ภาคใต้และทะเลอันดามัน ส่งผลให้ช่วงวันที่ 1-10 ธันวาคม 2559 มีกลุ่มเมฆปกคลุมบริเวณดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงวันที่ 1-5 ธันวาคม 2559 ที่มีกลุ่มเมฆค่อนข้างหนาปกคลุมพื้นที่ภาคใต้ ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมในหลายพื้นที่โดยเฉพาะทางด้านฝั่งตะวันออกของภาค บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี และยะลา


1/12/59 11GMT

2/12/59 11GMT

3/12/59 11GMT

4/12/59 11GMT

5/12/59 11GMT

6/12/59 11GMT

7/12/59 11GMT

8/12/59 11GMT

9/12/59 11GMT

10/12/59 11GMT

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/TyphoonTracking/Goes9.php




 ข้อมูลโดย : กรมอุตุนิยมวิทยา          


                    หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงได้เคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทยและตอนบนของประเทศมาเลเซียในช่วงวันที่ 1-3 ธันวาคม 2559 ก่อนเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลอันดามัน และทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในวันที่ 6 ธันวาคม 2559 ประกอบกับช่วงเวลาดังกล่าว มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในหลายพื้นที่ของภาคใต้ โดยเฉพาะทางด้านตะวันออกของภาค


1/12/59

2/12/59

3/12/59

4/12/59

5/12/59

6/12/59

7/12/59

8/12/59

9/12/59

10/12/59

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/hmain.php?page=/TyphoonTracking/show_weather_map.php




 ข้อมูลโดย : สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)

                    แผนที่แสดงความกดอากาศที่ระดับความสูง 1.5 กิโลเมตรจากระดับน้ำทะเล แสดงให้เห็นถึงหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง (บริเวณพื้นที่สีเขียว) ที่เคลื่อนตัวเข้าปกคลุมภาคใต้ตอนล่างชองไทยและประเทศมาเลเซีย ก่อนเคลื่อนตัวลงทะเลอันดามันและทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุ


1/12/59

2/12/59

3/12/59

4/12/59

5/12/59

6/12/59

7/12/59

8/12/59

9/12/59

10/12/59

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://live1.hii.or.th/wrf_image/weather_map.php, http://live1.hii.or.th/wrf_image/weather_map_latest.php?img=pressure_upperwind_1500m_low_latest.flv




 ข้อมูลโดย : สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)

                    ภาพแผนที่แสดงความเร็วลมที่ระดับความสูง 1.5 กิโลเมตร จากระดับน้ำทะเล แสดงให้เห็นว่าอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่มีกำลังแรง ส่งผลให้เกิดลมแรงในพื้นที่ภาคใต้ อ่าวไทย และทะเลอันดามัน โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 2-6 ธันวาคม 2559 ความเร็วลมสูงสุดประมาณ 70-80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง


1/12/59

2/12/59

3/12/59

4/12/59

5/12/59

6/12/59

7/12/59

8/12/59

9/12/59

10/12/59



ข้อมูลเพิ่มเติม : http://live1.hii.or.th/wrf_image/weather_map.php, http://live1.hii.or.th/wrf_image/weather_map_latest.php?img=pressure_upperwind_1500m_low_latest.flv




ข้อมูลโดย : Ocean Weather Inc.

                    แผนภาพแสดงความสูงของคลื่นและทิศทางของคลื่นแสดงให้เห็นว่า จากอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่เคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทยตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยมีกำลังแรง ส่งผลให้ความสูงของคลื่นทะเลเพิ่มขึ้นเป็น 2-4 เมตร ในช่วงวันที่ 1-4 ธันวาคม 2559 หลังจากนั้นความสูงของคลื่นได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง


1/12/59 06.00

2/12/59 06.00

3/12/59 06.00

4/12/59 06.00

5/12/59 06.00

6/12/59 06.00

7/12/59 06.00

8/12/59 06.00

9/12/59 06.00

10/12/59 06.00



ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/show_wave.php?zone=Ind




 ข้อมูลโดย : กรมอุตุนิยมวิทยา

                    เครือข่ายภาพเรดาร์ตรวจวัดปริมาณฝนของกรมอุตุนิยมวิทยาในพื้นที่ภาคใต้ ได้แก่ เรดาร์ชุมพร เรดาร์ภูเก็ต และเรดาร์นราธิวาส ตรวจพบกลุ่มฝนบริเวณอ่าวไทยเคลื่อนตัวเข้าปกคลุมภาคใต้อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 1-10 ธันวาคม 2559 โดยเฉพาะช่วงวันที่ 1-6 ธันวาคม 2559 ที่มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่โดยเฉพาะทางด้านตะวันออกของภาคบริเวณจังหวัดปัตตานี สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร หลังจากนั้นปริมาณฝนเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง

เรดาร์ชุมพร

1/12/59 22:38GMT

2/12/59 19:38GMT

3/12/59 07:38GMT

4/12/59 17:38GMT

5/12/59 02:38GMT

6/12/59 04:38GMT

7/12/59 03:38GMT

8/12/59 10:38GMT

9/12/59 16:38GMT

10/12/59 10:38GMT

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_cmpradar.php

เรดาร์ภูเก็ต

1/12/59 22:30GMT

2/12/59 07:30GMT

3/12/59 05:30GMT

4/12/59 03:30GMT

5/12/59 02:30GMT

6/12/59 20:30GMT

7/12/59 03:30GMT

8/12/59 08:30GMT

9/12/59 14:30GMT

10/12/59 08:30GMT
dBz
ข้อมูลเพิ่มเติม :
http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_pkt240radar.php

เรดาร์นราธิวาส

1/12/59 16:30GMT

2/12/59 09:45GMT

3/12/59 04:30GMT

4/12/59 22:45GMT

5/12/59 14:00GMT

6/12/59 01:30GMT

7/12/59 19:15GMT

8/12/59 11:00GMT

9/12/59 10:15GMT

10/12/59 10:45GMT

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/thaiwater_l5/public/image/radar/tmd/nrt



 ข้อมูลโดย : สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)

          สถานีโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ตรวจวัดปริมาณฝนสะสมรายวัน ช่วงวันที่ 1-10 ธันวาคม 2559 พบฝนตกหนักในหลายพื้นที่ทางด้านตะวันออกของภาคใต้ โดยเฉพาะช่วงวันที่ 1-6 ธันวาคม 2559 ที่มีฝนตกหนักมากจนทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส ทั้งนี้สถานีที่ตรวจวัดปริมาณฝนได้เกิน 50 มิลลิเมตรต่อวัน แสดงดังตารางด้านล่าง ส่วนจังหวัดที่มีปริมาณฝนตกเกิน 100 มิลลิเมตรต่อวัน ประกอบด้วย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส


1/12/59

2/12/59

3/12/59

4/12/59

5/12/59

6/12/59

7/12/59

8/12/59

9/12/59

10/12/59



วันที่
รหัสสถานี
ชื่อสถานี
ตำบล
อำเภอ
จังหวัด
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.)
2016-12-01 STH030 ที่ทำการเกษตรอำเภอสายบุรี มะนังดาลำ สายบุรี ปัตตานี 308.2

NPCT เนินพิจิตร พิจิตร นาหม่อม สงขลา 224.6

STH028 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปัตตานี ตาเซะ เมืองยะลา ยะลา 200.2

STH013 ที่ทำการสำนักงานแขวงการทางนราธิวาส บางนาค เมืองนราธิวาส นราธิวาส 187.4

STH029 ที่ทำการเกษตรอำเภอทุ่งยางแดง ตะโละแมะนา ทุ่งยางแดง ปัตตานี 185.8

KTUM เขาตูม เขาตูม ยะรัง ปัตตานี 154.8

MUNG บ้านป่าม่วง มะนังดาลำ สายบุรี ปัตตานี 149.6

STH017 โครงการชลประทานยะลา สะเตง เมืองยะลา ยะลา 141.0

STH003 ที่ว่าการอำเภอรามัน กายูบอเกาะ รามัน ยะลา 131.6

VLGE42 ชุมชนบ้านควน 2 พร่อน เมืองยะลา ยะลา 120.2

STH010 ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร ปาเสมัส สุไหงโกลก นราธิวาส 113.8

VLGE29 ชุมชนบ้านท่าด่าน ดอนรัก หนองจิก ปัตตานี 113.0

KABG กาบัง กาบัง กาบัง ยะลา 111.0

STH025 สำนักงานเกษตรอำเภอเจาะไอร้อง จวบ เจาะไอร้อง นราธิวาส 110.6

STH022 สวนสาธารณะเทศบาลตำบลรือเสาะ รือเสาะ รือเสาะ นราธิวาส 89.8

STH019 สถานีประปาอำเภอศรีสาคร ศรีสาคร ศรีสาคร นราธิวาส 88.8

STH026 ที่ว่าการอำเภอจะแนะ จะแนะ จะแนะ นราธิวาส 87.6

STH005 ที่ว่าการอำเภอระแงะ ตันหยงมัส ระแงะ นราธิวาส 87.4

KTLE ขุนทะเล ขุนทะเล ลานสกา นครศรีธรรมราช 86.8

STH014 ที่ว่าการอำเภอสุคีริน สุคิริน สุคิริน นราธิวาส 86.2

STH020 ปตร.ตุยง ตุยง หนองจิก ปัตตานี 82.0

CIHO โรงพยาบาลเจาะไอร้อง จวบ เจาะไอร้อง นราธิวาส 80.4

PPYM ป่าพยอม บ้านพร้าว ป่าพะยอม พัทลุง 77.0

STH004 สถานีตำรวจภูธรอำเภอกะพ้อ กะรุบี กะพ้อ ปัตตานี 74.6

TB0011 องค์การบริหารส่วนตำบลป่าพะยอม ป่าพะยอม ป่าพะยอม พัทลุง 68.4

VLGE35 ชุมชนบ้านเหมือง อัยเยอร์เวง เบตง ยะลา 67.6

KAOP อบต.เขาพระ เขาพระ รัตภูมิ สงขลา 65.0

STH016 สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดยะลา ธารโต ธารโต ยะลา 59.6

STH027 ที่ว่าการอำเภอไม้แก่น ไทรทอง ไม้แก่น ปัตตานี 52.6
2016-12-02 PPYM ป่าพยอม บ้านพร้าว ป่าพะยอม พัทลุง 151.0

TPPN เทศบาลเมืองท่าข้าม ท่าข้าม พุนพิน สุราษฎร์ธานี 147.0

KSOD อบต.คลองพา คลองพา ท่าชนะ สุราษฎร์ธานี 136.6

TB0011 องค์การบริหารส่วนตำบลป่าพะยอม ป่าพะยอม ป่าพะยอม พัทลุง 133.8

KTLE ขุนทะเล ขุนทะเล ลานสกา นครศรีธรรมราช 128.4

STH030 ที่ทำการเกษตรอำเภอสายบุรี มะนังดาลำ สายบุรี ปัตตานี 124.2

BSBA อบต.ควนสุบรรณ ลำพูน บ้านนาสาร สุราษฎร์ธานี 118.4

SMI004 พรุกระจูด ลิปะน้อย เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี 115.0

SMI002 ร้านภูสร้อยฟ้า หน้าเมือง เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี 111.4

KPTG เขาผ่าทอง มะเร็ต เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี 102.8

MUNG บ้านป่าม่วง มะนังดาลำ สายบุรี ปัตตานี 86.4

KAKG อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง ปากฉลุย ท่าฉาง สุราษฎร์ธานี 80.4

STH013 ที่ทำการสำนักงานแขวงการทางนราธิวาส บางนาค เมืองนราธิวาส นราธิวาส 79.4

BMDG บ้านควนไม้แดง ห้วยปริก ฉวาง นครศรีธรรมราช 78.2

BKHN อบต.บ้านลำนาว บ้านลำนาว บางขัน นครศรีธรรมราช 69.6

SMI003 พรุหน้าเมือง หน้าเมือง เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี 66.2

KKAO คลองหินขาว พรุไทย บ้านตาขุน สุราษฎร์ธานี 59.4

HYOD ห้วยยอด ห้วยยอด ห้วยยอด ตรัง 55.4

BBWN อบต.บางวัน บางวัน คุระบุรี พังงา 55.0

STH025 สำนักงานเกษตรอำเภอเจาะไอร้อง จวบ เจาะไอร้อง นราธิวาส 54.8

STH010 ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร ปาเสมัส สุไหงโกลก นราธิวาส 54.6

CBUR อบต.ชัยบุรี ชัยบุรี ชัยบุรี สุราษฎร์ธานี 53.4

VLGE09 ชุมชนบ้านทับคริสต์ คลองชะอุ่น พนม สุราษฎร์ธานี 50.8

VLGE40 บ้านทับคริสต์ คลองชะอุ่น พนม สุราษฎร์ธานี 50.8

BBHN บ้านบางหิน บางหิน กะเปอร์ ระนอง 50.0
2016-12-03 PPYM ป่าพยอม บ้านพร้าว ป่าพะยอม พัทลุง 168.6

STH030 ที่ทำการเกษตรอำเภอสายบุรี มะนังดาลำ สายบุรี ปัตตานี 167.6

TB0011 องค์การบริหารส่วนตำบลป่าพะยอม ป่าพะยอม ป่าพะยอม พัทลุง 152.2

SMI002 ร้านภูสร้อยฟ้า หน้าเมือง เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี 130.2

KPTG เขาผ่าทอง มะเร็ต เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี 118.4

SMI004 พรุกระจูด ลิปะน้อย เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี 117.2

MUNG บ้านป่าม่วง มะนังดาลำ สายบุรี ปัตตานี 103.6

KTLE ขุนทะเล ขุนทะเล ลานสกา นครศรีธรรมราช 93.4

SMI003 พรุหน้าเมือง หน้าเมือง เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี 78.8

TPPN เทศบาลเมืองท่าข้าม ท่าข้าม พุนพิน สุราษฎร์ธานี 74.4

HYOD ห้วยยอด ห้วยยอด ห้วยยอด ตรัง 56.0

STH013 ที่ทำการสำนักงานแขวงการทางนราธิวาส บางนาค เมืองนราธิวาส นราธิวาส 53.8

STH029 ที่ทำการเกษตรอำเภอทุ่งยางแดง ตะโละแมะนา ทุ่งยางแดง ปัตตานี 53.4
2016-12-04 TMLI ท่าไม้ลาย วังใหม่ เมืองชุมพร ชุมพร 118.6

SMI002 ร้านภูสร้อยฟ้า หน้าเมือง เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี 102.0

PPYM ป่าพยอม บ้านพร้าว ป่าพะยอม พัทลุง 101.0

KTLE ขุนทะเล ขุนทะเล ลานสกา นครศรีธรรมราช 88.8

KPTG เขาผ่าทอง มะเร็ต เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี 88.0

TB0011 องค์การบริหารส่วนตำบลป่าพะยอม ป่าพะยอม ป่าพะยอม พัทลุง 87.6

SMI004 พรุกระจูด ลิปะน้อย เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี 84.4

STH030 ที่ทำการเกษตรอำเภอสายบุรี มะนังดาลำ สายบุรี ปัตตานี 79.6

SMI003 พรุหน้าเมือง หน้าเมือง เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี 72.2

HJRN1 หงษ์เจริญ หงษ์เจริญ ท่าแซะ ชุมพร 64.2

MUNG บ้านป่าม่วง มะนังดาลำ สายบุรี ปัตตานี 54.2
2016-12-05 BSPN บางสะพานน้อย บางสะพาน บางสะพานน้อย ประจวบคีรีขันธ์ 136.0

BSVT วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน ทองมงคล บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 123.8

SMI004 พรุกระจูด ลิปะน้อย เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี 114.2

SMI002 ร้านภูสร้อยฟ้า หน้าเมือง เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี 105.2

KPTG เขาผ่าทอง มะเร็ต เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี 84.6

BPLA บ้านพาละ เขาไชยราช ปะทิว ชุมพร 82.2

HJRN1 หงษ์เจริญ หงษ์เจริญ ท่าแซะ ชุมพร 72.4

KTLE ขุนทะเล ขุนทะเล ลานสกา นครศรีธรรมราช 69.8

STH030 ที่ทำการเกษตรอำเภอสายบุรี มะนังดาลำ สายบุรี ปัตตานี 66.0

KSOD อบต.คลองพา คลองพา ท่าชนะ สุราษฎร์ธานี 64.2

SMI003 พรุหน้าเมือง หน้าเมือง เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี 63.0

TMLI ท่าไม้ลาย วังใหม่ เมืองชุมพร ชุมพร 62.6

BSBA อบต.ควนสุบรรณ ลำพูน บ้านนาสาร สุราษฎร์ธานี 51.0
2016-12-06 BSVT วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน ทองมงคล บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 112.4

SMI004 พรุกระจูด ลิปะน้อย เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี 89.2

KPTG เขาผ่าทอง มะเร็ต เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี 77.6

SMI003 พรุหน้าเมือง หน้าเมือง เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี 64.4

SMI002 ร้านภูสร้อยฟ้า หน้าเมือง เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี 61.2

STH025 สำนักงานเกษตรอำเภอเจาะไอร้อง จวบ เจาะไอร้อง นราธิวาส 56.2
2016-12-07 KPTG เขาผ่าทอง มะเร็ต เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี 86.2
2016-12-08 MUNG บ้านป่าม่วง มะนังดาลำ สายบุรี ปัตตานี 68.2
2016-12-09 KSOD อบต.คลองพา คลองพา ท่าชนะ สุราษฎร์ธานี 62.0

หมายเหตุ : รายงานเฉพาะปริมาณฝนสะสมรายวันที่ตรวจวัดได้เกิน 50 มิลลิเมตร
สีแดง หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ที่เกิน 100 มิลลิเมตร 
สีส้ม หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ระหว่าง 80-99 มิลลิเมตร 


ข้อมูลเพิ่มเติม : http://tiwrmdev.hii.or.th/Interpolated/ShowImg.php


สถานีบางสะพานน้อย ต. บางสะพาน อ. บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์

สถานีวิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน ต. ทองมงคล อ. บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์

สถานีเขาผ่าทอง ต. มะเร็ต อ. เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี

สถานี อบต.คลองพา ต. คลองพา อ. ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี

สถานีขุนทะเล ต. ขุนทะเล อ. ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช

สถานีบ้านป่าม่วง ต. มะนังดาลำ อ. สายบุรี จ.ปัตตานี

สถานีป่าพะยอม ต. บ้านพร้าว อ. ป่าพะยอม จ.พัทลุง

สถานีบ้านพระรัก ต. พะโต๊ะ อ. พะโต๊ะ จ.ชุมพร

สถานีท่าไม้ลาย ต. วังใหม่ อ. เมืองชุมพร จ.ชุมพร

สถานีเทศบาลเมืองท่าข้าม ต. ท่าข้าม อ. พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี
   
     

ภาพเคลื่อนไหวแสดงปริมาณฝนสะสม
 ช่วงวันที่ 1-7 ธันวาคม 2559






 ข้อมูลโดย : กรมอุตุนิยมวิทยา

          สถานตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา ตรวจวัดปริมาณฝนสะสมรายวัน ช่วงวันที่ 1-10 ธันวาคม 2559 พบฝนตกหนักในหลายพื้นที่ทางด้านตะวันออกของภาคใต้ โดยเฉพาะช่วงวันที่ 1-6 ธันวาคม 2559 ที่มีฝนตกหนักมากจนทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายจังหวัด ทั้งนี้สถานีที่ตรวจวัดปริมาณฝนได้เกิน 50 มิลลิเมตรต่อวัน แสดงดังตารางด้านล่าง ส่วนจังหวัดที่มีปริมาณฝนตกเกิน 100 มิลลิเมตรต่อวัน ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส



1/12/59

2/12/59

3/12/59

4/12/59

5/12/59

6/12/59

7/12/59

8/12/59

9/12/59

10/12/59

วันที่
สถานี
ตำบล
อำเภอ
จังหวัด
ปริมาณฝนรายวัน(มม.)
2016-12-02 สงขลา บ่อยาง เมืองสงขลา สงขลา 224.9
คอหงษ์ สกษ. คอหงส์ หาดใหญ่ สงขลา 223.4
ปัตตานี บ่อทอง หนองจิก ปัตตานี 219.2
นราธิวาส บางนาค เมืองนราธิวาส นราธิวาส 217.6
นครศรีธรรมราช สกษ. บางจาก เมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช 206.3
ยะลา สกษ. สะเตง เมืองยะลา ยะลา 153.3
พัทลุง สกษ. ลำปำ เมืองพัทลุง พัทลุง 130.6
หาดใหญ่ ทุ่งตำเสา หาดใหญ่ สงขลา 122.0
สะเดา ท่าโพธิ์ สะเดา สงขลา 120.2
นครศรีธรรมราช ปากพูน เมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช 84.9
สตูล คลองขุด เมืองสตูล สตูล 71.2
ตรัง โคกหล่อ เมืองตรัง ตรัง 68.0
2016-12-03 สุราษฎร์ธานี หัวเตย พุนพิน สุราษฎร์ธานี 274.1
นครศรีธรรมราช สกษ. บางจาก เมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช 260.4
นครศรีธรรมราช ปากพูน เมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช 255.6
สุราษฎร์ธานี สกษ. ท่าอุแท กาญจนดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี 214.0
พัทลุง สกษ. ลำปำ เมืองพัทลุง พัทลุง 120.0
นราธิวาส บางนาค เมืองนราธิวาส นราธิวาส 117.2
ฉวาง ฉวาง ฉวาง นครศรีธรรมราช 110.8
เกาะสมุย มะเร็ต เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี 89.9
สงขลา บ่อยาง เมืองสงขลา สงขลา 79.8
ตรัง โคกหล่อ เมืองตรัง ตรัง 74.0
2016-12-04 พัทลุง สกษ. ลำปำ เมืองพัทลุง พัทลุง 302.4
สงขลา บ่อยาง เมืองสงขลา สงขลา 180.8
นครศรีธรรมราช สกษ. บางจาก เมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช 157.3
นครศรีธรรมราช ปากพูน เมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช 154.3
สุราษฎร์ธานี สกษ. ท่าอุแท กาญจนดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี 120.1
เกาะสมุย มะเร็ต เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี 110.8
ตรัง โคกหล่อ เมืองตรัง ตรัง 77.6
สุราษฎร์ธานี หัวเตย พุนพิน สุราษฎร์ธานี 76.7
นราธิวาส บางนาค เมืองนราธิวาส นราธิวาส 73.4
พระแสง สอท. อิปัน พระแสง สุราษฎร์ธานี 72.9
ฉวาง ฉวาง ฉวาง นครศรีธรรมราช 62.8
2016-12-05 สวี สกษ. วิสัยใต้ สวี ชุมพร 135.1
นครศรีธรรมราช สกษ. บางจาก เมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช 121.7
นครศรีธรรมราช ปากพูน เมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช 120.5
ชุมพร ท่าตะเภา เมืองชุมพร ชุมพร 112.5
พัทลุง สกษ. ลำปำ เมืองพัทลุง พัทลุง 104.8
เกาะสมุย มะเร็ต เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี 85.3
2016-12-06 นครศรีธรรมราช สกษ. บางจาก เมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช 142.2
ชุมพร ท่าตะเภา เมืองชุมพร ชุมพร 135.7
นครศรีธรรมราช ปากพูน เมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช 104.6
สวี สกษ. วิสัยใต้ สวี ชุมพร 88.0
สุราษฎร์ธานี สกษ. ท่าอุแท กาญจนดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี 76.0
2016-12-07 เกาะสมุย มะเร็ต เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี 97.5
สวี สกษ. วิสัยใต้ สวี ชุมพร 71.0
นครศรีธรรมราช ปากพูน เมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช 53.6
2016-12-08 เกาะสมุย มะเร็ต เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี 63.7

หมายเหตุ : รายงานเฉพาะปริมาณฝนสะสมรายวันที่ตรวจวัดได้เกิน 50 มิลลิเมตร
สีแดง หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ที่เกิน 100 มิลลิเมตร 
สีส้ม หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ระหว่าง 80-99 มิลลิเมตร 


ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/tmd_daily.php





 ข้อมูลโดย : NARVAL, GSMaP

          แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา (NARVAL) ช่วงวันที่ 1-10 ธันวาคม 2559 พบว่ามีกลุ่มฝนตกหนักกระจุกตัวอยู่บริเวณภาคใต้ตั้งแต่ช่วงวันที่ 1-6 ธันวาคม 2559 หลังจากนั้นปริมาณฝนลดน้อยลง


1/12/59 00z

2/12/59 00z

3/12/59 00z

4/12/59 00z

6/12/59 00z

6/12/59 12z

7/12/59 12z

8/12/59 00z

9/12/59 12z

10/12/59 12z

mm.
ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/show_ssta.php

         แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวันจาก GSMaP ช่วงวันที่ 1-10 ธันวาคม 2559 พบว่ามีกลุ่มฝนตกหนักกระจุกตัวอยู่บริเวณภาคใต้ตั้งแต่ช่วงวันที่ 1-6 ธันวาคม 2559 โดยเริ่มตกหนักบริเวณตอนล่างของภาคและเคลื่อนตัวขึ้นสู่ตอนบนของภาค หลังจากนั้นปริมาณฝนลดน้อยลง


1/12/59

2/12/59

3/12/59

4/12/59

5/12/59

6/12/59

7/12/59

8/12/59

9/12/59

10/12/59

 





 ข้อมูลโดย : สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)

         จากรายงานการส่ง SMS เพื่อเตือนภัยปริมาณฝนช่วงวันที่ 1-10 ธันวาคม 2559 พบว่ามีการเตือนภัยปริมาณฝนในบริเวณที่เกิดฝนตกหนัก ทั้งในระดับการเฝ้าระวังสูงสุดและระดับวิกฤต รายละเอียดดังตารางด้านล่าง

วันที่
เวลา
ช่วงเวลาฝนสะสม
ตำบล/สถานี
จังหวัด ปริมาณฝนสะสม(มม.)
ระดับการเตือนภัย
1/12/2016 23:00:00 ฝน07-23น. ต.กายูบอเกาะ จ.ยะลา 100.4
เฝ้าระวังสูงสุด
  22:00:00 ฝน07-22น. ต.ตาเซะ จ.ยะลา 106.2
เฝ้าระวังสูงสุด
  22:00:00 ฝน07-22น. ต.เขาตูม จ.ปัตตานี 91.8
เฝ้าระวังสูงสุด
  21:00:00 ฝน07-21น. ต.มะนังดาลำ จ.ปัตตานี 158.8
วิกฤต
  21:00:00 ฝน07-21น. ต.ตะโละแมะนา จ.ปัตตานี 110.6
เฝ้าระวังสูงสุด
  19:00:00 ฝน07-19น. ต.บางนาค จ.นราธิวาส 134.6
เฝ้าระวังสูงสุด
  19:00:00 ฝน07-19น. ต.มะนังดาลำ จ.ปัตตานี 125
วิกฤต
  17:00:00 ฝน07-17น. ต.มะนังดาลำ จ.ปัตตานี 104
เฝ้าระวังสูงสุด
  17:00:00 ฝน07-17น. ต.มะนังดาลำ จ.ปัตตานี 100
เฝ้าระวังสูงสุด
  16:00:00 ฝน07-16น. ต.พิจิตร จ.สงขลา 136.8
วิกฤต
  14:00:00 ฝน07-14น. ต.พิจิตร จ.สงขลา 95.8
เฝ้าระวังสูงสุด
2/12/2016 23:00:00 ฝน07-23น. ต.ท่าข้าม จ.สุราษฎร์ธานี 121.2
วิกฤต
  23:00:00 ฝน07-23น. ต.ขุนทะเล จ.นครศรีธรรมราช 93.8
เฝ้าระวังสูงสุด
  23:00:00 ฝน07-23น. ต.ลำพูน จ.สุราษฎร์ธานี 94.8
เฝ้าระวังสูงสุด
  18:00:00 ฝน07-18น. ต.ท่าข้าม จ.สุราษฎร์ธานี 92.6
เฝ้าระวังสูงสุด
  14:00:00 ฝน3วัน ต.มะนังดาลำ จ.ปัตตานี 198
เฝ้าระวังสูงสุด
  10:00:00 ฝนวานนี้ สะเดา จ.สงขลา 120
วิกฤต
  9:00:00 ฝน3วัน ต.มะนังดาลำ จ.ปัตตานี 358.8
วิกฤต
  9:00:00 ฝน3วัน ต.ตะโละแมะนา จ.ปัตตานี 222.6
เฝ้าระวังสูงสุด
  9:00:00 ฝน3วัน ต.ตาเซะ จ.ยะลา 213.6
เฝ้าระวังสูงสุด
  9:00:00 ฝน3วัน ต.บางนาค จ.นราธิวาส 230
เฝ้าระวังสูงสุด
  9:00:00 ฝน3วัน ต.พิจิตร จ.สงขลา 245.4
วิกฤต
  9:00:00 ฝน3วัน ต.เขาตูม  จ.ปัตตานี 178.6
เฝ้าระวังสูงสุด
  8:00:00 ฝนวานนี้ ยะลา สกษ. จ.ยะลา 153
วิกฤต
  7:00:00 ฝนวานนี้ สะเดา จ.สงขลา 120
เฝ้าระวังสูงสุด
  7:00:00 ฝนวานนี้ คอหงษ์ สกษ. จ.สงขลา 223
วิกฤต
  7:00:00 ฝนวานนี้ พัทลุง สกษ. จ.พัทลุง 130
วิกฤต
  7:00:00 ฝนวานนี้ นครศรีธรรมราช สกษ. จ.นครศรีธรรมราช 206
วิกฤต
  7:00:00 ฝนวานนี้ นราธิวาส จ.นราธิวาส 217
วิกฤต
  7:00:00 ฝนวานนี้ ปัตตานี จ.ปัตตานี 219
วิกฤต
  7:00:00 ฝนวานนี้ หาดใหญ่ จ.สงขลา 122
วิกฤต
  7:00:00 ฝนวานนี้ สงขลา จ.สงขลา 224
วิกฤต
  4:00:00 ฝน01/07-02/04น. ต.ตาเซะ จ.ยะลา 151.2
วิกฤต
  3:00:00 ฝน01/07-02/03น. ต.ตะโละแมะนา จ.ปัตตานี 154
วิกฤต
  3:00:00 ฝน01/07-02/03น. ต.จวบ จ.นราธิวาส 104.6
เฝ้าระวังสูงสุด
  3:00:00 ฝน01/07-02/03น. ต.กาบัง จ.ยะลา 103.4
เฝ้าระวังสูงสุด
  2:00:00 ฝน01/07-02/02น. ต.ปาเสมัส จ.นราธิวาส 102.4
เฝ้าระวังสูงสุด
  2:00:00 ฝน01/07-02/02น. ต.เขาตูม จ.ปัตตานี 122.4
วิกฤต
  1:00:00 ฝน01/07-02/01น. ต.บางนาค จ.นราธิวาส 151
วิกฤต
  0:00:00 ฝน01/07-02/00น. ต.มะนังดาลำ จ.ปัตตานี 182
วิกฤต
  0:00:00 ฝน01/07-02/00น. ต.ตะโละแมะนา จ.ปัตตานี 131.8
เฝ้าระวังสูงสุด
  0:00:00 ฝน01/07-02/00น. ต.ตาเซะ จ.ยะลา 119.8
เฝ้าระวังสูงสุด
  0:00:00 ฝน01/07-02/00น. ต.สะเตง จ.ยะลา 103.4
เฝ้าระวังสูงสุด
  0:00:00 ฝน01/07-02/00น. ต.บางนาค จ.นราธิวาส 148
เฝ้าระวังสูงสุด
  0:00:00 ฝน01/07-02/00น. ต.กายูบอเกาะ จ.ยะลา 104
เฝ้าระวังสูงสุด
  0:00:00 ฝน01/07-02/00น. ต.พิจิตร จ.สงขลา 195.2
วิกฤต
  0:00:00 ฝน01/07-02/00น. ต.เขาตูม จ.ปัตตานี 109
เฝ้าระวังสูงสุด
3/12/2016 16:00:00 ฝน07-16น. ต.มะเร็ต จ.สุราษฎร์ธานี 95.2
เฝ้าระวังสูงสุด
  13:00:00 ฝนวานนี้ พระแสง สอท. จ.สุราษฎร์ธานี 116
เฝ้าระวังสูงสุด
  9:00:00 ฝน3วัน ต.ป่าพะยอม จ.พัทลุง 205.2
วิกฤต
  9:00:00 ฝน3วัน ต.มะนังดาลำ จ.ปัตตานี 481.6
วิกฤต
  9:00:00 ฝน3วัน ต.ตะโละแมะนา จ.ปัตตานี 267
วิกฤต
  9:00:00 ฝน3วัน ต.ตาเซะ จ.ยะลา 246.6
วิกฤต
  9:00:00 ฝน3วัน ต.จวบ จ.นราธิวาส 183.8
เฝ้าระวังสูงสุด
  9:00:00 ฝน3วัน ต.สะเตง จ.ยะลา 190.6
เฝ้าระวังสูงสุด
  9:00:00 ฝน3วัน ต.บางนาค จ.นราธิวาส 307.6
วิกฤต
  9:00:00 ฝน3วัน ต.ปาเสมัส จ.นราธิวาส 184
เฝ้าระวังสูงสุด
  9:00:00 ฝน3วัน ต.กายูบอเกาะ จ.ยะลา 176.6
เฝ้าระวังสูงสุด
  9:00:00 ฝน3วัน ต.พิจิตร จ.สงขลา 265.6
วิกฤต
  9:00:00 ฝน3วัน ต.มะนังดาลำ จ.ปัตตานี 283.6
วิกฤต
  9:00:00 ฝน3วัน ต.เขาตูม จ.ปัตตานี 209
วิกฤต
  9:00:00 ฝน3วัน ต.ขุนทะเล จ.นครศรีธรรมราช 225
วิกฤต
  9:00:00 ฝน3วัน ต.บ้านพร้าว จ.พัทลุง 230
วิกฤต
  7:00:00 ฝนวานนี้ ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช 110
เฝ้าระวังสูงสุด
  7:00:00 ฝนวานนี้ พัทลุง สกษ. จ.พัทลุง 120
เฝ้าระวังสูงสุด
  7:00:00 ฝนวานนี้ นครศรีธรรมราช สกษ. จ.นครศรีธรรมราช 1260
วิกฤต
  7:00:00 ฝนวานนี้ สุราษฎร์ธานี สกษ. จ.สุราษฎร์ธานี 214
วิกฤต
  7:00:00 ฝนวานนี้ นราธิวาส จ.นราธิวาส 117
เฝ้าระวังสูงสุด
  7:00:00 ฝนวานนี้ นครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช 255
วิกฤต
  7:00:00 ฝนวานนี้ สุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี 274
วิกฤต
  6:00:00 ฝน02/07-03/06น. ต.ป่าพะยอม จ.พัทลุง 130.2
วิกฤต
  6:00:00 ฝน02/07-03/06น. ต.มะนังดาลำ จ.ปัตตานี 101.2
เฝ้าระวังสูงสุด
  6:00:00 ฝน02/07-03/06น. ต.ขุนทะเล จ.นครศรีธรรมราช 122.4
วิกฤต
  6:00:00 ฝน02/07-03/06น. ต.คลองพา จ.สุราษฎร์ธานี 124.6
วิกฤต
  4:00:00 ฝน02/07-03/04น. ต.คลองพา จ.สุราษฎร์ธานี 101.6
เฝ้าระวังสูงสุด
  2:00:00 ฝน02/07-03/02น. ต.บ้านพร้าว จ.พัทลุง 120.8
วิกฤต
  1:00:00 ฝน02/07-03/01น. ต.ป่าพะยอม จ.พัทลุง 94.6
เฝ้าระวังสูงสุด
  1:00:00 ฝน02/07-03/01น. ต.บ้านพร้าว จ.พัทลุง 104.2
เฝ้าระวังสูงสุด
  0:00:00 ฝน02/07-03/00น. ต.ท่าข้าม จ.สุราษฎร์ธานี 129.6
วิกฤต
  0:00:00 ฝน02/07-03/00น. ต.ขุนทะเล จ.นครศรีธรรมราช 96.8
เฝ้าระวังสูงสุด
  0:00:00 ฝน02/07-03/00น. ต.ลำพูน จ.สุราษฎร์ธานี 97.6
เฝ้าระวังสูงสุด
4/12/2016 22:00:00 ฝนวานนี้ พัทลุง สกษ. จ.พัทลุง 302
วิกฤต
  22:00:00 ฝนวานนี้ นครศรีธรรมราช สกษ. จ.นครศรีธรรมราช 157
วิกฤต
  22:00:00 ฝนวานนี้ สุราษฎร์ธานี สกษ. จ.สุราษฎร์ธานี 120
เฝ้าระวังสูงสุด
  22:00:00 ฝนวานนี้ สงขลา จ.สงขลา 180
วิกฤต
  22:00:00 ฝนวานนี้ นครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช 154
วิกฤต
  22:00:00 ฝนวานนี้ เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี 110
เฝ้าระวังสูงสุด
  22:00:00 ฝน3วัน ต.ท่าข้าม จ.สุราษฎร์ธานี 234.8
วิกฤต
  22:00:00 ฝน3วัน ต.ป่าพะยอม จ.พัทลุง 354.4
วิกฤต
  22:00:00 ฝน3วัน ต.มะนังดาลำ จ.ปัตตานี 600
วิกฤต
  22:00:00 ฝน3วัน ต.ตะโละแมะนา จ.ปัตตานี 284.6
วิกฤต
  22:00:00 ฝน3วัน ต.ตาเซะ จ.ยะลา 263.6
วิกฤต
  22:00:00 ฝน3วัน ต.จวบ จ.นราธิวาส 182.2
เฝ้าระวังสูงสุด
  22:00:00 ฝน3วัน ต.สะเตง จ.ยะลา 179.8
เฝ้าระวังสูงสุด
  22:00:00 ฝน3วัน ต.บางนาค จ.นราธิวาส 320.6
วิกฤต
  22:00:00 ฝน3วัน ต.ปาเสมัส จ.นราธิวาส 182.8
เฝ้าระวังสูงสุด
  22:00:00 ฝน3วัน ต.กายูบอเกาะ จ.ยะลา 176
เฝ้าระวังสูงสุด
  22:00:00 ฝน3วัน ต.บ้านพร้าว จ.พัทลุง 396.6
วิกฤต
  22:00:00 ฝน3วัน ต.พิจิตร จ.สงขลา 278
วิกฤต
  22:00:00 ฝน3วัน ต.มะนังดาลำ จ.ปัตตานี 339.6
วิกฤต
  22:00:00 ฝน3วัน ต.เขาตูม จ.ปัตตานี 210
วิกฤต
  22:00:00 ฝน3วัน ต.ขุนทะเล จ.นครศรีธรรมราช 308.6
วิกฤต
  22:00:00 ฝน3วัน ต.คลองพา จ.สุราษฎร์ธานี 186.8
เฝ้าระวังสูงสุด
  22:00:00 ฝน3วัน ต.มะเร็ต จ.สุราษฎร์ธานี 221.2
วิกฤต
  16:00:00 ฝนวานนี้ พัทลุง สกษ. จ.พัทลุง 302
วิกฤต
  16:00:00 ฝนวานนี้ นครศรีธรรมราช สกษ. จ.นครศรีธรรมราช 157
วิกฤต
  16:00:00 ฝนวานนี้ สุราษฎร์ธานี สกษ. จ.สุราษฎร์ธานี 120
เฝ้าระวังสูงสุด
  16:00:00 ฝนวานนี้ สงขลา จ.สงขลา 180
วิกฤต
  16:00:00 ฝนวานนี้ นครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช 154
วิกฤต
  16:00:00 ฝนวานนี้ เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี 110
เฝ้าระวังสูงสุด
  16:00:00 ฝน3วัน ต.ท่าข้าม จ.สุราษฎร์ธานี 234.8
วิกฤต
  16:00:00 ฝน3วัน ต.ป่าพะยอม จ.พัทลุง 354.4
วิกฤต
  16:00:00 ฝน3วัน ต.มะนังดาลำ จ.ปัตตานี 600
วิกฤต
  16:00:00 ฝน3วัน ต.ตะโละแมะนา จ.ปัตตานี 284.6
วิกฤต
  16:00:00 ฝน3วัน ต.ตาเซะ จ.ยะลา 263.6
วิกฤต
  16:00:00 ฝน3วัน ต.จวบ จ.นราธิวาส 182.2
เฝ้าระวังสูงสุด
  16:00:00 ฝน3วัน ต.สะเตง จ.ยะลา 179.8
เฝ้าระวังสูงสุด
  16:00:00 ฝน3วัน ต.บางนาค จ.นราธิวาส 320.6
วิกฤต
  16:00:00 ฝน3วัน ต.ปาเสมัส จ.นราธิวาส 182.8
เฝ้าระวังสูงสุด
  16:00:00 ฝน3วัน ต.กายูบอเกาะ จ.ยะลา 176
เฝ้าระวังสูงสุด
  16:00:00 ฝน3วัน ต.บ้านพร้าว จ.พัทลุง 396.6
วิกฤต
  16:00:00 ฝน3วัน ต.พิจิตร จ.สงขลา 278
วิกฤต
  16:00:00 ฝน3วัน ต.มะนังดาลำ จ.ปัตตานี 339.6
วิกฤต
  16:00:00 ฝน3วัน ต.เขาตูม จ.ปัตตานี 210
วิกฤต
  16:00:00 ฝน3วัน ต.ขุนทะเล จ.นครศรีธรรมราช 308.6
วิกฤต
  16:00:00 ฝน3วัน ต.คลองพา จ.สุราษฎร์ธานี 186.8
เฝ้าระวังสูงสุด
  16:00:00 ฝน3วัน ต.มะเร็ต จ.สุราษฎร์ธานี 221.2
วิกฤต
  10:00:00 ฝนวานนี้ พัทลุง สกษ. จ.พัทลุง 302
วิกฤต
  10:00:00 ฝนวานนี้ นครศรีธรรมราช สกษ. จ.นครศรีธรรมราช 157
วิกฤต
  10:00:00 ฝนวานนี้ สุราษฎร์ธานี สกษ. จ.สุราษฎร์ธานี 120
เฝ้าระวังสูงสุด
  10:00:00 ฝนวานนี้ สงขลา จ.สงขลา 180
วิกฤต
  10:00:00 ฝนวานนี้ นครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช 154
วิกฤต
  10:00:00 ฝนวานนี้ เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี 110
เฝ้าระวังสูงสุด
  10:00:00 ฝน3วัน ต.ป่าพะยอม จ.พัทลุง 354.4
วิกฤต
  10:00:00 ฝน3วัน ต.มะนังดาลำ จ.ปัตตานี 600
วิกฤต
  10:00:00 ฝน3วัน ต.ตะโละแมะนา จ.ปัตตานี 284.6
วิกฤต
  10:00:00 ฝน3วัน ต.ตาเซะ จ.ยะลา 263.6
วิกฤต
  10:00:00 ฝน3วัน ต.จวบ จ.นราธิวาส 182.2
เฝ้าระวังสูงสุด
  10:00:00 ฝน3วัน ต.สะเตง จ.ยะลา 179.8
เฝ้าระวังสูงสุด
  10:00:00 ฝน3วัน ต.บางนาค จ.นราธิวาส 320.6
วิกฤต
  10:00:00 ฝน3วัน ต.ปาเสมัส จ.นราธิวาส 182.8
เฝ้าระวังสูงสุด
  10:00:00 ฝน3วัน ต.กายูบอเกาะ จ.ยะลา 176
เฝ้าระวังสูงสุด
  10:00:00 ฝน3วัน ต.บ้านพร้าว จ.พัทลุง 396.6
วิกฤต
  10:00:00 ฝน3วัน ต.พิจิตร จ.สงขลา 278
วิกฤต
  10:00:00 ฝน3วัน ต.มะนังดาลำ จ.ปัตตานี 339.6
วิกฤต
  10:00:00 ฝน3วัน ต.เขาตูม จ.ปัตตานี 210
วิกฤต
  10:00:00 ฝน3วัน ต.ขุนทะเล จ.นครศรีธรรมราช3 308.6
วิกฤต
  10:00:00 ฝน3วัน ต.คลองพา จ.สุราษฎร์ธานี 186.8
เฝ้าระวังสูงสุด
  10:00:00 ฝน3วัน ต.มะเร็ต จ.สุราษฎร์ธานี 221.2
วิกฤต
  8:00:00 ฝนวานนี้ พัทลุง สกษ. จ.พัทลุง 302
วิกฤต
  8:00:00 ฝนวานนี้ นครศรีธรรมราช สกษ. จ.นครศรีธรรมราช 157
วิกฤต
  8:00:00 ฝนวานนี้ สุราษฎร์ธานี สกษ. จ.สุราษฎร์ธานี 120
เฝ้าระวังสูงสุด
  8:00:00 ฝนวานนี้ สงขลา  จ.สงขลา 180
วิกฤต
  8:00:00 ฝนวานนี้ นครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช 154
วิกฤต
  8:00:00 ฝนวานนี้ เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี 110
เฝ้าระวังสูงสุด
  7:00:00 ฝนวานนี้ ต.บ้านพร้าว จ.พัทลุง 168.6
วิกฤต
  6:00:00 ฝน03/07-04/06น. ต.ป่าพะยอม จ.พัทลุง 135.2
วิกฤต
  6:00:00 ฝน03/07-04/06น. ต.บ้านพร้าว จ.พัทลุง 144.8
วิกฤต
  6:00:00 ฝน03/07-04/06น. ต.มะนังดาลำ จ.ปัตตานี 102
เฝ้าระวังสูงสุด
  6:00:00 ฝน03/07-04/06น. ต.ขุนทะเล จ.นครศรีธรรมราช 91.8
เฝ้าระวังสูงสุด
  5:00:00 ฝน03/07-04/05น. ต.ป่าพะยอม จ.พัทลุง 122
วิกฤต
  5:00:00 ฝน03/07-04/05น. ต.บ้านพร้าว จ.พัทลุง 129.2
วิกฤต
  3:00:00 ฝน03/07-04/03น. ต.ป่าพะยอม จ.พัทลุง 93.4
เฝ้าระวังสูงสุด
  2:00:00 ฝน03/07-04/02น. ต.มะนังดาลำ จ.ปัตตานี 150.2
วิกฤต
  2:00:00 ฝน03/07-04/02น. ต.บ้านพร้าว จ.พัทลุง 97.2
เฝ้าระวังสูงสุด
  0:00:00 ฝน03/07-04/00น. ต.มะนังดาลำ จ.ปัตตานี 127
เฝ้าระวังสูงสุด
  0:00:00 ฝน03/07-04/00น. ต.มะเร็ต จ.สุราษฎร์ธานี 112.2
เฝ้าระวังสูงสุด
5/12/2016 22:00:00 ฝน07-22น. ต.ทองมงคล จ.ประจวบคีรีขันธ์ 110.8
เฝ้าระวังสูงสุด
  22:00:00 ฝน07-22น. ต.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 97.2
เฝ้าระวังสูงสุด
  10:00:00 ฝน3วัน ต.มะเร็ต จ.สุราษฎร์ธานี 309.2
วิกฤต
  9:00:00 ฝน3วัน ต.ท่าข้าม จ.สุราษฎร์ธานี 226.6
วิกฤต
  9:00:00 ฝน3วัน ต.ป่าพะยอม จ.พัทลุง 373.6
วิกฤต
  9:00:00 ฝน3วัน ต.มะนังดาลำ จ.ปัตตานี 371.4
วิกฤต
  9:00:00 ฝน3วัน ต.บ้านพร้าว จ.พัทลุง 420.6
วิกฤต
  9:00:00 ฝน3วัน ต.มะนังดาลำ จ.ปัตตานี 244.2
วิกฤต
  9:00:00 ฝน3วัน ต.ขุนทะเล จ.นครศรีธรรมราช 310.6
วิกฤต
  9:00:00 ฝน3วัน ต.คลองพา จ.สุราษฎร์ธานี 218.2
วิกฤต
  8:00:00 ฝนวานนี้ พัทลุง สกษ. จ.พัทลุง 104
เฝ้าระวังสูงสุด
  8:00:00 ฝนวานนี้ นครศรีธรรมราช สกษ. จ.นครศรีธรรมราช 121
วิกฤต
  8:00:00 ฝนวานนี้ สวี สกษ.  จ.ชุมพร 135
เฝ้าระวังสูงสุด
  8:00:00 ฝนวานนี้ นครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช 120
เฝ้าระวังสูงสุด
  8:00:00 ฝนวานนี้ ชุมพร จ.ชุมพร 112
เฝ้าระวังสูงสุด
  7:00:00 ฝนวานนี้ ต.บ้านพร้าว จ.พัทลุง 101
เฝ้าระวังสูงสุด
  6:00:00 ฝน04/07-05/06น. ต.วังใหม่ จ.ชุมพร 116.6
เฝ้าระวังสูงสุด
  6:00:00 ฝน04/07-05/06น. ต.บ้านพร้าว จ.พัทลุง 100.4
เฝ้าระวังสูงสุด
  5:00:00 ฝน04/07-05/05น. ต.วังใหม่ จ.ชุมพร 115
เฝ้าระวังสูงสุด
  5:00:00 ฝน04/07-05/05น. ต.บ้านพร้าว จ.พัทลุง 100.4
เฝ้าระวังสูงสุด
  4:00:00 ฝน04/07-05/04น. ต.วังใหม่ จ.ชุมพร 101.4
เฝ้าระวังสูงสุด
  4:00:00 ฝน04/07-05/04น. ต.บ้านพร้าว จ.พัทลุง 100
เฝ้าระวังสูงสุด
6/12/2016 9:00:00 ฝน08-09น. ต.ทองมงคล จ.ประจวบคีรีขันธ์ 43.6
วิกฤต
  9:00:00 ฝน3วัน ต.วังใหม่ จ.ชุมพร 200.4
เฝ้าระวังสูงสุด
  9:00:00 ฝน3วัน ต.ป่าพะยอม จ.พัทลุง 250.4
วิกฤต
  9:00:00 ฝน3วัน ต.มะนังดาลำ จ.ปัตตานี 313.2
วิกฤต
  9:00:00 ฝน3วัน ต.มะนังดาลำ จ.ปัตตานี 204
วิกฤต
  9:00:00 ฝน3วัน ต.ขุนทะเล จ.นครศรีธรรมราช 252
วิกฤต
  9:00:00 ฝน3วัน ต.มะเร็ต จ.สุราษฎร์ธานี 291
วิกฤต
  9:00:00 ฝน3วัน ต.บ้านพร้าว จ.พัทลุง 282.2
วิกฤต
  8:00:00 ฝนวานนี้ ชุมพร จ.ชุมพร 135
เฝ้าระวังสูงสุด
  7:00:00 ฝนวานนี้ นครศรีธรรมราช สกษ. จ.นครศรีธรรมราช 142
วิกฤต
  7:00:00 ฝนวานนี้ นครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช 104
เฝ้าระวังสูงสุด
  0:00:00 ฝน05/07-06/00น. ต.ทองมงคล จ.ประจวบคีรีขันธ์ 110.8
เฝ้าระวังสูงสุด
  0:00:00 ฝน05/07-06/00น. ต.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 97.2
เฝ้าระวังสูงสุด
7/12/2016 9:00:00 ฝน3วัน ต.วังใหม่ จ.ชุมพร 204.8
เฝ้าระวังสูงสุด
  9:00:00 ฝน3วัน ต.มะเร็ต จ.สุราษฎร์ธานี 250.2
วิกฤต
  9:00:00 ฝน3วัน ต.ทองมงคล จ.ประจวบคีรีขันธ์ 265.2
วิกฤต
  9:00:00 ฝน3วัน ต.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 197.6
เฝ้าระวังสูงสุด
  7:00:00 ฝนวานนี้ เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี 97
เฝ้าระวังสูงสุด
  0:00:00 ฝน06/07-07/00น. ต.ทองมงคล จ.ประจวบคีรีขันธ์ 112.4
เฝ้าระวังสูงสุด
8/12/2016 9:00:00 ฝน3วัน ต.มะเร็ต จ.สุราษฎร์ธานี 248.4
วิกฤต
  9:00:00 ฝน3วัน ต.ทองมงคล จ.ประจวบคีรีขันธ์ 236.6
เฝ้าระวังสูงสุด
  9:00:00 ฝน3วัน ต.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 184.2
เฝ้าระวังสูงสุด








 ข้อมูลโดย : กรมชลประทาน / การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

         ถึงแม้อิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงรวมทั้งมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังลังแรง จะส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของภาคใต้ ซึ่งทำให้ปริมาณน้ำท่าเพิ่มสูงขึ้นและเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ แต่ฝนที่ตกหนักส่วนใหญ่อยู่บริเวณใกล้ชายฝั่งทะเล ซึ่งอยู่นอกพื้นที่รับน้ำเหนือเขื่อนรัชชประภาและเขื่อนบางลาง จึงทำให้ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนมีไม่มากนัก ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมช่วงวันที่ 30 พฤศจิกายน – 10 ธันวาคม 2559 ของเขื่อนรัชชประภาและเขื่อนบางลาง มีเพียง 74 และ 57 ล้านลูกบากศก์เมตร เท่านั้น

ปริมาณน้ำกักเก็บอ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา

ปริมาณน้ำกักเก็บอ่างเก็บน้ำ เขื่อนบางลาง
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างอ่างเก็บน้ำ เขื่อนบางลาง

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html






 ข้อมูลโดย : สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) , กรมชลประทาน

               สถานีโทรมาตรตรวจวัดระดับน้ำของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ในพื้นที่ภาคใต้ ตรวจพบสถานการณ์น้ำท่วมบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตรัง สตูล และสงขลา ทั้งนี้สถานการณ์น้ำท่วมเกือบทุกพื้นที่ สามารถกลับสู่เข้าสภาวะปกติได้ภายในระยะเวลาสั้น ยกเว้นที่ ต.ท่าสะท้อน อ.พุนพิน ต.ทุ่งหลวง อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี ต.ท่าสะบ้า อ.วังวิเศษ จ.ตรัง และ ต.ท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำทำให้ยังคงมีน้ำจากพื้นที่ด้านบนไหลลงมาสมทบ ทำให้ระดับน้ำกลับเข้าสู่ภาวะปกติค่อนข้างช้า รายละเอียดตามกราฟด้านล่าง

แผนที่แสดงตำแหน่งสถานีโทรมาตรที่ตรวจพบสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/wl_summary.php

สถานี BSP001-บางสะพาน ต. ร่อนทอง อ. บางสะพาน จ. ประจวบคีรีขันธ์

สถานี SVI001-สวี 1 ต. นาโพธิ์ อ. สวี จ. ชุมพร

สถานี TPI003-พุนพิน 3 ต. ท่าสะท้อน อ. พุนพิน จ. สุราษฎร์ธานี

สถานี TPI005-เวียงสระ ต. ทุ่งหลวง อ. เวียงสระ จ. สุราษฎร์ธานี

สถานี NPI001-ท่าศาลา ต. สระแก้ว อ. ท่าศาลา จ. นครศรีธรรมราช

สถานี TNG001-ท่าสะบ้า ต. ท่าสะบ้า อ. วังวิเศษ จ. ตรัง

สถานี TNG002-เมืองตรัง ต. บางรัก อ. เมืองตรัง จ. ตรัง

สถานี STU001-เมืองสตูล ต. ฉลุง อ. เมืองสตูล จ. สตูล

สถานี SLA007-บางกล่ำ ต. ท่าช้าง อ. บางกล่ำ จ. สงขลา







ข้อมูลโดย : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)

         ดาวเทียม COSMO-SkyMed-4 RADARSAT-1 และ RADARSAT-2 ได้บันทึกภาพบริเวณบางส่วนของภาคใต้  ช่วงวันที่ 3-8 ธันวาคม 2559 และจากการวิเคราะห์ภาพจากดาวเทียมพบพื้นที่ถูกน้ำท่วมทั้งสิ้น 7 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดตรัง นครศรีธรรมราช ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา และสุราฏร์ธานี รวมพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 451,321 ไร่  โดยจังหวัดนครศรีธรรมราชมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 233,694 ไร่ คิดเป็น 52% ของพื้นที่น้ำท่วมทั้งหมด รองลงมาคือจังหวัดสงขลา และพัทลุง ที่มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 112,564 และ 60,087 ไร่ ตามลำดับ รายละเอียดเพิ่มเติมดังตารางและแผนที่ด้านล่าง

แผนที่แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณภาคใต้ ช่วงวันที่ 3-8 ธันวาคม 2559







 

 ข้อมูลโดย : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ได้รายงานสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และน้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 13 ธันวาคม 2559 เวลา 07.00 น. รายละเอียดังนี้
         จังหวัดที่ได้รับผลกระทบ มีทั้งสิ้น 13 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง และประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้งสิ้น 96 อำเภอ 652 ตำบล 4,806 หมู่บ้าน
         ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ทั้งสิ้น 256,270 ครัวเรือน 759,064 คน
         ผู้เสียชีวิต มีทั้งสิ้น 28 ราย ประกอบด้วย จังหวัดนครศรีธรรมราช 10 ราย ปัตตานี 5 ราย สุราษฎร์ธานี 4 ราย สงขลา 4 ราย พัทลุง 2 ราย ประจวบคีรีขันธ์ 1 ราย ตรัง 1 ราย
         ผู้สูญหาย จำนวน 1 ราย ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
         บาดเจ็บสาหัส จำนวน 1 ราย ที่จังหวัดสงขลา
         ความเสียหายด้านสิ่งสาธารณประโยชน์ ประกอบด้วย สถานที่ราชการ 5 แห่ง ถนน 2,142 จุด คอสะพาน 157 แห่ง ท่อระบายน้ำ 90 แห่ง ฝาย 89 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง ประตูระบายน้ำ 1 แห่ง แนวกันคลื่น 1 แห่ง โรงเรียน 77 แห่ง วัด 41 แห่ง มัสยิด 6 แห่ง
         จังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว จำนวน 7 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดกระบี่ ยะลา นราธิวาส ระนอง ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร
         จังหวัดที่ยังคงได้รับผลกระทบ จำนวน 5 จังหวัด รวม 15 อำเภอ 85 ตำบล 598 หมู่บ้าน รายละเอียดดังนี้
              1) จังหวัดสุราษฎร์ธานี บริเวณเกาะสมุย จำนวน 6 ตำบล 33 หมู่บ้าน
              2) จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 2 อำเภอ ได้แก่ อ.ปากพนัง อ.เฉลิมพระเกียรติ และ อ.หัวไทร รวม 32 ตำบล 271 หมู่บ้าน 22 ชุมชน
              3) จังหวัดตรัง จำนวน 2 อำเภอ ได้แก่  อ.เมือง และ อ.กันตัง รวม 8 ตำบล 33 หมู่บ้าน
              4) จังหวัดสงขลา จำนวน 4 อำเภอ ได้แก่ อ.ระโนด อ.สิงหนคร อ.กระแสสินธุ์ อ.สทิงพระ รวม 21 ตำบล 126 หมู่บ้าน ซึ่งเป็นพื้นที่ริมทะเลสาบสงขลา
              5) จังหวัดพัทลุง จำนวน 5 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง อ.ควนขนุน อ.บางแก้ว อ.ปากพะยูน อ.เขาชัยสน รวม 11 ตำบล 78 หมู่บ้าน ซึ่งเป็นพื้นที่ริมทะเลสาบสงขลา





ใต้น้ำท่วมหนัก ตายแล้ว 3 ราย น้ำป่าไหลเข้าท่วมหลายพื้นที่ ฝนยังตกต่อเนื่อง [ ข่าวสด : 3 ธ.ค. 59 ]

          เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.59 ที่ชุมชนท่าโพธิ์ เขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นที่ลุ่มได้รับความเดือดร้อนน้ำท่วมขังหลังจากเกิดฝนตกหนักตลอด 2-3 วันที่ผ่านมา โดยระดับสูงประมาณ 50 ซม.ประชาชนต้องเคลื่อนย้ายสิ่งของไว้บนที่สูงหลังจากน้ำป่าจากเทือกเขาหลวงไหลบ่าเข้าท่วมอย่างรวดเร็ว โดยเทศบาลได้ชักธงแดงไว้บริเวณคลองสายต่างๆ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วม
           นอกจากนี้ ผศ.เชาวน์วัศ เสนพงศ์ นายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช ได้เตรียมโรงเรียนในสังกัดเทศบาลทุกแห่ง เปิดรองรับประชาชนที่ประสบภาวะน้ำท่วมที่อพยพเข้าไปพักอาศัยด้วย ทั้งนี้หากประชาชนท่านใดต้องการความช่วยเหลือในการอพยพ และสามารถติดต่อขอรับการช่วยเหลือได้โดยแจ้งฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเทศบาลนครนครศรีธรรมราชได้ตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับความเสียหายเบื้องต้นจากสถานการณ์น้ำท่วมใน 9 อำเภอ                              
           ทางป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดได้รายงานให้จังหวัดทราบได้แก่ อ.ชะอวด 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน อ.ทุ่งสง 1 ตำบล 2 หมู่บ้าน อ.จุฬาภรณ์ 6 ตำบล 26 หมู่บ้าน อ.ร่อนพิบูลย์ 1 ตำบล 3 หมู่บ้าน อ.สิชล 7 ตำบล 23 หมู่บ้าน อ.ท่าศาลา 6 ตำบล 14 หมู่บ้าน อ.นบพิตำ 2 ตำบล 6 หมู่บ้าน อ.พระพรหม 4 ตำบล 22 หมู่บ้าน และ อ.ปากพนัง 1 เทศบาลเมือง ถนนสาธารณะ 50 สาย มีผู้เสียชีวิตจากจมน้ำ 2 ราย รวมกับ วานนี้ (2 ธ.ค.) เป็นเสียชีวิต 3 ราย ราษฎรได้รับผลกระทบ 6,000 ครัวเรือน ขณะนี้หน่วยงานต่างๆ ได้เข้าให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง รวมทั้งลงพื้นที่ออกตรวจเยี่ยมประชาชนที่ประสบอุทกภัย หากพื้นที่ใดเกินกำลังความสามารถก็ขอให้ประสานขอความช่วยเหลือไปยังจังหวัดได้ทันที เพื่อจะได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่ เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ออกไปให้ความช่วยเหลือสนับสนุนต่อไป
           อย่างไรก็ตาม คาดว่ายังมีพื้นที่ประสบอุทกภัยเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากยังคงมีฝนตกกระจายในทุกอำเภออย่างต่อเนื่อง  ทางจังหวัดนครศรีธรรมราชได้ขอให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยได้ติดตามข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด หากได้รับคำเตือนภัยก็ขอให้ปฏิบัติตามด้วยอย่าได้ประมาทอย่างเด็ดขาด   

           ด้านนายชูชัย อุดมศรีโยธิน นายกเทศมนตรีตำบลช้างซ้าย พร้อมเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลช้างซ้าย ลงสำรวจพื้นที่น้ำไหลหลากเข้าท่วมขังบนถนนสานยหลักและบ้านเรือนประชาชน ม.1 ต.ช้างซ้าย อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี หลังได้รับอิทธิพลจากฝนที่ตกหนัก และน้ำไหลหลากจากเทือกเขาใต้ร่มเย็นมาตามคลองสวาด เพื่อมุ่งหน้าลงสู่ทะเล แต่ด้วยปริมาณน้ำที่มีมาก เมื่อไหลมาเจอกับถนสเซาเทรินซีบอร์ท ทำให้น้ำระบายได้ยากเอ่อล้นจากคลองอย่างรวดเร็วและไหลเชียวเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มริมคลอง ทำให้ถนนสายหลักของตำบลหลายเส้นทางรถเล็กไม่สามารถสัญจรได้ ตัองใช้ทางอ้อมที่ทางเทศบาลสร้างวางแผนไว้เพื่อหลงน้ำท่วมแทน ทำให้ชาวบ้านกว่า 300 ครัวเรือนของตำบลช้างซ้ายได้รับผลกระทบจากการสัญจร และส่วนหนึ่งประมาณ 100 ครัวเรือน น้ำไหลเข้าภายในบ้านต้องยกของขึ้นที่สูง ขณะที่ฝนยังตกอย่างต่อเนื่อง คาดว่าน้ำจะยังท่วมขังอีก 2-3 วัน หากฝนยังตกต่อเนื่องเช่นนี้






ภาคใต้อ่วม เจอฝนตกหนักต่อเนื่องจนเกิดน้ำท่วมหลายพื้นที่ เร่งอพยพชาวบ้าน [ ThaiCh8 : 3 ธ.ค. 59 ]

ภาคใต้อ่วม เจอฝนตกหนักต่อเนื่องจนเกิดน้ำท่วมหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในจังหวัดนครศรีธรรมราช เจ้าหน้าที่เร่งช่วยอพยพชาวบ้านในหลายอำเภอ 

           วันที่ 3 ธันวาคม 2559 ผู้สื่อข่าวมีรายงานว่า หลายจังหวัดภาคใต้ยังได้รับผลกระทบจากฝนที่ตกต่อเนื่อง รวมถึงจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีน้ำท่วมในหลายอำเภอหลังมีฝนตกหนักต่อเนื่อง 2 วัน จนเจ้าหน้าที่ทหารต้องนำกำลังพลจากกองทัพภาคที่ 4 เดินลุยน้ำเข้าช่วยอพยพสิ่งของและประชาชนในหลายพื้นที่ และขณะนี้ได้มีการแจ้งเตือนภัยอพยพออกจากพื้นที่เสี่ยงน้ำป่า 
          โดยทางจังหวัดได้ประกาศให้อำเภอจุฬาภรณ์ เป็นเขตภัยพิบัติ หลังพื้นที่ 5 ตำบล ถูกน้ำท่วมสูง และมีเด็กเสียชีวิต ขณะที่อำเภอชะอวด ร่อนพิบูลย์ ทุ่งสง นบพิตำ และเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ถูกน้ำท่วมเช่นกัน ทางด้านอำเภอสิชล เจ้าหน้าที่ได้เข้าอพยพประชาชนจาก 3 หมู่บ้านแล้ว
           ด้านจังหวัดตรัง ประกาศให้อำเภอรัษฎา เป็นเขตภัยพิบัติน้ำท่วมฉุกเฉินเช่นกัน หลังน้ำท่วมสูงต่อเนื่อง บางแห่งสูงกว่า 2 เมตร ถนนเข้าหมู่บ้านหลายสายถูกตัดขาด ต้องใช้เรือเป็นพาหนะ นอกจากนี้ยังมีบ้านเรือนในอำเภอห้วยยอด และอำเภอวังวิเศษ ที่ถูกน้ำท่วมด้วย
           ทางฝั่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมบ้านเรือนพื้นที่เกษตรแล้ว 7 อำเภอ คืออำเภอไชยา ท่าฉาง พุนพิน คีรีรัฐนิคม วิภาวดี กาญจนดิษฐ และดอนสัก ขณะเดียวกันมีรายงานว่า มีเด็กชาย 6 ขวบเสียชีวิต จากการจมน้ำที่ไหลเชี่ยว และยังมีรายงานคนหาปลาอีกเสียชีวิต 1 คน รวมถึงเกิดเหตุเรือหางยาวล่ม ที่ตำบลพุมเรียง มีผู้สูญหาย 1 คน และที่อำเภอเกาะสมุย เกิดน้ำท่วมขังสูงบนถนนสายทวีราษฎร์ภักดี
ซึ่งเป็นถนนสายหลักรอบเกาะสมุย โดยเฉพาะบริเวณหน้าห้างบิ๊กซี ตำบลบ่อผุด น้ำท่วมสูงประมาณ 1 เมตร




น้ำท่วมภาคใต้ วิกฤตหนัก น้ำป่าไหลหลากสูงกว่า 5 เมตร - ดับแล้ว 11 ราย [ เรื่องเล่าเช้านี้ : 5 ธ.ค.59 ]

น้ำท่วมภาคใต้ยังคงวิกฤต หลังฝนตกต่อเนื่อง 4 วัน มีน้ำท่วมขังสูง บ้านเรือนเสียหายกว่าพันหลังคาเรือน มีผู้เสียชีวิตแล้ว 11 ราย สูญหาย 2 ราย ขณะที่โลกออนไลน์แชร์คลิปน้ำป่าไหลหลาก ใน จ.นครศรีธรรมราช

           วันที่ 5 ธันวาคม 2559 รายการเรื่องเล่าเช้านี้ ทางช่อง 3 รายงานว่า จากกรณีฝนตกหนักต่อเนื่องในหลายจังหวัดภาคใต้จนทำให้หลายพื้นที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักนั้น ขณะนี้สถานการณ์โดยรวมยังคงวิกฤต ระดับน้ำยังท่วมขังสูง นอกจากนี้ ในโลกออนไลน์ยังแห่แชร์คลิปวิดีโอสุดระทึกขณะน้ำป่าไหลทะลักลงจากเทือกเขาหลวง ไหลบ่าลงมายังบริเวณ หนานหินท่าหา สถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังแห่งหนึ่งของหมู่บ้านคีรีวง ต.กำโลน อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งถูกถ่ายไว้โดยพนักงานร้านอาหารคีรีวง ริเวอร์วิว เผยให้เห็นถึงความน่ากลัวของน้ำป่าที่มีลักษณะขุ่นแดง กำลังไหลอย่างรวดเร็วลงจากภูเขา สลับกับมีเสียงดังคล้ายระเบิดซึ่งคาดว่าเป็นก้อนหินขนาดใหญ่ที่ถูกกระแสน้ำป่าพาลงมาสู่ด้านล่าง โดยคาดว่ากระแสน้ำมีความสูงกว่า 5 เมตร
           ด้านกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้สรุปความเสียหายรวม 4 วัน มีจังหวัดที่ได้รับความเสียหาย 11 จังหวัด มีผู้เสียชีวิต 11 ราย สูญหาย 2 ราย โดยเฉพาะใน จ.ตรัง ระดับน้ำยังคงสูงขึ้นหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่ อ.นาโยง เนื่องมาจากฝนที่ตกหนักบนเทือกเขาบรรทัด รอยต่อระหว่าง จ.ตรัง กับ จ.พัทลุง ทำให้น้ำป่าจำนวนมากไหลทะลักลงมาสู่พื้นที่ลุ่มและคลองนางน้อย ไหลเข้าบ้านเรือนหลายพันหลังคาเรือนและพื้นที่การเกษตรหลายพันไร่ ส่วน ถ.เพชรเกษม สายตรัง-พัทลุง บริเวณหน้าสหกรณ์การเกษตรนาโยง มีน้ำท่วมขังสูงประมาณ 30-80 เซนติเมตร ระยะทางรวม 2 กิโลเมตร ทำให้รถเล็กไม่สามารถสัญจรได้
           ขณะที่ จ.สุราษฎร์ธานี เจ้าหน้าที่ได้นำถุงยังชีพเข้าช่วยเหลือชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วมขังแล้ว ขณะที่ระดับน้ำในตัวเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจยังทรงตัว 







น้ำท่วมนครศรีธรรมราช อ่วม 23 อำเภอ ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติยกจังหวัด [ INN News : 6 ธ.ค. 59 ]

น้ำท่วมนครศรีธรรมราช ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมทั้งจังหวัด ขณะ ปภ. เผย ปริมาณฝนมีแนวโน้มลดลง คาด 2-3 วัน น้ำแห้ง

         หลังจาก จ.นครศรีธรรมราช ได้เกิดฝนตกลงมาอย่างหนักต่อเนื่อง จนทำให้น้ำท่วมในหลายจุด ซึ่งภาพรวมมีการประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติอุทกภัยแล้วทั้งจังหวัด 23 อำเภอ คือ อ.เมืองนครศรีธรรมราช, พรหมคีรี, ลานสกา, ฉวาง, พิปูน, เชียรใหญ่, ชะอวด, ท่าศาลา, ทุ่งสง, นาบอน, ทุ่งใหญ่, ปากพนัง, ร่อนพิบูลย์, สิชล, ขนอม, หัวไทร, บางขัน, ถ้ำพรรณรา, จุฬาภรณ์, พระพรหม, นบพิตำ, ช้างกลาง และ เฉลิมพระเกียรติ
         ล่าสุด (6 ธันวาคม 2559) นายชัยธวัช ศิวบวร หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า ในวันนี้จากการตรวจสอบพบปริมาณฝนเริ่มเบาบางลง แต่หลายอำเภอยังคงประสบภาวะน้ำท่วมอยู่ โดยเฉพาะอำเภอที่เป็นจุดรับน้ำ 2 แห่ง คือ อ.เฉลิมพระเกียรติ และปากพนัง วัดระดับสูงสุดได้ 30-40 เซนติเมตร เบื้องต้นยังไม่สามารถสรุปตัวเลขผู้ได้รับผลกระทบ รวมถึงพื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหายได้ เนื่องจากต้องรอให้สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติก่อน
        
 ทั้งนี้คาดว่า หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มเติมในจำนวนที่มาก ปริมาณน้ำจะลดลงจนแห้งสนิทภายใน 2-3 วัน นับจากนี้ไป ซึ่งทางเจ้าหน้าที่จะต้องติดตามสภาพอากาศ พร้อมให้ความช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างใกล้ชิด





นครศรีธรรมราชน้ำท่วมสูง เดือดร้อนกว่าแสนครัวเรือน [ PPTV : 6 ธ.ค. 59 ]

           วันนี้ (6 ธ.ค.59) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้ว่าช่วงเช้าที่ผ่านมาฝนจะหยุดตก แต่เมื่อคืนฝนที่ตกอย่างหนักและปริมาณน้ำป่าที่ไหลหลากจากเทือกเขาหลวงเข้าสู่ตัวเมืองนครศรีธรรมราช ทำให้ระดับน้ำที่ท่วมขังในหลายชุมชนเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพะในชุมชนบ่อทรัพย์ ตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช  มีสภาพน้ำสูงกว่า 2 เมตรต้องใช้เรือในการออกมาหาเสบียงให้กับผู้ที่อาศัยบนชั้นสองของบ้าน โดยการบินสำรวจพบว่าระดับน้ำได้บ่าท่วมเป็นวงกว้างโดยเฉพาะชุมชนที่อยู่ใกล้กับคลองคูเมือง
           ส่วนภาพรวมของภาวะอุทกภัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช ขณะนี้ครอบคลุมทั้ง 23 อำเภอครอบคลุมทั้งจังหวัด โดยมีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคืออำเภอสิชล อำเภอนบพิตำ อำเภอเมือง อำเภอจุฬาภรณ์ อำเภอชะอวด และล่าสุดนายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ประกาศเขตพื้นที่ภัยพิบัติอุทกภัยครอบคลุมทั้งจังหวัดแล้ว มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 23 อำเภอ 161 ตำบล  1,425 หมู่บ้าน 103 ชุมชน  ราษฎรได้รับผลกระทบ 261,877 คน 105,289 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 5 คน มีโรงเรียนในสังกัด สพฐ.ปิดการเรียนการสอนในวันที่ 6-7 ธันวาคม 2559 จำนวน 88 โรง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่สำนักงานการประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 แต่ต้องเฝ้าระวังอีกครั้งในวันที่ 10 ธันวาคม 2559       เนื่องจากอากาศหนาวเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ปกคลุมลงมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ภาคใต้มีหย่อมความกดอากาศต่ำส่งผลให้มีฝนตกหนักอีกครั้งหนึ่ง  สำหรับพื้นที่ที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้คืออำเภอหัวไทร เนื่องจากในช่วง 5 วันที่ผ่านมามีปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมากว่า 700 มิลลิเมตร ซึ่งต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด







น้ำท่วมชุมพร ยังหนัก 7 อำเภอ ชาวบ้านเดือดร้อนเพิ่มทะลุ 3 หมื่นคน [ INN News : 8 ธ.ค. 59 ]

         น้ำท่วมชุมพร ยังท่วมหนัก 7 จาก 8 อำเภอ ชาวบ้านเดือดร้อนเพิ่ม ทะลุ 3 หมื่นคน จับตาอำเภอสวี และอำเภอหลังสวน

           วันที่ 8 ธันวาคม 2559 นางสาววัจนา วัจนคุปต์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชุมพร กล่าวถึงสถานการณ์อุทกภัยว่า ขณะนี้ทางจังหวัดประกาศพื้นที่ภัยพิบัติอุทกภัยไปแล้ว 7 อำเภอ แต่มีการเพิ่มจำนวนของพื้นที่ที่ประสบภัย จากเดิมเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม มี 7 อำเภอ 48 ตำบล 264 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,367 ครัวเรือน 13,410 คน 
          ข้อมูลล่าสุดวันนี้ (8 ธันวาคม) ประสบภัย 7 อำเภอ 59 ตำบล 404 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 9,305 ครัวเรือน 30,614 คน
สำหรับอำเภอที่ประสบภัย ประกอบด้วย อำเภอเมืองชุมพร อำเภอท่าแซะ อำเภอปะทิว อำเภอหลังสวน อำเภอละแม อำเภอสวี อำเภอทุ่งตะโก
          ส่วนที่ อำเภอพะโต๊ะ ยังไม่ได้ประกาศภัยพิบัติ แต่เมื่อวานมีเหตุการณ์ดินสไลด์ อยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหาย ซึ่งขณะนี้พื้นที่ที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือ อำเภอสวี และอำเภอหลังสวน ที่มีเรื่องของดินโคลนด้วย โดยขณะนี้ทางจังหวัด องค์กรท้องถิ่น ทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาช่วยเหลือในพื้นที่อย่างเต็มที่แล้ว คาดว่าอีก 1-2 วัน หากฝนไม่ตกเพิ่ม สถานการณ์น่าจะคลี่คลาย
           ขณะที่เฟซบุ๊ก ตระเวนข่าว3 ได้เผยแพร่คลิปเหตุการณ์ขณะที่ฝูงควายจำนวนมากว่าย​หนีน้ำท่วม จาก​ป่าพรุ ขึ้นฝั่ง​อาศัย​ถนนเป็น​ที่พัก หลัง​ในพื้นที่​มี​น้ำท่วม​สูง





น้ำท่วมนครศรีธรรมราช ล่าสุดฝนลด แต่ 3 อำเภอชายทะเล ยังอ่วมหนัก [ INN News : 8 ธ.ค. 59 ]

น้ำท่วมนครศรีธรรมราช ล่าสุด ฝนลดแล้ว แต่ 3 อำเภอชายทะเล ยังอ่วมหนัก ด้านชลประทานระดมเครื่องสูบน้ำเร่งระบายก่อน 10 ธันวาคม ที่คาดว่าจะมีพายุลูกใหม่
          วันที่ 8 ธันวาคม 2559 นายวานิช แก้วประจุ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนครศรีธรรมราช (ผคป.นครศรีธรรมราช) กล่าวว่า ขณะนี้ฝนเริ่มลดลงหลายพื้นที่ ทำให้สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายลงไปอย่างมากอย่างในตัวเมืองนครศรีธรรมราช เส้นทางหลักกลับมาสัญจรไป-มาได้แล้ว แต่ยังต้องจับตาพื้นที่ริมชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย อย่างเช่น อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอหัวไทร อำเภอปากพนัง ที่ยังน้ำท่วมเต็มในพื้นที่ เพราะเป็นพื้นที่รับน้ำจาก อำเภอชะอวด อำเภอจุฬาภรณ์ อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ 
          โดยขณะนี้ ชลประทานนครศรีธรรมราช ระบายได้วันละประมาณ 120 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่น้ำในพื้นที่มีประมาณ 600-700 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งแม้จะเร่งระบายเต็มที่ แต่อาจติดอุปสรรคในช่วงทะเลหนุนบ้าง คาดว่าอีก 2-3 วัน สถานการณ์น่าจะดีขึ้น ซึ่งจะไปตรงกับที่กรมอุตุพยากรณ์ว่า ในวันที่ 10 ธันวาคม อาจจะมีฝนหนักอีก ดังนั้นต้องเร่งระบายออกน้ำทะเลให้เร็วที่สุด โดยทางชลประทานนครศรีธรรมราช ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 30-40 เครื่อง และยังมีเครื่องผลักดันน้ำ เพื่อเร่งดันน้ำออกสู่ทะเลให้เร็วอีกด้วย
          ทั้งนี้ นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เรียกประชุมคณะกรรมการศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อติดตามสถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช วันละ 2 รอบ คือ เช้า (09.00 น.) และเย็น (17.00 น.) ทุกวัน จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย อย่างไรก็ตาม ล่าสุด จ.นครศรีธรรมราช ประสบภัยพิบัติ ทั้ง 23 อำเภอ ผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน 301,557 คน รวม 108,659 ครัวเรือน